บทบาทของเทคโนโลยีทางการแพทย์ในการควบคุม โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ทวิวรรณ สารีบท มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมของการสร้างฮีโมโกลบินภายในเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้น ผู้ป่วยจะมีอาการแตกต่างกันตั้งแต่อาการโลหิตจางเล็กน้อย โลหิตจางมากต้องได้รับเลือดและยาขับธาตุเหล็กเป็นประจำ ไปจนถึงอาการรุนแรงที่สุดคือเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดในเวลาไม่นาน ในประเทศไทยมีความชุกของโรคนี้สูง กล่าวคือ พบผู้ที่ป่วยเป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียชนิดต่างๆ และผู้ที่เป็นพาหะของธาลัสซีเมียมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 1 และร้อยละ 30-40 ของประชากรตามลำดับ นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีความทุกข์ทรมานจากการมีโลหิตจางเรื้อรัง บางรายอาจมีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาหรือเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ผู้ป่วยต้องมาพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษาและสิ้นเปลืองเวลา ส่งผลต่อทั้งสภาพร่างกายและจิตใจ สภาพเศรษฐกิจและสังคม จึงทำให้โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของไทย ปัจจุบันการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซัเมียในประเทศไทยมีอยู่ 2 แนวทางหลัก คือ แนวทางการรักษาผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และแนวทางการลดอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียรายใหม่ ซึ่งเทคโนยีทางการแพทย์ได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการควบคุมโรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ตั้งแต่การตรวจวินิจฉัยโรค ไปจนถึงเทคนิคใหม่ๆ ในการรักษา จนกระทั่งจากการที่ว่าโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรมไม่มีทางรักษา กลับเป็นว่าสามารถควบคุมป้องกัน ลดอุบัติการณ์ของผู้ป่วยโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียรายใหม่และมีวิธีรักษาให้หายขาดได้

References

กิตติ ต่อจรัส. (2007). การเปลี่ยนยีนในธาลัสซีเมีย. Bulletin of The Thalassemia Club of Thailand. 16(2) : 13.

เกษมศรี ศรีสุพรรณดิฐ. (2556). การรักษาทารกในครรภ์ที่มีปัญหาโรคธาลัสซีเมียชนิดรุนแรง. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2556, จาก https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=683:intrauterine-treatment-for-severe-thalassemia&catid=40&Itemid=482.

แนวทางการวินิจฉัยและการรักษาโรคโลหิตจากธาลัสซีเมีย พ.ศ.2549. มูลนิธิโรคโลหิตจางธาลัสซีเมียแห่งประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2556, จาก https://www.thalassemia.or.th/thal-cpg.pdf.

ประเวศ วะสี. (2556). ธาลัสซีเมีย (Thalassemia). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556, จาก https://webdb.dmsc.moph.go.th/ifc_nih/a_nih_1_001c.asp?info_id=403.

เฟื่องลดา ทองประเสริฐ. (2556). Stem Cell Transplantation in Thalassemia. [ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2556, จาก https://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=427:hsct&catid=37&Itemid=248.

วิวัฒน์ ชินพิลาศ. (2008). PGD-PCR เทคโนโลยีการตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อนก่อนย้ายกลับสู่ครรภ์มารดา. Bulletin of The Thalassemia Club of Thailand. 17(2) : 5-8.

Arthur W. Nienhuis and Derek A. Persons. (2012). Development of Gene Therapy for Thalassemia. Cold Spring Harb Perspect Med. doi:10.1101cshperspedt.a011833.

Cavazzana-Calvo M, Payen E, Negre O, Wang G, Hehir K, Fusil F,et al. (2010). Transfusion independence and HMGA2 activation after gene therapy of human-thalassaemia. Nature. 467: 318-323.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-04-30