ผลการกดจุดต่อความปวดประจำเดือนของสตรีวัยเจริญพันธุ์

ผู้แต่ง

  • สุวิมล มณีโชติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • นฤมล เฉ่งไล่ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ (ด้านการสอน) วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

ปวดประจำเดือน, กดจุด, สตรีวัยเจริญพันธุ์

บทคัดย่อ

          อาการปวดประจำเดือนเป็นความทุกข์ทรมานของสตรีวัยเจริญพันธุ์ในแต่ละรอบเดือน การศึกษาเชิงกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการกดจุดต่อความปวดประจำเดือนของสตรีวัยเจริญพันธุ์ จำนวน 46 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติเหมือนกัน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คน กลุ่มทดลองเข้าโปรแกรมการกดจุดโดยได้รับการสอนและฝึกการกดจุด บนจุดซานอินเจียว จุดซี่ไห่ และจุดกวนหยวน และมอบหมายกดจุดก่อนมีประจำเดือน 7 วัน จุดละ 5 นาที วันละ 2 ครั้งจนถึงวันที่มีประจำเดือน ทำติดต่อกัน 3 รอบเดือน เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการกดจุด โดยใช้มาตรวัดระดับความปวด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ก่อนกับหลังการทดลอง (Dependent t-test) และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม (Independent t-test)

          ผลการศึกษาพบว่า ระดับความปวดประจำเดือนของสตรีวัยเจริญพันธุ์กลุ่มทดลอง หลังการกดจุดน้อยกว่าก่อนการกดจุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองระดับความปวดประจำเดือนของกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ดังนั้นควรส่งเสริมให้สตรีวัยเจริญพันธุ์กดจุดเพื่อลดอาการปวดประจำเดือน

References

ชนินทร์ ลีวานันท์. (2556). กดจุด หยุดปวด.สืบค้นจาก https://www.si.mahidol.ac.th

ดาว แดงดี, เอมพร รตินธร, ฉวีวรรณ อยู่สำราญ และ สมชัย โกวิทเจริญกุล. (2558). ผลของการกดจุด LI4 และ BL32 ต่อความเจ็บปวดในระยะที่หนึ่งของการคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก.วารสารพยาบาลศาสตร์, 33 (4), 15-26.

ดาริกา วรวงศ์, สร้อย อนุสรธีรกุล และ วิชุดา ไชยศิวามงคล. (2554). ระดับความเจ็บปวดของมารดาในระยะที่ 1 ของการคลอดหลังได้รับการบรรเทาปวด โดยใช้เทคนิคการหายใจ การลูบหน้าท้องและการนวดก้นกบ. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ.34(3), 31-39.

เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ และ มัธชุพร สุขประเสริฐ. (2553). บทบาทพยาบาล: การจัดการอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. วารสารรามาธิบดีเวชสาร, 33(3), 216-224.

ภาสกิจ วัณนาวิบูล, (2563). ปวดประจำเดือน…สัญญาณเตือนเนื้องอก. สืบค้นจาก https://samluang clinic.com

ยศพล เหลืองโสมนภา, เสรี ขัดแช้ม และ สมรักษ์ สันติเบ็ญจกุล. (2557). ผลของโปรแกรมเปลี่ยนความคิดที่ไม่เหมาะสมเกี่ยวกับความปวดและระดับความปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 7(1), 26-38.

เยาวพา จงเป็นสุขเลิศ, ศรีนารี แก้วฤดี, สุกรี สุนทราภา และ ชวนชม สกนธวัฒน. (2551). ความชุกของภาวะปวดประจำเดือนในกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดขอนแก่น. journal of obstetrics and gynaecology, 16(1),47-53.

รุจาวดี อุดมศิลป์. (2563). การรักษาอาการปวดประจำเดือนด้วยศาสตร์การแพทย์แผนจีน. ใน รัตติกาล ธนะสาร และ อภิญญา จิรศักดิ์ (บ.ก.) การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนจีน ครั้งที่ 2/2563 ฝ่ายการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. สืบค้นจาก https://med.mahidol.ac.th.alternmedexchange2-2563.

วรรธนะ มโนภินิเวศ และ จรุณ มไหศวรรย์. (2556). คู่มือกดจุด 174 จุดหยุดป่วยตามหลักแพทย์จีน. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: เต๋าประยุกต์.

วารุณี เพไร, ภัทรพร อรัณยภาค และ สุคนธ์ ไข่แก้ว (2555). การศึกษาความชุกของการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ พฤติกรรมการจัดการตนเอง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม.วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1(1), 16-29.

ศิรินาถ ศิริเลิศ และ อุษณีย์ แสนหมี. (2555).การรักษาภาวะปวดประจำเดือน. สืบค้นจาก http://www.med.cmu.ac.th.

สุวิชญ์ ปรัชญาปารมิตา. (2555) การนวดแบบกดจุด. สืบค้นจาก http://www.healthcarethai.com

สุรเกียรติ อาชานานุภาพ. (2553). ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป เล่ม 1 (แนวทางการตรวจรักษาโรคและการใช้ยา). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน

สุรศักดิ์ วิชัยโย. (2562). ยาแก้ปวดประจำเดือนใช้อย่างไร. สืบค้นจาก https://pharmacy.mahidol.ac.th.

สุลัคณา น้อยประเสริฐ, สินี ตัณฑสถิตยานนท์ และ วรกฤต เดชสิทธิ์กุล. (2560).เปรียบเทียบประสิทธิผลของการกดจุดใบหูกับการรมยาจุดกวนหยวนต่อการลดปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ.วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, 15(3),312-320.

Abdul-Razzak KK, Ayoub NM, Abu-Taleb AA.& Obeidat BA. (2010). Influence of dietary intake of dairy products on dysmenorrhea. The Journal of Obstetrics and Gynecology Research, 36(2), 377-83. DOI: 10.1111/j.1447-0756.2009.01159.x

Chen H.M. & Chen C.H. (2010).Effects of acupressure on menstrual distress in adolescent girls: a comparison between Hegu-Sanyinjiao matched points and Hegu, Zusanli single point. Journal of Clinical Nursing, 19(7-8), 998-1007.doi:10.1111/j.13652702. 2009.02872.x

Christensen, B. L. (2011). The reproductive cycle. In Christensen, B. L., & Kockrow, E.0. (Eds.). Adult health nursing (6thed.). (pp. 546-550). Missouri: Mosby Elsevier.

Fatemeh B., et al. (2010). A randomized clinical trial of the efficacy of applying a simple acupressure protocol to the Taichong point in relieving dysmenorrheal International. Journal of Gynecology and Obstetrics, 111(2), 105-109.

Jung W.S., Park S.U., Park J.M., Kim D.Y, Hong I.K., An Y.S., et al. (2011). Changes in SPECT Cerebral blood flow following Japanese style, superficial acupuncture at LI-4 and LI-11 in healthy volunteers. J Alterative Complement Med,17(4), 357-62.

Maxwell J. (1997).The gentle power of acupressure. RN, 60(4), 53-6.

Melzack R. & Wall, P.D. (1967). Pain mechanisms: a new theory. Survey of anesthesiology, 11(2), 89-90.

Neda M.A., et al. (2011). The effects of acupressure on primary dysmenorrhea: A randomized controlled trial. Complementary Therapies in Clinical Practice, 17(1), 33-6. doi: 10. 1016/j.ctcp.2010.06.005.

Yu S, Yang J, Ren Y, Chen L, Liang F. & Hu Y. (2015).Characteristics of accupoints selection of moxibustion for primary dysmenorrhea based on data mining technology Zhongguo Zhen Jiu, 35, 845-9.

Ziba R.D. et al. (2014). Effect of lavender inhalation on the symptoms of primary dysmenorrhea and the amount of menstrual bleeding: A randomized clinical trial. Complementary Therapies in Medicine, 22(2), 212-219.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17