คริสเตียนกับการศึกษาของไทย

ผู้แต่ง

  • จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Research) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบของการจัดการศึกษาของมิชชันนารีและมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยที่มี่ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมไทยด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสาร หนังสือ รายงานประจำปี รายงานวิจัยและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้บริหารโรงเรียน 25 แห่ง และมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ที่เป็นสถานศึกษาในสังกัดมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า การจัดการศึกษาของไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์อันเป็นช่วงระยะเวลาก่อนการเข้ามาของมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนท์ ซึ่งเป็นการจัดการศึกษาแบบไม่เป็นทางการ (Non-Formal Education) โดยสถาบันพระมหากษัตริย์มีบทบาทสูงในการจัดการศึกษาให้แก่พระบรมวงษานุวงศ์และข้าราชการบริพารเป็นส่วนใหญ่ มีสถาบันศาสนาและสถาบันครอบครัวร่วมจัดการศึกษาตามอัธยาศัยให้คนไทยทั่วไป โดยการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบจารีตและมีมิชชันนารีจากตะวันตกเข้ามาเป็นผู้บุกเบิกการศึกษาสมัยใหม่ใน ประเทศไทย

           ในช่วงระหว่าง ค.ศ.1828-1934 คณะมิชชันนารีนิกายโปรเตสแตนท์เข้ามาเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นครั้งแรก ใน ค.ศ. 1828 ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยคณะมิชชันนารีอเมริกันแบบติสต์ได้ริเริ่มก่อตั้งโรงเรียนสำหรับชาวจีนในประเทศไทยใน ค.ศ. 1838 และโรงเรียนสำหรับชาวไทยใน ค.ศ. 1839 รวมทั้งคณะมิชชันนารีอเมริกันเพรสไบทีเรียนได้ก่อตั้งโรงเรียนและจัดการศึกษาอย่างเป็นทางการ (Formal Education) ที่กรุงเทพฯ ใน ค.ศ. 1852 ที่สืบทอดมาเป็นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน      

           ในช่วงระหว่าง ค.ศ. 1934-1957 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านความรับผิดชอบจากมิชชันนารีมาสู่ผู้นำ      คริสเตียนไทยภายใต้มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศสยาม ซึ่งตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1937 แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง (ค.ศ. 1941-1945) ทำให้ต้องปิดโรงเรียนชั่วคราว ดังนั้นตั้งแต่ ค.ศ. 1946 ถึง 1957 คณะมิชชันนารีได้กลับมาช่วยฟื้นฟูบูรณะโรงเรียนและสนับสนุนให้มีการขยายตัวเปิดโรงเรียนเพิ่มขึ้น จนถึง ค.ศ. 1957 คณะมิชชันอเมริกันเพรสไบทีเรียนได้สลายตัว และถ่ายโอนพันธกิจและทรัพย์สินให้กับสภาคริสตจักรในประเทศไทย โดยมีการจัดตั้งกองการศึกษาในสังกัดสภาคริสตจักรฯ มีหน้าที่กำกับดูแลโรงเรียนในสังกัดสภาคริสตจักรฯ

           ในช่วง ค.ศ. 1957 จนถึงปัจจุบัน มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทยจัดตั้งกองการศึกษาให้ทำหน้าที่กำกับดูแลการจัดการศึกษาโดยโรงเรียนในสังกัดมูลนิธิฯ จำนวน 25 แห่ง และมูลนิธิฯ ได้สนับสนุนให้มีการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในสังกัดมูลนิธิฯ อีก 2 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยพายัพ ในค.ศ. 1973 และมหาวิทยาลัยคริสเตียน ใน ค.ศ. 1983 การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดมูลนิธิฯ ในช่วงนี้ เป็นบริบทของการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีโรงเรียนระดับพื้นฐาน 25 แห่ง โรงเรียนนานาชาติ 2 แห่ง และมหาวิทยาลัย 2 แห่ง ได้มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติทางการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) ฉบับปรับปรุง 2546 กล่าวคือ การปรับปรุงและเตรียมรับการประเมินคุณภาพการศึกษาให้มีมาตรฐาน ตามตัวบ่งชี้คุณภาพและผ่านตามเกณฑ์คุณภาพที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กำหนด จุดเด่นของการศึกษาของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรฯ คือการปลูกฝังจริยธรรมตามแบบคริสต์ศาสนา สถานศึกษาทั้งระดับพื้นฐานและอุดมศึกษาให้สังกัดมูลนิธิฯ จึงเปี่ยมด้วยคุณธรรมและคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยได้เรียนรู้สัจจะของชีวิตตามพระวจนะของพระเจ้า

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ แนวพระราชดำริเก้ารัชกาล. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. 2528

กระทรวงศึกษาธิการ. ประวัติกระทรวงศึกษาธิการ 2435-2507. พิมพ์เป็นที่ระลึกในวันครบเจ็ดสิบสองปีของกระทรวง. มปท. มปป.

กระทรวงศึกษาธิการ. 200 ปี ของการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา. 2526

กองการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย. เอกสารประกอบการพิจารณาในการประชุมกรรมการกองการศึกษาฯ (มปป.). (เอกสารอัดสำเนา).

_____. “รายงานพันธกิจกองการศึกษา มูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย” เสนอต่อการประชุมสมัชชาสภาคริสตจักรในประเทศไทย สมัยสามัญครั้งที่ 25 ณ โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม. วันที่ 19-23 ตุลาคม ค.ศ. 1998.

กองการวิจัยการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2532.) รายงานการวิจัยเรื่อง ประสิทธิภาพในการจัดการศึกษาของเอกชน. กรุงเทพฯ : หจก. ฟันนีพับบริชชิ่ง.

คณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพโรงเรียนเอกชน. รายงานการตรวจสอบคุณภาพโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. เสนอต่อคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเอกชน. วันที่ 1 ธันวาคม 2542

_____. รายงานการตรวจสอบคุณภาพโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย. เสนอต่อคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเอกชน. วันที่ 1 ธันวาคม 2542.

_____. รายงานการตรวจสอบคุณภาพโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย. เสนอต่อคณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเอกชน. 30 กันยายน 2542

_____. รายงานการตรวจสอบคุณภาพโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย. เสนอต่อคณะกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาเอกชน. วันที่ 1 ธันวาคม 2542.

คณะกรรมการบริหาร วิทยาลัยคริสเตียน. แผนพัฒนาวิทยาลัยคริสเตียน (ปีการศึกษา 2544-2548) นครปฐม : วิทยาลัยคริสเตียน, 2538.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. ใน นันทชัย มีชูธน. บรรณาธิการ. 175 ปี พันธกิจคริสต์ศาสนาโปรเตสแตนต์ในประเทศไทย (ค.ศ. 1828-2003). กรุงเทพฯ : ประชุมทองพริ๊นติ้ง กรุ๊ป, 2004.

ประสิทธิ์ พงศ์อุดม. “ประวัติศาสตร” และตัวตนของสภาคริสตจักรในประเทศไทย. ในพระพร 70 ปี สภาคริสตจักรในประเทศไทย ค.ศ. 1934-2004. ชำนาญ แสงฉาย. บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สภาคริสตจักรในประเทศไทย, 2004.

______. 150 ปี คบเพลิงบีซีซี. กรุงเทพฯ : โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย, มปป. พิพาดา ยังเจริญ และสุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา. การศึกษาและผลกระทบต่อสังคมไทย.

มหาวิทยาลัยพายัพ. การอุดมศึกษาเอกชนไทย. รายงานการวิจัยด้วยความสนับสนุนของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2539.

วิทยาลัยคริสเตียน. รายงานประจำปีวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2541. นครปฐม : วิทยาลัยคริสเตียน, 2542.

______. แผนพัฒนาวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2544-2548. นครปฐม : วิทยาลัยคริสเตียน, 2544.

McDonald, N.A. Siam : Its Government, Manners, Custom, &c. Philandelphia : Alfred Martien, 1871.

McFarland, George B. ed. Historical Sketch of Protestant Missions in Siam-1828-1928. Bangkok : Bangkok Times Press, 1928.

McGilvary, Daniel. A Half Century among the Siamese and Lao. New York : Fleming H Revell, 1912.

Record of Actions of the Siam Mission, January-December 1936. Bangkok : Boon Ruang, 1937.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30