การพัฒนาคู่มือวิธีปฏิบัติในการให้บริการที่เป็นเลิศ ของส่วนงานสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

ผู้แต่ง

  • สุภัสสรา วิภากูล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาคู่มือวิธีปฏิบัติในการให้บริการที่เป็นเลิศของบุคลากรส่วนงานสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยคริสเตียน เพื่อให้บุคลากรที่สังกัดส่วนงานสนับสนุนวิชาการใช้เป็นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการตามภารกิจที่มหาวิทยาลัยฯกำหนด ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความพึงพอใจ และความประทับใจให้กับนักศึกษา ประชาชนที่มาใช้บริการ รวมทั้งบุคลากรภายในซึ่งจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการให้บริการของมหาวิทยาลัยฯ

          คู่มือวิธีปฏิบัติในการให้บริการที่เป็นเลิศของส่วนงานสนับสนุนวิชาการ พัฒนาขึ้นโดยอาศัยกรอบแนวคิดการบริการที่เป็นเลิศที่พัฒนาขึ้นโดย ผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง อธิการบดีมหาวิทยาลัยคริสเตียน การศึกษาเอกสาร แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งการสำรวจความคิดเห็นจากนักศึกษาทุกระดับทุกชั้นปี และบุคลากรภายใน โดยนำข้อมูลทั้งหมดมาสังเคราะห์พัฒนาเป็นคู่มือวิธีปฏิบัติฯ และได้นำให้ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นผู้บริหารของมหาวิทยาลัยฯร่วมกันพิจารณาร่างคู่มือฯ แล้วจึงนำมาปรับปรุงแก้ไขสรุปผล

          คู่มือวิธีปฏิบัติในการให้บริการที่เป็นเลิศของส่วนงานสนับสนุนวิชาการเล่มนี้ ประกอบไปด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ คือ 1)การเตรียมความพร้อม  2) วิธีปฏิบัติงาน ซึ่งครอบคลุมด้านบุคลากรผู้ให้บริการ  ด้านสถานที่ให้บริการ และด้านกระบวนการให้บริการ และ 3) การประเมินผลการให้บริการ โดยมีวิธีปฏิบัติ และแนวทางการดำเนินงาน 97 วิธีปฏิบัติ  

References

งานแผนพัฒนา สำนักอธิการบดี. (2551). รายงานวิจัยเรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยคริสเตียนที่มีต่อการให้บริการการศึกษา. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง และคณะ. (2552). โครงการวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนารูปแบบและศักยภาพในการบริการที่เป็นเลิศของอำเภอในสังกัดกรมการปกครอง. ทุนสนับสนุนจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

_____. (2552). คู่มือหลักปฏิบัติและแนวปฏิบัติในการบริการที่เป็นเลิศของอำเภอ ในสังกัดกรมการปกครอง. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

_____. (2552). วิธีปฏิบัติในการบริการที่เป็นเลิศของอำเภอ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, สำนักงาน. (2549). การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

เพิ่มผลผลิตแห่งชาติ,สถาบัน. (2550). Thailand quality class 2007 : ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ. กรุงเทพฯ : บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน).

พิสิทธิ์ พิพัฒน์โภคากุล. (2553). บริการที่เป็นเลิศ : วัฒนธรรมบริการ. กรุงเทพฯ : ดิ อิมเพรสชั่น คอนซัลแทนท์.

_____. (2553). บริการที่เป็นเลิศ : รหัสบริการ. กรุงเทพฯ : ดิอิมเพรสชั่น คอนซัลแทนท์.

มนู เขม้นดี. (2549). การพัฒนากลยุทธ์การให้บริการของธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) สาขากำแพงเพชร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ยุทธศาสตร์การพัฒนา) มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

อัจฉรา บุษยโกมุท. (2550). การให้บริการเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนาระบบลูกค้าสัมพันธ์ของโรงพยาบาลราชวิถี. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาการบริหารและนโนบายสวัสดิการสังคม) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Barry Vincent. (1986). Moral issues in business. Belmont California : Wadsworth.

Cogan Morris L. (1975). “Studies of teacher behavior”. The Journal of Experimental Education. 26 : 135-139.

Cabinet Office. (2551). Customer service excellence. [online]. Available from: https://www.cse.cabinetoffice.gov.uk/standardRequirementDSE.do.(วันที่ค้นข้อมูล 21 กันยายน 2551).

Controller and Auditor-General. (2551). Service - excellence. [online]. Available from : https://www.oag.govt.nz.(วันที่ค้นข้อมูล 21 กันยายน 2551).

Government of South Australia. (2551). Service excellence II. [online]. Available from : https://www.familiesandcommunities.sa.gov.au. (วันที่ค้นข้อมูล 21 กันยายน 2551).

Millett John D. (1954). Management in the public service. New York : Mc graw-Hill.

Service Canada. (2551). Service Canada : People serving people. [online]. Available from : https://www.servicecanada.gc.ca. (วันที่ค้นข้อมูล 21 กันยายน 2551).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-08-31