การรับรู้ ค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศ ของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
บทคัดย่อ
การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาใหญ่ที่พบมากขึ้นทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นก่อให้เกิดผลกระทบด้านพฤติกรรมการเจริญพันธุ์ เพราะเป็นการตั้งครรภ์ที่ไม่ได้วางแผนหรือไม่ปรารถนา และส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมารดาและทารก เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ นอกจากนี้ปัญหาที่ตามมาคือความไม่พร้อมที่จะเลี้ยงดูบุตร ปัญหาเศรษฐกิจ และปัญหาทางสังคมอื่นๆ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบปรากฏการณ์วิทยา ตามแนวคิดของฮุลเซิร์ล (Koch, 1995 ; Welton, 2003)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม เก็บรวบรวมข้อมูลช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2553 โดยประยุกต์วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกต จากผู้ให้ข้อมูลได้แก่ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาฝากครรภ์ โรงพยาบาลดอนตูม อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม อายุต่ำกว่า 20 ปี จำนวน 10 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ร่วมกับแบบสังเกต ทำการพิทักษ์สิทธิ์อย่างเคร่งครัด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบประเด็นหลัก ดังนี้
1. การรับรู้เรื่องเพศ พบว่า 1) การรับรู้เรื่องเพศจากครอบครัว พบว่าครอบครัวที่ขาดความรัก ความอบอุ่น ทำให้ขาดการรับรู้เรื่องเพศที่ถูกต้องจากบุคคลใกล้ชิด 2) การรับรู้เรื่องเพศจากกลุ่มเพื่อน พบว่ามีการได้รับข้อมูลจากกลุ่มเพื่อนสนิทเรื่องเพศสัมพันธ์ ทำให้วัยรุ่นอยากรู้อยากลองในเรื่องเพศ และการให้ข้อมูลเรื่องการป้องกันที่ไม่ถูกต้องจากกลุ่มเพื่อนก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ 3) การรับรู้เรื่องเพศจากโรงเรียน พบว่าส่วนใหญ่มีการรับรู้ จากการเรียนเรื่องเพศศึกษา วัยรุ่นหญิงไม่ได้ให้ความสำคัญในการเรียนเพศศึกษา ไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการป้องกันและคุมกำเนิดได้ นอกจากนี้ผลจากการรับรู้ ทำให้กลัว ไม่กล้าทำแท้งเมื่อเกิดการตั้งครรภ์ขึ้น และ 4) การรับรู้เรื่องเพศจากสื่อ พบว่าส่วนใหญ่มีการรับรู้เรื่องเพศ จากสื่อประเภทโทรศัพท์มือถือ มาจากกลุ่มเพื่อนในโรงเรียน
2. ค่านิยมทางเพศ พบว่า 1) ค่านิยมเรื่องรักนวลสงวนตัวของหญิงวัยรุ่น คิดว่าเป็นเรื่องล้าสมัยการถูกเนื้อต้องตัว และการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดา 2) ค่านิยมการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องของความไว้เนื้อเชื่อใจจึงไม่ป้องกัน และ 3) ค่านิยมในการคุมกำเนิด ส่วนใหญ่คิดว่าฝ่ายชายเคยมีประสบการณ์ทางเพศมาก่อน จึงขึ้นอยู่กับฝ่ายชาย
3. พฤติกรรมทางเพศพบว่าหญิงวัยรุ่นที่ขาดความรักความอบอุ่นจากครอบครัวจะมีพฤติกรรมการเที่ยวเตร่และคบเพื่อนต่างเพศ การอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่มีทัศนคติคล้ายคลึงกันและเคยมีเพศสัมพันธ์ ทำให้มีพฤติกรรมเลียนแบบเพื่อน การมีพฤติกรรมอยู่ตามลำพังกับเพื่อนต่างเพศก่อให้เกิดเพศสัมพันธ์ และการมีพฤติกรรมการคุมกำเนิดที่ไม่ถูกต้อง ทำให้มีการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการช่วยเหลือและดูแลหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น โดยการตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องได้แก่ กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครอง กลุ่มครูและโรงเรียน หน่วยงานด้านสาธารณสุข และหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
References
กมลชนก เทพสิทธา และคณะ. (2545). “การเฝ้าระวังพฤติกรรมต่อการติดเอดส์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดกรมสามัญศึกษาใน 20 จังหวัด รอบที่ 7 พ.ศ. 2544.” วารสารโรคเอดส์. 14,93-103.
กมลวรรณ ศรีเจริญจิตร์. (2547). การปรึกษาปัญหาทางเพศของวัยรุ่นในเขตเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณทิต สาขาการศึกษานอกระบบ บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2549). การสำรวจพฤติกรรมทางเพศและการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น. [ออนไลน์] เข้าถึงเมื่อ 20 มีนาคม 2553. เข้าถึงได้จาก http//www.thaifamily Mahidol.ac.th.
กิตติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2546). การวิจัยเชิงคุณภาพในสวัสดิการสังคม: แนวคิดและวิธีวิจัย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จิราภรณ์ พิมใจใส. (2550). ปัญหาเพศศึกษาในเด็กวัยเรียน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 13,2 (พฤษภาคม - สิงหาคม) : 108-122.
จักรกฤษณ์ พิญญาพงศ์. (2544). “การรับรู้บทบาทหญิงชายและการปฏิบัติตัวเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของนักเรียนชายและหญิง ระดับอุดมศึกษา จังหวัดอุตรดิตถ์.” ในบุปผา รัศมี และจรรยา เศรษฐบุตร (บรรณาธิการ). รายงานการวิจัย โครงการพัฒนาวิจัย เพศภาวะ มิติทางเพศและอนามัยเจริญพันธุ์ (หน้า 54-127). นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
จันท์ฑิตา พฤกษานานนท์, 2537. “Adolescent Sexual Health.” (2545). ในบัวทิพย์ ใจตรงดี. ความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นหญิง, วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลสตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จันทร์แรม ทองสิริ. (2539). พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นในอำเภอเมืองจังหวัดน่าน. โครงการค้นคว้าแบบอิสระปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ฉวีวรรณ ธรรมชาติ และคณะ. (2441). การศึกษาลักษณะสำคัญของมารดา ที่มีบุตรคนแรก ขณะอายุต่ำกว่า 20 ปี จังหวัดนครพนม. วารสารการส่งเสริมสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อม. 21,4 (ตุลาคม - ธันวาคม).
ชัญญา ดิษเจริญ. (2548). การสื่อสารระหว่างบิดามารดากับสตรีวัยรุ่น และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัชชา ถาวร. (2545). การเปรียบเทียบการเรียนรู้เรื่องเพศของเด็กผ่านการสร้างสัญญะทางเพศในหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นกับแบบเรียนเพศศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
นภาภรณ์ หะวานนท์. (2542). ปัญหาของวัยรุ่นและการทำแท้ง. ในพิมพวัลย์ บุญมงคล, นิภรณ์ สัณหจริยา และศันศนีย์ เรืองสอน, บรรณาธิการ. รื้อสร้างองค์ความคิดผู้หญิงกับสุขภาพ (หน้า 77-107). กรุงเทพฯ : เจนเดอร์เพรส.
นิมิต มั่งมีทรัพย์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างเพศและเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งของวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
พรพิมล ภูมิฤทธิกุล. (2552). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของมารดาวัยรุ่นในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาชุมชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มานี ปิยะอนันต์ และคณะ. (2548). สูติศาสตร์รามาธิบดี 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ บริษัท พี เอ ลีพวิ่ง จำกัด.
สิริวรรณ ธัญญผล. (2548). ค่านิยมทางเพศ และพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของสตรีวัยรุ่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพยาบาลสตรี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุพนิดา ชัยวิทย์. (2551). เพศวิถีของวัยรุ่นหญิง. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
แสงอัมพา บำรุงธรรม. (2543). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อ ค่านิยม และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อรสม สุทธิสาคร. (2545). เด็กไทยพันธ์ใหม่วัย X. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สารคดี.
Flywelling, R., and Bauman, K. (1990). Family structure as a predictor of initial substance use and sexual intercourse in early adolescence. Journal of Marriage and the Family. 52 : 171-181.
Gubhaju, B.B. (2002). Adolescent Reproductive Health in Asia. Asia - Pacific Population Journal, 17 (4) : 76-119.
Koch,T. (1995). Interpretive approaches in nursing research : The influence of Husserl and Heidegger. Journal of Advanced Nursing. 21(5) : 827-836.
Neinstein, L.S., and Anderson, M.M. (1996). Adolescent sexuality. In L.S. Neinstein (ed.), Adolescent health care: A practical guide. 3rded. (pp.571 - 603). Philadelphia : Lippincott Williams and Wilkins.
Streubert, H.J., and Carpenter, D.R. (2002). Qualitative research in nursing : Advancing the humanistic imperative. 3rd ed. Philadelphia : Lippincott Williams and Wilkins.
Welton, D. (2003). The New Husserl : A Critical Reader. Bloomington : Indiana University Press.