เปิดโลกวิชาชีพบัญชีสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • นภา นาคแย้ม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตได้อย่างเสรี ได้แก่ สินค้า  แรงงานฝีมือ การบริการ และการลงทุน ซึ่งการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือ ปัจจุบันมีข้อตกลงกันใน 8 สาขาวิชาชีพ ได้แก่ วิศวกรรมพยาบาล สถาปัตยกรรม  การสำรวจ แพทย์ ทันตแพทย์ บัญชี และ บริการและท่องเที่ยว  สำหรับวิชาชีพบัญชีมีการทำกรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาบัญชีของอาเซียน (Mutual Recognition Arrangement Framework on Accountancy Services : MRAs) โดยมีหลักการเปิดโอกาสให้นักบัญชีที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดสามารถจดทะเบียนหรือขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนักบัญชีในประเทศอาเซียนอื่นได้โดยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในของประเทศนั้นๆ ดังนั้นเพื่อสร้างโอกาสในวิชาชีพ นักบัญชีควรมีการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดังนี้ ได้แก่ เพิ่มความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดของการไปลงทุน และทำงานด้านบัญชีของแต่ละประเทศ พัฒนาความรู้ ความสามารถด้านวิชาชีพ เพิ่มทักษะด้านภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน รวมถึงการเรียนรู้ขนบธรรมเนียมประเพณี สังคม ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกอาเซียน

References

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. กรอบข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาบัญชีของอาเซียน. (2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.thaifta.com. (วันที่สืบค้นข้อมูล 3 สิงหาคม 2555).

กระบวนการหลักของ MRAs. (2554). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://rt-spark.blogspot.com/2011/08/blog-post.html (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2555).

ข้อตกลงการค้าของอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.dpim.go.th. (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2555).

ธุรกิจบริการ : วิชาชีพบัญชี. (2555). กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

นักบัญชีไทยต้องเตรียมตัวอย่างไร กับ AEC. (2555). สภาวิชาชีพบัญชี. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.fap.or.th. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2555).

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน : AEC. (2552). กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

ประวัติความเป็นมาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.thai-aec.com/asean-economic-community (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2555).

มานัส มงคลสุข. (2554). ประชาคมอาเซียนกับวิชาชีพอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จากhttps://rt-spark.blogspot.com. (วันที่สืบค้นข้อมูล 2 สิงหาคม 2555).

ไมตรี สุนทรวรรณ และวิเชศ คำบุญรัตน์. คนไทยไปอย่างไรในอาเซียน. (2555). [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก km.ru.ac.th. (วันที่สืบค้นข้อมูล 6 สิงหาคม 2555).

สภาวิชาชีพบัญชี. เอกสารสัมมนาผลกระทบของ AEC : ผู้ทำและผู้สอบบัญชี. เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2555.

สัมมนาใหญ่นักบัญชีการก้าวสู่ AEC. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.thaifta.com. (วันที่สืบค้นข้อมูล 18 กรกฎาคม 2555).

สมาคมอาเซียน - ประเทศไทย. อาเซียนให้อะไรคุณ : ข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพอาเซียน. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.thaifta.com. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2555).

อุดม ธนูรัตนพงศ์. (2555). ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนด้านการบริการสาขาวิชาชีพบัญชี. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก https://tax.bugnoms.com. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2555).

AEC ผลกระทบต่ออนาคตของนักบัญชีไทย. (2555). สภาวิชาชีพบัญชี. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก www.fap.or.th. (วันที่สืบค้นข้อมูล 26 กรกฎาคม 2555).

AEC Blueprint. องค์ความรู้ “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน”. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลจาก www.thai- aec.com/aec-blueprint (วันที่สืบค้นข้อมูล 20 กรกฎาคม 2555).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2012-12-31