การศึกษากระบวนการและผลของการเสริมสร้างพลัง (Empowerment) ในสามชุมชนนำร่องของโครงการบ้านมั่นคง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • ทรงธรรม ชูเงิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการและผลของการเสริมสร้างพลังในชุมชนนำร่องของโครงการบ้านมั่นคง รวมถึงปัจจัยที่ส่งเสริมและก่อให้เกิดอุปสรรคหรือข้อจำกัดในการดำเนินงานของชุมชนบ้านมั่นคงหลังจากได้รับการเสริมสร้างพลังจากภาครัฐในชุมชนบ้านมั่นคง 3 โครงการนำร่อง เขตกรุงเทพมหานคร ได้แก่ โครงการบ้านมั่นคงเจริญชัยนิมิตใหม่ โครงการบ้านมั่นคงสร้างสรรค์พัฒนา และโครงการบ้านมั่นคงร่วมสามัคคี โดยใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม พบว่า แต่ละแห่งได้รับการเสริมสร้างพลังจากภาครัฐผ่านกระบวนการบนหลักการเดียวกันส่วนผลของการเสริมสร้างพลัง พบว่า ชุมชนแต่ละแห่งมีพลังอำนาจของชุมชนในระดับต่างกัน ชุมชนบ้าน มั่นคงเจริญชัย  นิมิตใหม่ มีพลังอำนาจของชุมชนมากที่สุด รองลงมา คือ ชุมชนบ้านมั่นคงร่วมสามัคคี และชุมชนบ้านมั่นคงสร้างสรรค์พัฒนามีพลังอำนาจของชุมชนในระดับน้อยที่สุด  ปัจจัยหลักที่ส่งเสริมให้เกิดพลังอำนาจของชุมชน คือ ลักษณะทางกายภาพของชุมชน ที่ตั้งบ้านเรือน การคมนาคม วัฒนธรรมประเพณีของชุมชน ผู้นำชุมชน และการถือครองที่ดินของชุมชน ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรค คือ ชุมชนข้างเคียง การเมืองภายในชุมชน และความขัดแย้งทางการเมืองระดับชาติ

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2541). ชุมชนนิยม : ฝ่าวิกฤตชุมชนล่มสลาย. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2541). การบริหารจัดการภาครัฐในยุคโลกาภิวัฒน์ ระบบตลาด การจัดการสมัยใหม่ การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชนนิยม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรพิทย์ มีมาก. (2550). รัฐกับการเสริมสร้างพลัง (empowerment)ประชาชน/ชุมชน ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชน ในการพัฒนาระบบราชการ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.opdc.go.th/oldweb/Mission/File_download/ 1148637063-1.ppt. (สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2552).

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2550). ดัชนีความเข้มแข็งของชุมชน ความกลมกลืนระหว่าง ทฤษฎีฐานรากกับข้อมูลเชิงประจักษ์. (ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2550). ทฤษฎีฐานรากในเรื่องความเข้มแข็งของชุมชน ครั้งที่ 1. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2546). โครงการบ้านมั่นคง : เพื่อสร้างความมั่นคงในการอยู่อาศัยให้คนจนในชุมชนแออัด ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2547). คู่มือการจัดทำโครงการบ้านมั่นคง ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2552). บ้านมั่นคง ชุมชน เข้มแข็ง. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก www.codi.or.th/baanmankong/index.php. (สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2552).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2547). บ้านมั่นคง : แผนปฏิบัติการเพื่อพัฒนาชุมชนแออัด (ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน). (2550). ผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของคนจนโดยองค์กรชุมชนตามโครงการบ้านมั่นคง พ.ศ. 2546-2549. (ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).

Clutterbuck D.and Susan Kernaghan. (1995). The Power of Empowerment Release the Hidden Talents of Your Employees. London : Kogan.

Gibson.C.H. (1991). A Concept Analysis of Empowerment. Journal of Advanced Nursing. (16) : 354 - 361.

Jackson.T.et al. (1989). The community development continuum. Community Health Studies. (13) : 66 - 73.

National Organizing Committee. (1992). People, participation and empowerment : Proceeding of the people's plan for the 21st century Thailand. Bangkok : National Organizing Committee.

Osborne. D.,&T. Gaebler. (1992). Reinventing Government : How the Entrepreneurial Spirits is Transforming the Public Sector from School House to State House. Mass: Addison - Wesley.

Sigh.N. and Titi V. (1995). Empowerment towards Sustainable Development.Halifax.

Wallerstein.N. (1992). Powerlessness.empowerment and health.American. Journal of Health Promotion. (Jan-Feb,6(3) : 197-205.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-08-31