การพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาวัดอินทราวาส 1 เขตตลิ่งชัน
บทคัดย่อ
การศึกษาพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา : ชุมชนหมู่บ้านพัฒนาวัดอินทราวาส 1 เขตตลิ่งชัน มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน หมู่บ้านพัฒนาวัดอินทราวาส 1 ตามกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคม 6 ประเด็น ได้แก่ 1. การเข้าถึงระบบการศึกษาและการพัฒนาเยาวชน 2. การพัฒนาด้านกายภาพของชุมชน 3. การแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน 4. การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ 5. การเข้าถึงทรัพยากรของรัฐ และ 6. ความเหลื่อมล้ำในการแสดงความคิดเห็น และการตอบสนองของรัฐต่อความคิดเห็นของชุมชน เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนรวม ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำชุมชน และสมาชิกชุมชน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบโควตา 5 กลุ่ม จำนวน 45 คน และสนทนากลุ่ม จำนวน 10 ครั้งครั้งละ 5-6 คน วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานชุมชน คุณภาพชีวิตของชุมชน สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนใน 6 ประเด็น ความเหลื่อมล้ำของสังคม ผลการวิจัยพบว่า ด้านการศึกษา คนในชุมชนมีความพอใจการเข้าถึงระบบการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชนในระดับมากผู้ปกครองเห็นความสำคัญของการศึกษาจึงสนับสนุนเด็กและเยาวชนในด้านการศึกษาทุกระดับ ประชาชนส่วนใหญ่ในชุมชน มีความพึงพอใจทางด้านกายภาพปานกลางถึงค่อนข้างมาก พบว่าชุมชนมีความพร้อมด้านสาธารณูปโภค อาทิ น้ำประปาไฟฟ้า ถนนคอนกรีตเข้าถึงทุกซอยแต่ชุมชนขาดพื้นที่สาธารณะสำหรับเป็นลานอเนกประสงค์และลานกีฬา ชุมชนมีความพอใจการแก้ไขปัญหาความยากจนและสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนในระดับปานกลางถึงค่อนข้างมาก คนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพและรายได้ที่แน่นอน แต่มีปัญหาโจรขโมยมาก การปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมโดยอำนาจรัฐ คนในชุมชนมีความพอใจในระดับน้อยถึงปานกลาง ชุมชนเห็นว่าปัญหาที่พบยังคงเป็นเรื่องเดิมๆ อาทิ ตำรวจทุจริตในหน้าที่ ชุมชนมีความพอใจการแก้ไขปัญหาการเข้าถึงทรัพยากรของรัฐในระดับปานกลางถึงมาก ชุมชนเห็นว่าชุมชนสามารถเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ ผู้สูงอายุได้รับเบี้ยยังชีพ การแสดงความคิดเห็นและการตอบสนองของรัฐต่อความคิดเห็นของชุมชน ชุมชนมีความพอใจระดับปานกลาง ประชาชนในชุมชนขาดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และขาดช่องทางในการเสนอความคิดเห็นหรือสื่อสารกับภาครัฐ มีเพียงกลุ่มผู้นำชุมชนเท่านั้นที่เป็นสื่อกลางในการนำความคิดเห็นของประชาชนไปสู่ภาครัฐ
References
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. กระทรวงยุติธรรม. (2552). คู่มือเพื่อการดำเนินงานแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2552-2556) สำหรับองค์กรเครือข่ายสิทธิมนุษยชน.
กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย. (2554). ที่สาธารณะประโยชน์. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.dol.go.th/dol/index.php?option=com_content&task=view&id=32&Itemid=42. (สืบค้นวันที่ 13 มิถนายน 2554).
กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2541). รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย ปี 2534. กรุงเทพมหานคร : หจก.เพิ่มเสริมกิจ.
______. 2550. คู่มือการจัดเก็บข้อมูล จปฐ. (ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน) ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (ปี 2550-2554). กรุงเทพมหานคร.
กรมสุขภาพจิต. (2548). ดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรมอนามัย. กระทรวงสาธารณสุข. (2540). แนวคิดเมืองน่าอยู่และหลักการดำเนินงานเมืองน่าอยู่. เอกสารประกอบการอบรมโครงการเมืองน่าอยู่. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2548). ทิศทางและรูปแบบการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดเทพเพ็ญวานิสย์.
______. (2552). การปฏิรูประบบสวัสดิการสังคมไทย. เอกสารประกอบงานวันสังคมสงเคราะห์ชาติและวันอาสาสมัครไทย ประจำปี 2552 และการประชุมสมัชชาสวัสดิการสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 18 วันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 : ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี.
กองรางวัดและการจัดการสิทธิ์ที่ดิน. (2543). เอกสารบรรยายแนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร.
กอบศักดิ์ ภูตระกูล. (2553). การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้. กรุงเทพฯ : กรุงเทพธุรกิจ.
กาญจนา แก้วเทพ และสมสุข หินวิมาน. (2553). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับการ สื่อสารศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติศักดิ์ สินธุวนิช. (2548). บทบาทของชุมชนในการสร้างความสมาณฉันท์ภายใต้ความเหลื่อมล้ำและบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในสังคม. ใน การสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สู่สังคมสมานฉันท์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิชัยพัฒนา.
โกวิทย์ พวงงาม. (2544). การปกครองท้องถิ่นไทย : หลักการและมิติใหม่ในอนาคต. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุข. (2550). แนวทางการดำเนินโครงการภายใต้แผนงานยุทธศาสตร์ประชาชนอยู่ดีมีสุขระดับจังหวัด พ.ศ.2550. เอกสารอัดสำเนา.
คณะกรรมการปฏิรูป. (2554). แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย : ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. สำนักงานปฏิรูป.
คณะกรรมการอำนวยการงานพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท (พชช.). (2542). รายงานคุณภาพชีวิตของคนไทย จากข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปี 2541. กรุงเทพมหานคร : เพิ่มเสริมกิจ.
คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร และโทรคมนาคม วุฒิสภา. (2553). รายงานการสัมมนาระดมสมอง เรื่อง โทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ช่วยลดอาชญากรรมได้อย่างไร. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
จารุวรรณ ทับเที่ยง. (2551). ชุมชนน่าอยู่ เมืองน่าอยู่ ท้องถิ่นทำได้. พิษณุโลก : ศูนย์อนามัยที่ 9.
จำทูล กองสาร์ และคณะ. (2515). ปัญหาการคอร์รัปชั่นในวงราชการไทย. คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จำลอง โพธิ์บุญ. (2554). การประเมินด้านสิ่งแวดล้อม. คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จิรประภา อัครบวร. (2544). การวิจัยเชิงกรณีศึกษาเพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
จุมพล หนิมพานิช. (2547). ผู้นำ อำนาจ และการเมืองในองค์การ. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชมรมอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์. (มปป). กิจกรรมอาสาพัฒนาในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://masterorg.wu.ac.th/source/content.php?menu_id=1&menuid=1&paths=rsa. (สืบค้นวันที่ 15 มิถุนายน 2554).
ไชยยันตร์ กัมปนาทแสนยากร. (2538). เมืองน่าอยู่ (Healthy/Liveable Cities). เอกสารประกอบการประชุม โครงการเมืองคุณย่าน่าอยู่ เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.
เทิดศักดิ์ ศรีสุรพล. (2554). โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.