การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าวิสาหกิจชุมชนทำขนมต้นแบบ (ทองม้วน-ทองพับ) จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • ชมพูนุท ศรีพงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร., คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • ปิยะดา มณีนิล อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • สัสดี กำแพงดี อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • เวสารัช คงนวลใย นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดยะลา

คำสำคัญ:

การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า, วิสาหกิจชุมชน, จังหวัดยะลา

บทคัดย่อ

          ห่วงโซ่คุณค่าเป็นการเชื่อมโยงคุณค่าต่างๆ ในกิจกรรมหลักของธุรกิจ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าของวิสาหกิจชุมชนทำขนมต้นแบบ (ทองม้วน-ทองพับ) จังหวัดยะลา รวมทั้งเพื่อประเมินผลการพัฒนาดังกล่าว เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์กลุ่ม และการสนทนากลุ่ม กับสมาชิกกลุ่มจำนวน 4 คน การสัมภาษณ์คนกลางทางการตลาด 5 คน การสังเกต และการสอบถามจากผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 100 คน โดยใช้การสุ่มแบบตามสะดวก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์แก่นสาระ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า สมาชิกจัดซื้อวัตถุดิบและจัดส่งสินค้าด้วยตัวเอง ส่วนใหญ่จำหน่ายสินค้าผ่านคนกลางทางการตลาด จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย และเน้นการดูแลขวัญกำลังใจของสมาชิก การพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเป็นไปตามแนวทางซึ่งมุ่งเสริมประสิทธิภาพกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่า ผลลัพธ์จากการพัฒนาทำให้กลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 มีคนกลางทางการตลาดและลูกค้าเพิ่มขึ้นกระบวนการภายในธุรกิจดีขึ้นสมาชิกกลุ่มเสริมสร้างทักษะการตลาดออนไลน์และช่วยกันคิดและผลิตทองม้วนรสชาติใหม่อย่างไรก็ดีสมาชิกกลุ่มควรตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพกิจกรรมภายในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์รสชาติใหม่ควรสอบถามความคิดเห็นจากผู้บริโภค และทดสอบตลาดก่อนการผลิตเพื่อจำหน่าย

References

เจษฎา นกน้อย และสัญชัย ลั้งแท้กุล. (2558). การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าของสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ระดับ 5 ดาว ประเภทอาหารในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 7(1), 54-66.

เฉลิมขวัญ เมฆสุขและสวรรยา ธรรมอภิพล. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสาหร่ายพวงองุ่นจากต้นน้ำสู่ปลายน้ำ.วารสารธุรกิจปริทัศน์, 9(2), 68-80.

ธนัตพร รัตนซ้อน. (2561, 18 พฤศจิกายน). สัมภาษณ์โดย ชมพูนุท ศรีพงษ์ [การบันทึกเสียง]. ประธานวิสาหกิจชุมชนทำขนมต้นแบบ (ทองม้วน-ทองพับ), ยะลา.

ธันยมัย เจียรกุล. (2557). ปัญหาและแนวทางการปรับตัวของ OTOP เพื่อพร้อมรับการเปิด AEC. วารสารนักบริหาร, 34(1), 177-191.

ทวี วัชระเกียรติศักดิ์, ศิริพร เลิศยิ่งยศ และยุทธกร ฤทธิ์ไธสง. (2562). การพัฒนารูปแบบความสำเร็จในการประกอบการสำหรับวิสาหกิจรายย่อย.วารสารวิชาการบริหารธุรกิจสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 8(2), 118-141.

ทิชากร เกษรบัว. (2556). แนวทางการพัฒนาสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์.วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 30 (2), 155-174.

ปราณี อ่านเปรื่อง. (2557). หลักการวิเคราะห์อาหารด้วยประสาทสัมผัส. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (2548, 18 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 6 ก. หน้า 1-13.

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. (2563). โครงการประจำปีงบประมาณ 2563. ยะลา:มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศรีสุนันท์ ประเสริฐสังข์. (2559). การจัดการห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจหอพักในเขตเทศบาลตำบลเกาะแก้วและตำบลท่าม่วง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด.วารสารวิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(3), 41-54.

สหัสา พลนิล และพยอม วงศ์สารศรี. (2554). แนวทางการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือสู่ความยั่งยืน.วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 7(2), 39-52.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-พ.ศ.2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สิรยา คงสมพงษ์. (2557). รายงานผลสรุปการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้บริหารภาครัฐ หลักสูตรการสร้างมูลค่าจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สุรีรัตน์ ศรีทะแก้ว และสุเทพ นิ่มสาย. (2556). การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานและความได้เปรียบทางการแข่งขันด้านการส่งออกของผลไม้สดไทยไปยังตลาดสหภาพเมียนมาร์. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 36-61.

สุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2560). การวิจัยธุรกิจ.กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เสรี พงศ์พิศ.(2557). ประเทศไทยเดินหน้าด้วยวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นจาก http://www.phongphit.com

โสพิศ คำนวณชัย. (2561). ตัวแบบการจัดการการตลาดที่นำไปสู่การซื้อซ้ำผลิตภัณฑ์ไข่เค็มใบเตยของวิสาหกิจชุมชน.วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(2), 172-182.

อุทัย ปริญญาสุทธินันท์. (2560). วิสาหกิจชุมชนปฏิทรรศน์ในการแข่งขันธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(2), 131-150.

George, D., & Mallery, P. (2003). SPSS for Windows Step by Step: A Simple Guide and Reference 11.0 Update. (4thed.). Boston: Allyn & Bacon.

Jun, I. W. & Rowley, C. (2019) Competitive Advantage and the Transformation of Value Chains Over Time: The Example of a South Korean Diversified Business Group, 1953–2013. Business History, 61(2), 343-370.

Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (2006). Alignment: Using the Balanced Scorecard to Create Corporate Synergies. Boston: Harvard Business School Press.

Kumar.D.& Rajeev, P.V. (2016). Value Chain: A Conceptual Framework. International Journal of Engineering and Management Sciences, 7(1), 74-77.

Lawless, H. T. & Heyman, H. (2010). Sensory Evaluation of food: Principles and Practices. (2nded.). New York: Springer.

Porter, M. E. (1985). The Competitive Advantage: Creating and Sustaining Superior Performance. NewYork: Free Press.

Vattikoti, K. & Razak, A. (2018). Critical Evaluation of Value Chain Analysis for Assessing Competitive Advantage -A Study on Select Companies of E-Tailing Industry. Academy of Strategic Management Journal, 17(6), 1-14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17