ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล กับความพึงพอใจของประชาชน : กรณีศึกษาสถานีตำรวจภูธรหลักห้า อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • รัศมี ลักขณาวรรณพร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสำรวจการรับรู้การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของสถานีตำรวจภูธรหลักห้า  ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรหลักห้า ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรหลักห้า เมื่อจำแนกตามเพศ อาชีพ และตำบลที่อาศัย และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล กับความพึงพอใจของประชาชนในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรหลักห้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนที่ใช้บริการของสถานีตำรวจภูธรหลักห้า มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรหลักห้า รายด้าน และโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) ประชาชนที่ใช้บริการของสถานีตำรวจภูธรหลักห้า มีการรับรู้บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรหลักห้า ในด้านหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า รายด้านและโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 3) ประชาชนที่มีเพศต่างกัน มีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรหลักห้า รายด้าน และโดยรวมไม่แตกต่างกัน 4) ประชาชนที่ประกอบอาชีพแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านพฤติกรรมการบริการ และโดยรวมแตกต่างกัน ส่วนด้านขั้นตอนการให้บริการไม่แตกต่างกัน ด้านพฤติกรรมการบริการ พบว่า ประชาชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรหลักห้า มากกว่าประชาชนที่ประกอบอาชีพรับราชการ  อาชีพพนักงานบริษัท และอาชีพรับจ้างทั่วไป 5) ประชาชนที่อยู่ในตำบลที่อาศัยแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจด้านขั้นตอนการให้บริการ และด้านพฤติกรรมการบริการแตกต่างกัน แต่การให้บริการโดยรวมไม่พบความแตกต่างกัน  ในด้านพฤติกรรมการบริการ พบว่าประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลบัวงาม มีความพึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธรหลักห้าน้อยกว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนไผ่ และตำบลขุนพิทักษ์ 5) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้การบริหารด้วยหลักธรรมาภิบาลของเจ้าหน้าที่ตำรวจ กับความพึงพอใจของประชาชน ต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรหลักห้า พบว่า มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูงมาก และมีความสัมพันธ์ในเชิงบวก

References

กมลวัฒน์ รัตนอาจ พลสินธุ์ จำปาแก้ว พิษณุ พุฒมาลา และคณะฯ. (2545). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจภูธร อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่1 พฤศจิกายน 2555 ,จาก library.uru.ac.th/dbresearchfinddew.asp?dew=350.

กรกฤช เทียมเทศ. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถาน ศึกษากับประสิทธิผลการจัดการศึกษาต่อเนื่องของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2556, จาก prachuap.nfe.go.th/prachuap/?name=knowledge2&file...id=33

กิจจา ทองนิ่ม. (2555). การเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ ด้วยหลักการ 10S. สืบค้น เมื่อวันที่ 10สิงหาคม 2555 จาก www.edu.tsu.ac.th/edu2011/article_analysis/file/kitja1_51.pdf?

โครงการพัฒนาสถานีตำรวจ เพื่อประชาชน ตำรวจภูธรภาค 6. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556, จาก www.police6.go.th/police6/board/show.php?Category=pmqa&No...

ดำรง ชลสุข. (2555). การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมและค่านิยม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2556, จาก ter.prd.go.th/clean/doc03.doc.

ตรีเพ็ชร์ อ่ำเมือง. (2555). คู่มือ-เทคนิคการให้บริการด้วยใจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555, จาก www.op.mahidol.ac.th/orga/file/...A%20service%20mind%20manual.pd...

เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2529). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด.

ธนกฤต เนืองพุด. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจในโครงการโรงพักเพื่อประชาชน : ศึกษากรณีสถานีตำรวจภูธรอำเภอบ้านบึง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2555, จาก digital_collect.lib.buu.ac.th/thesissearching.php?MAUTHOR.

พงศ์ระพี ลอยสายออ. (2542). ทัศนคติของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองศรีราชา ที่มีต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สถานีตำรวจภูธร อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2556, จากdigital_collect.lib.buu.ac.th/thesissearching.php?MAUTHOR...

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมือง และสังคมที่ดี พ.ศ. 2542. [ออนไลน์]. สืบค้น วันที่ 10 เมษายน 2556, จาก motkms.mot.go.th/CoP_T1/T1/i1/.../borihanbanmeangteede2542.htm.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2556). เกณฑ์ตำรวจ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361157199&grpid=03&catid=03.

ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2540). ความเสมอ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=738.

พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์. (2553). กว่าจะเป็นตำรวจผู้รับใช้ประชาชน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2556, จาก https://www.highwaypolice.org/cpo.pdf.

ยศวริศ อันทรบุตร. (2554). ความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ของสถานีตำรวจภูธรจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด. สืบค้นเมื่อวันที่ 15พฤศจิกายน 2555 จาก www.copag.msu.ac.th/files/pdfs/vijai/pdf-2554/15.pdf.

สุภัทร เรืองศรี. (2553). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของสถานีตำรวจภูธร อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2555, จาก ebooks.dusit.ac.th/sdubook/openbook.nsp?view...db0...

สำนักนโยบาย และยุทธศาสตร์. (2552). ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงาน สังกัดกระทรวงยุติธรรมต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

อาศยา โชติพานิช. (2555). การให้บริการที่ดี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2555, จาก pharmacy.swu.ac.th/wp-content/uploads/.../การให้บริการที่ดี.pdf?.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30