การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงพยาบาลชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการ

ผู้แต่ง

  • นงพิมล นิมิตรอานันท์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           โรงพยาบาลชุมชนเป็นสถานบริการระดับทุติยภูมิที่มีพันธกิจสำคัญในการจัดบริการสุขภาพที่ครอบคลุมทุกมิติผ่านระบบการส่งต่อที่มีประสิทธิผล แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล การพัฒนาโรงพยาบาลชุมชนให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพของประชาชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเจาะลึก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์การเป็นองค์กรที่มีการเรียนรู้ของโรงพยาบาลชุมชนและกระบวนการจัดการการเรียนรู้ของโรงพยาบาลชุมชนที่ผ่านการประเมินคุณภาพจำนวน 8 แห่งในพื้นที่ 5 จังหวัด เก็บข้อมูลในช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีประสบการณ์ตรงในงานพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแนวคำถามปลายเปิด  และแบบบันทึกภาคสนาม  ทำการพิทักษ์สิทธิ์ผู้ให้ข้อมูลอย่างเคร่งครัดและวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า โรงพยาบาลชุมชนที่ศึกษาเป็นองค์กรที่ “มีการเรียนรู้” อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วยการใช้กลยุทธ์ของผู้บริหารและการสร้างพลังในบุคลากรและทีม ส่วนกระบวนการจัดการการเรียนรู้ ประกอบด้วย การยกระดับความรู้ให้เกิดการเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างเครือข่ายสุขภาพ การสร้างวงจรแห่งการเรียนรู้ โดยใช้เครื่องมือเรียนรู้ที่ประกอบด้วย สุนทรียะสนทนา การเล่าเรื่อง การทบทวนหลังปฏิบัติ และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลลัพธ์ของการเรียนรู้ ได้แก่ การได้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สมาชิกองค์กรใช้ประโยชน์ร่วมกันได้ในการเพิ่มคุณภาพบริการ บุคลากรมีความสุขในการทำงานและเกิดการสร้างทีมงานที่มีศักยภาพสูง การแบ่งปันทรัพยากรที่จำกัด และ การสร้างวัฒนธรรมใหม่ในองค์กรด้วยการบริหารแนวราบ      

          คณะผู้วิจัยเสนอแนะให้มีการประยุกต์รูปแบบการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลชุมชนอื่นๆ ผู้บริหารโรงพยาบาลชุมชนควรตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารแนวราบ การพัฒนาบุคลากรและทีมงานที่มีความเป็นเลิศ เพื่อการบรรลุเป้าหมายตามนโยบายการพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ

References

กรรณิการ์ พุ่มเจริญ. (2549). การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. ปริญญาครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิตสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

ฐิติณัฏฐ์ อัคคะเดชอนันต์ พิชานันท์ สุริยรัตน์ และ รวงผึ้ง ทาช้าง. (2553). ศักยภาพการพัฒนาไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานบริการด้านสุขภาพในประเทศไทย. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ปวีณ์นุช คำเทศ. (2545). การพัฒนาตัวชี้วัดความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาวัฒน์ พันธุ์แพ (2547). ผู้นำและที่มาของอำนาจ. วารสารวิทยาการจัดการ, 22(1), 68-75.

วิจารณ์ พานิช. (ม.ป.ป.). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการแนวใหม่.สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) เข้าถึงเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2556 จาก https://www.phatthalung.doae.go.th/km/data/managGov%5B1%5D.pdf

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2555). โครงสร้างหน่วยงานในราชการบริหารส่วนภูมิภาค สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.ในหนังสือราชการ เลขที่ สธ 0201.032/ว 29.

สำนักงานสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ กระทรวงสาธารณสุข. ปลัดกระทรวงสาธารณสุขวางระบบเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ ขับเคลื่อนนโยบายบรรลุผล ประชาชนสุขภาพดี www.moph.go.th/ops/iprg/include/admin.../show_hotnew.php?idHot...?

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2549). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. ม.ป.ป.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2556). สรุปสถานการณ์รับรองคุณภาพสถานพยาบาล เดือน มกราคม 2556 เข้าถึงเมื่อ 22 กุมภาพันธ์2556 จาก https://www.ha.or.th/ha2010/th/hospital/StatusHospital_January%20130131.pdf

Deming,W.E. (1994). The new economics for industry, government, education. 2nd Editions.

Denzin, N.K. & Lincoln, Y.S. (1994). Handbook of qualitative research. London : Sage Pub.Inc.

Field, P.A. & Morse, J.M. (1985). Nursing research : The application of qualitative approaches. London : Chapman & Hall.

Gephart, M.A., Marsick, V.J. et al. (1996). Learning organization come alive. Training and Development, 50(12), 35-45.

Gourlay, Stephen (2003). The SECI model of knowledge creation : some empirical shortcomings. 4th European Conference on Knowledge Management, Oxford, England, 18-19 Sep 2003, https://eprints.kingston.ac.uk/2291/Holloway, I. & Wheeler, S. (1996). Qualitative research for nurses. Oxford : Blackwell Sciences Ltd.

Franco, M. & Almeida,,J. (2010). Organisational learning and leadership styles in healthcare organisations an exploratory case study. Leadership & Organization Development Journal, 32(8), 782-806.

Leda, V. (2001). The learning organization in health-care services: theory and practice. Journal of European Industrial Training, 25(7), 354-365

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: A system approach to quantum improvement and global success. New York : McGraw-Hill.

------(2002). Building the learning organization. Pulo Alto: Davies-Black.

Nonaka, I., Toyama, R. and Konno, N. (2000). SECI, Ba, and leadership: a unified model of dynamic knowledge creation'. Long Range Planning, 33, pp 5-34.

------,Takeuchi. (2000). SECI model (Nonaka Takeuchi). Retrieved August 19, 2007, from https://www.12manage.com/methods_nonaka_seci.html

Senge, P.M. (1990). The Fifth discipline : The art and practice of the learning organization. New York : Doubleday.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30