การพัฒนาระบบประมวลผลภาพการแพทย์
บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนาระบบประมวลผลภาพการแพทย์เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาระบบการประมวลผลภาพการแพทย์ (Medical image) และรับ-ส่ง ข้อมูลภาพในรูปแบบ Digital ตามมาตรฐาน DICOM (Digital Imaging and Communications in Medicine ) 2. เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลกับระบบที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องตามมาตรฐานของ HL7 (Health Level Seven) 3. เพื่อประเมินผลระบบประมวลผลภาพทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น ผลการทดสอบ และประเมินผลระบบเก่า เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ แบบมีโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชันแนล สาขาสมุทรสาคร จำนวน 20 คน ประกอบด้วย แพทย์ จำนวน 10 คน , พยาบาลจำนวน 5 คน และเจ้าหน้าที่รังสีเอ็กซเรย์ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยการประเมินผลการใช้งานระบบประมวลผลภาพการแพทย์ พบว่า ด้านความครบถ้วนของหน้าที่ตามความต้องการอยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 3.83, S.D. = 0.51) ด้านหน้าที่การทำงาน อยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 3.78, S.D. = 0.48) ด้านการใช้งาน อยู่ในระดับพอใช้ (x̄= 3.69, S.D. = 0.76) และภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (x̄ = 3.77, S.D. = 0.58) โดยผลการทดสอบ และประเมินผลระบบใหม่ พบว่า ด้านความครบถ้วนของหน้าที่ตามความต้องการ อยู่ในระดับดี (X = 4.01, S.D. = 0.61 ) ด้านหน้าที่การทำงาน อยู่ในระดับดี (x̄ = 4.06, S.D. = 0.69) ด้านการใช้งาน อยู่ในระดับดี (x̄ = 4.03, S.D. = 0.80) และภาพรวมอยู่ในระดับดี (x̄ = 4.03, S.D. = 0.70) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า Web Base Application ดีกว่าระบบเก่าที่ถูกนำมาใช้งาน แสดงให้เห็นการบูรณาการเป็นขั้นตอนของโรงพยาบาล เพื่ออำนวยความสะดวกในการทดสอบ และการประเมินผลได้ดี มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
References
กรองกมล วงษ์เอก. (2548). การพัฒนาโปรแกรมแสดงผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทางการแพทย์บนคอมพิวเตอร์มือถือด้วยภาษาจาวา. วารสารวิทยาศาสตร์ประยุกต์. 4(2) : 11-17.
ชวรวย ทัศนะเกตุ. (2552). การพัฒนาระบบจัดเก็บภาพทางการแพทย์สำหรับโรงพยาบาลขนาดเล็ก.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชาญชัย ศุภอรรถกร และ ชิษณุพงศ์ ธัญญลักษณ์. (2555). สร้างเว็บแอพพลิเคชัน PHP+MySQL. กรุงเทพฯ : บริษัท รีไวว่า จำกัด.
ชำนาญ แสงฟ้า. (2547). โปรแกรมการแสดงภาพทางการแพทย์ สำหรับภาพทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาฉายาเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ซอฟอิงค์ไทย. (2555). มาตรฐานการสื่อสารข้อมูล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2556, จาก https://www.networkstuff.eu.
ดวงพร เกี๋ยงคำ และวงศ์ประชา จันทร์สมวงศ์. (2549). อินไซท์ Dreamweaver 8. กรุงเทพฯ : บริษัทโปรวิชั่น จำกัด.
ดวงสมร ชูดีจันทร์ สมชาย ปฐมศิริ และ สุธิดา สกุลวาริน. (2552). ศึกษาวิจัยการออกแบบและพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลคดี. กรุงเทพฯ : สถาบันนิติวิทยาศาสตร์กระทรวงยุติธรรม.
ปกรณ์ หอมหวนดี. (2554). PACS : Picture Archiving and Communication System. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2554, จาก https://www.xraythai.com.
สมพร จิวรสกุล และ สัจจะ จรัสรุ่งรวีวร. (2546). คู่มือการติดตั้ง และใช้งาน Microsoft SQL Server 2000 ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : บริษัท ไอ ดี ซี ดิสทริบิวเตอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด.
สุดา เธียรมนตรี. (2555). คู่มือเรียนเขียนโปรแกรมภาษา Java ฉบับสมบูรณ์. นนทบุรี : บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด.
อำไพ สินลิขิตกุล. (2546). การประยุกต์ และออกแบบฐานข้อมูล ด้วย Oracle และ SQL Server. กรุงเทพฯ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชัน จำกัด (มหาชน).
ฮอฟเฟอร์, เจฟเฟรย์ เอ.จิตติมา วงศ์วุฒิวัฒน์. (2547). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ : บริษัทเพียร์สัน เอ็ดดูเคชัน อินโดไชน่า.
Alan Dennis, Barbara Haley Wixom, David Tegarden. (2002). System analysis & design. USA : Hermitage Pubishing Services.
DICOM Standard Committee. (1993). Digital imaging and communication in medicine. NEMA Standards Publication.
Hacklander, T., Martin J., and Kleber K. .(2005). Informatics in radiology (infoRAD) : an open source framework for modification and communication of DICOM objects. RadioGraphics. 25:1709-1721.
Jeffrey L.Whitten, Lonnie D. Bentley and Kevin C. Dittman. (2001). Systems analysis and design methods. 5th ed. The United States of America : McGraw-Hill Higher Education.
Kinsey, T.V.,Horton M.C., and Lewis T.E. (2000). Interfacing the PACS and the HIS : results of a 5 year Implementation. RadioGraphics. 20 : 883-891.