ผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา คงหมวก มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          อาการคลื่นไส้และอาเจียนเป็นอาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิงในการบรรเทาอาการคลื่นไส้และอาเจียนในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด  กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเพศหญิงที่มารับการรักษาด้วยเคมีบำบัดที่แผนกศัลยกรรม โรงพยาบาลนครปฐม กลุ่มตัวอย่างได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 15 ราย โดยจับคู่ให้มีความคล้ายคลึงกันในเรื่องของอายุ และจำนวนครั้งของการ ได้รับเคมีบำบัด โดยที่กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับการดูแลตามรูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิง ที่ผู้วิจัยพัฒนามาจากระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้ (Educative - supportive nursing system) ของโอเร็ม (Orem, 2001) ร่วมกับการใช้แคปซูลขิง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยรูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิง  แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบบันทึกอาการคลื่นไส้และอาเจียนในแต่ละวัน คู่มือการดูแลตนเองเมื่อเกิดผลข้างเคียงจากยาเคมีบำบัด และแบบประเมินอาการคลื่นไส้ อาเจียนของ MASCC ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน และหาค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach's Alpha Coefficient) ได้เท่ากับ 0.73 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ Mann-Whitney U test

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิงมีระดับความรุนแรงของอาการคลื่นไส้น้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05   2) ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัดกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามรูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิงมีจำนวนครั้งของอาการอาเจียนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

          จากผลการวิจัย ผู้วิจัยเสนอแนะว่าควรมีการใช้รูปแบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและการใช้แคปซูลขิงในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับยาเคมีบำบัดและควรกำหนดเป็นมาตรฐานการพยาบาลสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด และสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ โดยจัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อนำแนวคิดการพยาบาลแบบสนับสนุนมาช่วยในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้

References

คณะกรรมการแห่งชาติด้านยา. (2549). บัญชียาจากสมุนไพร พ.ศ.2549. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ฝ่ายแผนงานและสารสนเทศโรงพยาบาลนครปฐม. (2553). รายงานประจำปี 2553 โรงพยาบาลนครปฐม. (อัดสำเนา).

พรวีนัส บุญเมฆ.(2548). การลดความรุนแรงของอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารพยาบาลศาสตร์, 23(1), 21.

พรดี จิตธรรมมา, เกษม แก้วเกียรติคุณ และบุษบา วิริยะสิริเวช. (2550). เปรียบเทียบประสิทธิผลระหว่างขิงกับวิตามินบี 6 ในการรักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนในสตรีตั้งครรภ์ระยะแรก โดยการ ทดลองปกปิดแบบสุ่ม. วารสารจดหมายเหตุทางการแพทย์, 90(1), 15-20.

พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ. (2545). สมุนไพรในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน. กรุงเทพฯ : บริษัทแสงมงคลออฟเซ็ทการพิมพ์จำกัด.

แม้นมนา จิระจรัส และสุวรรณี สิริเลิศตระกูล. (2552). คู่มือการดูแลตนเองขณะได้รับยาเคมีบำบัด. หน่วยงานมะเร็งวิทยาและภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี. ม.ป.ท.

วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร. (2554). การพยาบาลที่เป็นเลิศในการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็ง. สงขลา : ชานเมืองการพิมพ์.

วราภรณ์ แก้ววิลัย. (2549). การบำบัดแบบเสริมในผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม. พยาบาลสาร, 33(2), 160.

รัตนา อินทรานุปกรณ์. (2555). Ginger is a food as well as medicine. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 จาก www.gpo.or.th/rdi/html/ginger.html

โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร. (2555). มาตรฐานการผลิต. สืบค้นวันที่ 1 ธันวาคม 2555 จาก https://www.abhaiherb.com/about/standards-of-production.

สมจิต หนุเจริญกุล. (2544). การพยาบาล : ศาสตร์ของการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : หจก.วี.เจ พริ้นติ้ง.

สมพร ภูติยานันท์. (2542). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแพทย์แผนไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และคณะ. (2548). กระบวนการพยาบาล ทฤษฎี และการนำไปใช้. พิมพ์ครั้งที่ 15. ขอนแก่น : หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

หน่วยบริการฐานข้อมูลสมุนไพร. (2555). สมุนไพรที่ใช้ในงานสาธารณะสุขมูลฐาน. สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. สืบค้นวันที่ 3 พฤศจิกายน 2555 จาก www.medplant.mahidol.ac.th/pubhealth/zinoff.html.

ACS. (2012). Complementary and Alternative Methods for Cancer Management. Accessed October 24, 2012 from www.cancer.org.

Alparslan, B., et al. (2012). Effect of Ginger on Chemotherapy-Induced Nausea and/or Vomiting in Cancer Patients. JATMS, 18(1), 15-17.

Levine, M., et al. (2008). Protein and Ginger for the Treatment of Chemotherapy-Induced Delayed Nausea. The Journal of Alternative and Complementary Medicine, 14(5), 545-551.

MASCC. (2010). MASCC Antiemesis Tool (MAT). Accessed on September 24, 2011 from www.mascc.org.

Orem, D. (2001). Nursing Concepts of Practice. USA. Mosby, Inc.WHO. (2008). NCD mortality and morbidity. Accessed on November 21, 2011 from www.who.int.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30