การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด
บทคัดย่อ
การรักษาด้วยเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่มี ประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในระยะแพร่กระจาย การรักษาดังกล่าว มักเกิดภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญ คือ เกิดอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ ซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้น้อย เพราะอาการเจ็บปากพยาบาลจึงควรมีบทบาทในการหาแนวทางปฏิบัติที่มีมาตรฐานเพื่อป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้เคมีบำบัด โดยใช้กรอบแนวคิดของ IOWA Model จากหลักฐานเชิงประจักษ์ที่ใช้ในการพัฒนาแนวปฏิบัติ ประกอบด้วยงานวิจัยและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 20 เรื่อง ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติที่มาจากการวิเคราะห์เมตา (Meta analysis) 2 เรื่อง งานวิจัยที่เป็นแบบสุ่มเข้ากลุ่ม (Randomized controlled trial) 2 เรื่อง งานวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi experimental study) 1 เรื่อง งานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative study) 1 เรื่อง บทความของผู้เชี่ยวชาญ (Expert's opinion) 13 เรื่อง และตำราการพยาบาล (Text book) 1 เรื่อง สกัดข้อค้นพบ สรุปเป็นข้อเสนอแนะในการดูแลผู้ป่วย 3 ระยะคือ ระยะก่อนได้รับเคมีบำบัด ระยะขณะได้รับเคมีบำบัด และระยะหลังได้รับเคมีบำบัด จากนั้นนำแนวปฏิบัติไปตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ตามเกณฑ์ของ Appraisal of Guideline for Research & Evaluation (AGREE) ประเมินคุณภาพได้ค่าคะแนนคิดเป็นร้อยละ 76 ผู้ทรงคุณวุฒิทั้งหมดลงฉันทามติให้สามารถนำแนวปฏิบัติไปใช้ได้
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะแนวปฏิบัติการพยาบาล ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมต้องแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนได้รับเคมีบำบัด ให้คัดแยกผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ระยะขณะได้รับเคมีบำบัด ให้อมน้ำแข็ง ระยะหลังได้รับเคมีบำบัด ให้คำแนะนำในการดูแลช่องปาก และประเมินผลลัพธ์ในวันนัดตรวจของแพทย์และควรมีการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการปฏิบัติพยาบาลให้ใช้แนวปฏิบัติในกลุ่มผู้ป่วย เป้าหมายร่วมกับการใช้คู่มือสำหรับพยาบาลและสำหรับผู้ป่วย 2) ด้านวิชาการจัดให้มีการฝึกอบรมพยาบาลและผู้เกี่ยวข้องในโรงพยาบาล รวมทั้งดูแลผู้ป่วยมะเร็งในโรงพยาบาลเครือข่ายจัดให้มีวิจัยต่อเนื่องเพื่อศึกษาประสิทธิผลของแนวปฏิบัติการพยาบาลพัฒนาขึ้นและควรปรับปรุงแนวปฏิบัติการพยาบาลอย่างต่อเนื่องโดยกำหนดความทันสมัยทุก 3 ปี 3) ด้านการบริหาร โดยจัดให้มี one stop service ในงานบริการผู้ป่วยนอกให้มีการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดก่อนมาพบแพทย์เพื่อลดระยะเวลารอคอยและจัดให้มีโรงพยาบาลเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บริการยาเคมีบำบัดตาม โปรแกรมช่วยลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาโรงพยาบาลตติยภูมิ
References
จิรุตน์ ศรีรัตนบัลล์ และ ภาวิกา ปิยมาพรชัย. (2548). ระบบวิจัยสุขภาพที่พึงประสงค์ เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สวรส. ครั้งที่ 5. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2548 จาก https://Library.hsri.or.th/hsrisumit/hsrisum.php?.
ชวนพิศ นรเดชานนท์. (2547). เคมีบำบัด : หลักการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. ภาควิชาการพยาบาลสูติศาสตร์ - นรีเวชวิทยา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ลือชา นวรัตน์ และเอื้องฟ้า สิงห์ทิพย์พันธุ์. (2548). ยุทธศาสตร์การวิจัยสุขภาพ. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ สวรส. ครั้งที่ 5. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2548จาก https://Library.hsri.or.th/hsrisumit/hsrisum.php?.
วิทยา ศรีดามา. (2541). การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลในทางอายุรกรรม. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : โรงพิมพ์ยูนิตี้ พับลิเคชั่น.
Burke, M.B., Wikes, G.M., Berg, D., Bean, C.K, Ingwersen, K. (1991). Cancer chemotherapy a nursing process approach. Boston : Jones and Bartlett Publishers, 62-80.
Cawley, M.M. . (2005). Current trends in managing oral mucositis, Clinical Journal of Oncology Nursing. 9(5), 584-592.
Craig, J.V., Smyth, R.L. & Mullally, S. (2002). The evidence - based practice manual for nurses. Edinburgh : Cherchill Livingston, 23-43.
Lertwongpaopun, W. (2003). The effects of an oral care program on stomatitis in acute myeloid leukemia patients undergoing chemotherapy. A thesis submitted in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of nursing science (Adult nursing). Mahidol University.
Nicoll, L.H. cite in Fain, J.A. (1999). Reading, Understanding and applying nursing research. Philadelphia : F.A. Davis Company, 261-271.
Nikoletti, S. (2005). Comparison of plain ice and flavoured ice for preventing oral mucositis associated with the use of 5-FU. Journal of Clinical Nursing. 14, 750-753.
Polit, D.F., Beck, C.T. & Hungler, B.P. (2001). Essentials of nursing research. Philadelphia : Lippincott company, 444-450.
Rocke, L.K. et al. (1993). A randomized clinical trial of two different durations of oral cryotherapy for prevention of 5-fluorouracil related stomatitis. Cancer. 72(7), 2234-2238.
Sadler, G.R. et. al. (2003). Managing the oral sequelae of cancer therapy, Medsurg Nursing. 12 (1), 28-35.
Stetler, C.B., et. al. (1998). Utilization- focused integrative reviews in a nursing service. Applied Nursing Research. 11(4), 195-206.
Stone, R., Fliedner, M.C., Smiet, A.C.M. (2005). Management of oral mucositis in patients with cancer. European & Journal of Oncology Nursing. (9), 24-32.
The AGREE Collaboration. (2001). Appraisal of guidelines for research & evaluation. AGREE Instrument. [Online]. Retrieved April 10, 2025, from www.agreecollaboration.org.
Toowicharanon, P. (2000). The effects of chemotherapy and integrated nursing interventions on oral mucositis in leukemia patients. A thematic paper in partial fulfillment of the requirements for the degree of master of nursing science (Adult nursing). Mahidol University.