มัคคุเทศก์กับประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญ

ผู้แต่ง

  • สงกรานต์ กลมสุข มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

         ด้วยประวัติศาสตร์ที่ยาวนานกว่า ๔๑๗ ปี ของอาณาจักรอยุธยา จึงเป็นที่มาของเรื่องราวต่างๆ ที่น่าสนใจ และการมีพระมหากษัตริย์ถึง ๓๔ พระองค์ โดยมาจาก ๕ ราชวงศ์ สร้างและปกครองอยุธยามาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ทำให้เกิดการแก่งแย่งแข่งขัน อีกทั้งศึกสงครามทั้งภายในและภายนอกราชอาณาจักรอย่างนับไม่ถ้วน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่มัคคุเทศก์จะต้องศึกษาและเรียนรู้ประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาให้ถ่องแท้เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการนำชมสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ภายในกรุงศรีอยุธยา

         บทความเรื่อง “มัคคุเทศก์กับประวัติศาสตร์ไทยที่สำคัญ” นั้น ผู้เขียนได้ยกตัวอย่างเหตุการณ์สำคัญต่างๆ ออกเป็น ๒ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสูญเสียราชอาณาจักรอยุธยาที่มัคคุเทศก์ควรศึกษาเอาไว้โดยส่วนที่ ๑ ผู้เขียนนำเสนอเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๑ เมื่อปี พ.ศ.๒๑๑๒ ซึ่งจำเป็นต้องย้อนไปตั้งแต่สมัยของสมเด็จพระไชยราชาธิราช เนื่องจากมีเหตุการณ์ต่างๆ มากมาย ทั้งความขัดแย้งระหว่างพระราชวงศ์อันได้แก่ราชวงศ์อู่ทองกับราชวงศ์สุพรรณภูมิ ความขัดแย้งภายในราชสำนักระหว่างสมเด็จพระมหาธรรมราชากับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ  และที่สำคัญคือ การเกิดหนอนบ่อนไส้ภายในราชอาณาจักรอยุธยาและการรุกรานจากอาณาจักรพม่าในคราวเดียวกัน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นมูลเหตุสำคัญทั้งสิ้นที่นำมาซึ่งการเสียกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ.๒๑๑๒

         ส่วนที่ ๒ ผู้เขียนได้นำเสนอมูลเหตุที่สำคัญที่ทำให้เสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ ๒ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๐ อาทิ การเสื่อมถอยของสถาบันการเมืองและสังคมในสังคมกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ผู้นำบ้านเมืองไม่เข้มแข็ง การขาดการฝึกฝน ซ้อมรบ รวมไปถึงไส้ศึกภายในราชอาณาจักร โดยประเด็นต่างๆ ที่ได้กล่าวมา ผู้เขียนได้เลือกสรรเอกสารที่นำมาใช้อ้างอิงประกอบการเขียน ซึ่งมีทั้งพระราชพงศาวดาร ตำนาน และเอกสารวิชาการอื่นๆ ของนักวิชาการประวัติศาสตร์ที่ได้ทำการศึกษามาก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งมัคคุเทศก์ไทยที่สนใจในเรื่องราวของประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาได้เข้าใจสาเหตุที่แท้จริงของการเสียกรุงศรีอยุธยาได้อย่างกระจ่างและเกิดความภาคภูมิใจในราชอาณาจักรอยุธยามากยิ่งขึ้น

References

ขจร สุขพานิช. (๒๕๒๓). ข้อมูลประวัติศาสตร์ : สมัยอยุธยา. วุฒิชัย มูลศิลป์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

คาร์, อี. เอช. (มปป). ประวัติศาสตร์คืออะไร. ชาติชาย พณานานนท์ (แปล). กรุงเทพฯ. อักษรเจริญทัศน์.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (๒๕๔๗). อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (๒๕๔๗). อยุธยา : Discovering Ayutthaya. มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ และมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย.

ดนัย ไชยโยธา. (๒๕๕๐). ประวัติศาสตร์ไทย : ยุคอาณาจักรอยุธยา. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

ธวัชชัย องค์วุฒิเวทย์, วิไลรัตน์ ยังรอด. (๒๕๔๘). คู่มือท่องเที่ยว-เรียนรู้ อยุธยา. กรุงเทพฯ มิวเซียมเพรส.

ธีระ นุชเปี่ยม. (๒๕๕๒). ประวัติศาสตร์รับใช้ใคร. ใน ประวัติศาสตร์ในมิติวัฒนธรรมศึกษา ยกเครื่องวัฒนธรรมศึกษา. สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธร (องค์การมหาชน). (เอกสารวิชาการลำดับที่ ๘๒).

ธเนศ วงศ์ยานนาวา. (๒๕๔๖). “ประวัติศาสตร์และสหวิทยาการ : ชาตินี้เราคงรักกันไม่ได้”. รัฐศาสตร์สาร.

ปวัตร์ นวะมะรัตน. (๒๕๕๑). “คลองสระบัวและคลองบางปลาหมอ (คลองผ้าลาย)” ในศิลปวัฒนธรรม ๒๙,๗ (พฤษภาคม) : ๕๘.

พระบริหารเทพธานี. (๒๕๔๑). ประวัติชนชาติไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (๒๕๕๓). การเมืองในประวัติศาสตร์ ยุคสุโขทัย-อยุธยา พระมหาธรรมราชา กษัตราธิราช. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพ : มติชน.

ศรีศักดิ์ วัลลิโภดม. (๒๕๒๗). กรุงศรีอยุธยาของเรา. กรุงเทพฯ : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา.

Collingwood, R.G. (1982). The Idea of History. 21st ed. London : Oxford University Press.

Hooker, Virginia Matheson. (2003). A short history of Malaysia : Linking east and west. St Leonards, New South Wales, Australia : Allen and Unwin.

Tricky Vandenberg. (2009). Ayutthaya history. [online]. เข้าถึงได้จาก : https://www.ayutthaya-history.com/Essays_MappingIudea.html (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2554).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2011-12-31