การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ

ผู้แต่ง

  • ศากุล ช่างไม้ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพหมายถึง การสร้างข้อสรุปจากข้อมูลที่ได้จากการเก็บรวบรวมด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม เอกสาร บันทึกประจำวัน ฯลฯ โดยมีการจัดกระทำข้อมูล หาแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลหรือตัวแปรเพื่อให้นำไปสู่ความเข้าใจต่อสิ่งที่เห็นและเป็นอยู่รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของปรากฏการณ์ที่ศึกษาหลักการพื้นฐานสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพเป็นกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างต่อเนื่อง 2) การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ต้องยึดหลักของทรรศนะหรือมุมมองของคนใน 3) ในการวิเคราะห์ข้อมูลผู้วิจัยสามารถกำหนดกรอบหรือแนวคิดทฤษฎีได้ล่วงหน้า แต่ต้องสามารถยืดหยุ่นได้เพื่อให้สอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิจัย 4) ต้องจัดระบบระเบียบของข้อมูลที่ได้ในเบื้องต้น 5) ผู้วิจัยต้องเป็นผู้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยตนเอง ทั้งนี้มีขั้นตอนที่สำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การจัดระบบระเบียบของข้อมูล (Data organizing) 2) การให้รหัสข้อมูล (Data coding) 3) การจัดกลุ่มข้อมูล (Data clustering) และ4) การหาความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกลุ่มข้อมูลที่ได้เพื่อสร้างบทสรุป

References

จุมพล หนิมพานิช. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพในทางรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย โพธิสิตา. (2547). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบิชชิ่ง.

นิศา ชูโต. (2551). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพ : บริษัทพริ้นต์โพร จำกัด.

ประณีต ส่งวัฒนา วิภาวี คงอินทร์ และ เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2543). ความเหมือนและความแตกต่างในการวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล : ปรากฏการณ์วิทยา, ทฤษฎีพื้นฐาน และชาติพันธุ์วรรณา. วารสารสภาการพยาบาล. 15 (2) : 12-24.

รจน์ เพ็งแก้ว. (2551). การปรับตัวในการฟื้นสภาพของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศศิธร รุจนเวช และ กรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2543). การศึกษารูปแบบการดูแลสุขภาพ ในผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย ทุนสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย, นครปฐม, หน่วยพิมพ์มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศากุล ช่างไม้ และ มัณฑนา วรศักดิ์วุฒิพงษ์. (2544). การศึกษาสถานการณ์การให้บริการสุขภาพในระดับปฐมภูมิ ของสถานีอนามัย อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร. รายงานการวิจัย ทุนสนับสนุนจากสำนักงานโครงการปฏิรูประบบบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. นครปฐม, หน่วยพิมพ์มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศากุล ช่างไม้. (2545). การศึกษาความหวังในการมีชีวิตอยู่ ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ ผู้ป่วยเอดส์ เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม. รายงานการวิจัย ทุนสนับสนุนจากทบวงมหาวิทยาลัย, นครปฐม, หน่วยพิมพ์มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ศากุล ช่างไม้ และคณะ. (2553). “ความมั่นคงในชีวิตของผู้สูงอายุกลุ่มอายุ 60-69 ปี ของสังคมไทย”. เอกสารรวมเล่มการเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการแห่งชาติด้านสูงวัยและผู้สูงอายุ : สังคมสูงวัยเปี่ยมสุขด้วยวิถีสุขภาพและสิ่งแวดล้อม. วันที่ 9-12 กุมภาพันธ์ 2553 จัดโดยสภากาชาดไทยร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภางค์ จันทวานิช. (2547). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

_________(2550). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Hall, B.A. (1990). The Struggle of the Diagnosed Terminally ill Person to Maintain Hope. Nursing Science Quarterly. 3 : 177-184.

Lazarus, R. & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and Coping. New York, Spring Publishing Company.

Morse, J.M. & Filed, P.A. (1996). Nursing research : The application of qualitative approaches. London, Chapman and Hall.

Sakul Changmai. (2000). An Ethnography of Ban Bangkae : A Home for the Aged in Bangkok, Thailand. A thesis summitted for PhD., Southern Cross University, Australia.

Sandelowski, M. (1995). Sample size in qualitative research. Research in Nursing and Health. 18 (2) : 179-183.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-04-30