กลยุทธ์การตลาดสีเขียว : แนวคิดใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • ลักษมี พันธุ์ธนโสภณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว น้ำท่วม ลมพายุ และอุณหภูมิที่แปรปรวนอย่างชนิดที่ไม่เคยมีมาก่อน  รวมถึงปรากฏการณ์เอลนินโย หรือ ลานินญา ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ชาวโลก ยิ่งทำให้กระแสการอนุรักษ์ทรัพยากร และรณรงค์ภาวะลดโลกร้อนเป็นประเด็นหลักในสังคมทั่วโลก จึงทำให้ทศวรรษนี้เป็น “ยุคแห่งสีเขียว” ไม่เว้นแม้กระทั่งสินค้าหรือบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มีผลทำให้องค์กรธุรกิจต่างปรับกลยุทธ์การตลาดเพื่อเน้นนำเสนอสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมก่อให้เกิด “การตลาดสีเขียว (Green marketing)” ที่มีแนวคิด ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีจำกัด ไม่เป็นกระทบสิ่งแวดล้อม และยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างเพียงพอ โดยองค์กรธุรกิจปรับกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing mix = 4Ps) ประกอบด้วย Product, Price, Place, และ Promotion เพื่อให้รับกับแนวคิดการตลาดสีเขียว ภายใต้กรอบแนว ระดับ Green มุ่งเน้นจำหน่ายผลิตภัณฑ์ บริการหรือกระบวนการผลิตสินค้าของตนเองที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าองค์กรธุรกิจอื่น ระดับ Greener เป็นแนวคิดการตลาดสีเขียวที่มุ่งเน้นผลด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยแท้จริง และระดับ Greenest เป็นแนวคิดการตลาดสีเขียวที่มุ่งก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นในสังคม โดยแต่ละระดับจะมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแตกต่างกัน

          หากองค์กรธุรกิจผลิตสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพียงฝ่ายเดียว แต่ผู้บริโภคไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อโลกก็คงไม่มีประโยชน์ ฉะนั้นการเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยลดโลกร้อน มีแนวคิด 7R สร้างโลกสีเขียวได้โดยการสร้างตนเองให้เกิดเป็นนิสัยในการดำเนินชีวิตประจำวัน อุปนิสัยในการลดโลกร้อน ได้แก่ Rethink, Reduce, Reuse, Recycle, Repair, Refuse, และ Return

References

กลุ่มนโยบายและแผน. 7 Green Habits : 7 อุปนิสัยสร้างโลกเขียว ...ไม่ต้องเดี๋ยว ทาได้เลย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://oops.mnre.go.th/kmoops/k1file/1310553389.pdf.(วันที่ค้นข้อมูล 15 กรกฎาคม 2555).

กระดาษที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้ https://www.greenoceansociety.com/index. php?option=com_content&view=article&id=127%3A2011-01-20-10-02-34&catid=51&Itemid=82. (วันที่ค้นข้อมูล 18 กรกฎาคม 2555).

ฉันทมน โพธิ์พิทัก. (2555). การตลาดสีเขียว : กลยุทธ์สร้างสรรค์ และปลูกจิตสำนึก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.mmthailand.com/mmnew/index.php?option=com_content&Itemid=114&catid=176&id=772&view=article.(วันที่ค้นข้อมูล 15 กรกฎาคม 2555).

สิทธิ ฝรั่งทอง. (2548). กรีนมาร์เก็ตติ้ง กลยุทธ์สร้างจิตสำนึก. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.nidambe11.net/ekonomiz/2005q3/article2005july15p9.htm.(วันที่ค้นข้อมูล 17 กรกฎาคม 2555).

สันทนา อมรไชย. ผลิตภัณฑ์สีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://businessconnectionknowledge.blogspot.com/2011/12/2-green-marketing.html. (วันที่ค้นข้อมูล 18 กรกฎาคม 2555).

ฮิลล์แอนด์นอลตัน. (2555). “น้ำทิพย์” พลิกโฉมใหม่ในขวด “อีโค-ครัช” ลดพลาสติก บิดได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก https://www.thaipr.net/products/38233. (วันที่ค้นข้อมูล 14 กรกฎาคม 2555).

ศิริพร วิษณุมหิมาชัย. (2553). การตลาดสีเขียว. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จากhttps://www.vcharkarn.com/vblog/114171/1/2/188086/1. (วันที่ค้นข้อมูล 12 กรกฎาคม 2555).

อภิรักษ์ อภิสารธนรักษ์. (2553). Green Marketing : การตลาดสีเขียว. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://www.bangkokbiznews.com/. (วันที่ค้นข้อมูล 12 กรกฎาคม 2555).

Grundey, D, and Zaharia, RM. (2008). Sustainable incentives in marketing and strategic greening : the cases of Lithunia and Romania, Technological and Economic Development, 14(2) : 130-143.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-12-31