นวัตกรรมการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าไดอะไดนามิก ร่วมกับการนวดต่ออาการปวดในสตรีวัยทำงานที่มีอาการปวดคอเรื้อรังของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนข้างขวา
คำสำคัญ:
การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้าไดอะไดนามิก, การนวด, ปวดคอเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลแบบเฉียบพลันของการรักษา 2 วิธี คือ 1) การกระตุ้นไฟฟ้าไดอะไดนามิกพร้อมกับการนวด และวิธีที่ 2) การนวดก่อนกระตุ้นไฟฟ้าไดอะไดนามิก ที่บริเวณกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบน ทั้งก่อนและหลังการรักษา ที่มีผลต่อระดับของอาการปวด อุณหภูมิผิวหนัง ความบกพร่องความสามารถของคอ การไหลเวียนเลือด และระดับเริ่มความเจ็บปวดจากแรงกด ในสตรีวัยทำงานที่มีอาการปวดคอเรื้อรังของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนข้างขวาจำนวน 32 คน อายุระหว่าง 20-40 ปี ซึ่งถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย คือกลุ่มศึกษา (จำนวน 16 คน) ได้รับการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าไดอะไดนามิกผ่านมือผู้รักษาพร้อมกับการนวด และกลุ่มควบคุมได้รับการนวดตามด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าไดอะไดนามิก จากนั้นทำการประเมินอาการปวด อุณหภูมิผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อทราพรีเซียสส่วนบน ความบกพร่องความสามารถของคอ การไหลเวียนเลือด และระดับเริ่มความเจ็บปวดจากแรงกด ก่อนและหลังการรักษาทันที โดยใช้แบบประเมินอาการปวด (Visual Analogue Scale) เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรด (Infrared Thermometer) ดัชนีวัดความบกพร่องของคอ (Neck Disability Index) เครื่องวัดการไหลเวียนเลือด (Vascular Doppler) และเครื่องวัดความเจ็บปวดจากแรงกด (Pain Pressure Algometer) ผลการศึกษาพบว่าทั้ง 2 กลุ่มมีระดับคะแนนความเจ็บปวดและความบกพร่องความสามารถของคอลดลงเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่ม (Paired Samples t-test; p≤0.01) นอกจากนั้นในกลุ่มศึกษาพบว่าระดับเริ่มความเจ็บปวดจากแรงกด อุณหภูมิผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อทราพรีเซียสส่วนบน และการไหลเวียนเลือด เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบภายในกลุ่ม (Paired Samples t-test; p≤0.01) และระดับเริ่มความเจ็บปวดจากแรงกดในกลุ่มศึกษาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบระหว่างกลุ่ม (Independent-Samples t-test; p≤0.05) ดังนั้นการรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าไดอะไดนามิกโดยผ่านมือผู้รักษาพร้อมกับการนวดให้ผลการรักษาเทียบเท่าการนวดตามด้วยการกระตุ้นไฟฟ้าไดอะไดนามิกในด้านการลดอาการปวดและลดความบกพร่องความสามารถของคอ นอกจากนั้นยังให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพกว่าในด้านการเพิ่มระดับเริ่มความเจ็บปวดจากแรงกด
References
ไกรวัชร ธีรเนตร. (2552). ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า.
จุไร รัฐวงษา, ชื่นฤทัย ยี่เขียน, พงษ์ศักดิ์ ชุนพงษ์ทอง, และคมวุฒิ คนฉลาด. (2555). เปรียบเทียบผลของการรักษาด้วยอัลตราซาวด์กับการนวดแบบสวีดิชในผู้ป่วยปวดกล้ามเนื้อและพังผืดของกล้ามเนื้อTrapzius (Trapziusmyofascial pain). วารสารกายภาพบำบัด, 34(2), 114-123.
ดวงพร เบญจนราสุทธิ์. (2551). กายภาพบำบัดในผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. สมุทรปราการ: คณะกายภาพบำบัดมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ดวงพร เบญจนราสุทธ์. (2558). บท 15 การรักษาโดยใช้กระแสไดอะไดนามิกส์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
ประดิษฐ์ ประทีปะวณิช. (2551). ปวดกล้ามเนื้อมัยโอฟาสเชี่ยลเพนซินโดรม Myofascial pain syndrome. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง จำกัด (มหาชน).
ปวีนุช ศรีมงคลชัย. (2558). สุขภาพดีกับกายภาพบำบัด เล่ม 2. สมุทรปราการ: คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.
รจนา ปุณโณทก, นภาพร เอี่ยมละออ, กุณฑลี จริยาปยุกต์เลิศ, และนิพนธ์ วรเมธกุล. (2550). ผลของการนวดต่ออาการปวดศีรษะแบบไมเกรนและความสุขสบายในผู้ป่วยโรคไมเกรน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(4), 76-89.
วิษณุ กัมทรทิพย์. (2550). ความน่าเชื่อถือของการประเมิณการทำงาน คอ แขน และมือ. Journal of Thai Rehabilitation Medicine, 17(1), 20-25.
อำพล บุญเพียร, วรินทร เชิดชูธีรกูล, และสายฝน ตันตะโยธิน. (2561). ประสิทธิผลของการนวดน้ำมันไพลและน้ำมันปาล์มต่ออาการปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ในนักศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. วารสารทันโรควิทยาศาสตร์, 18(1), 17-30.
Alain-Yvan., B. (2010). Chapter 19. Diadynamic current therapy. Philadelphia: Wolters Kluwer and Lippincott Williams & Wilkins.
Anand, B., Heggannavar, R., & Ramannavar, S. (2015). Effectiveness of diadynamic current and mens in heel pain a randomized clinical trIal. International Journal of Physiotherapy and Research, 3(2), 992-998.
Barbara, H., Gibson, H., Cohen, A., Zanobett, A., Souza, C., Foley, C., Suh, H.H., Coull, B.A., Schwartz, J., Mittleman, M., Stone, P., Horton, E., & Gold, D.R. (2011). Opposing effects of particle pollution ozone and ambient temperature on arterial blood pressure. Journal of Department of Environmental Health, 120(2), 241-246.
Barreto, D.M., & Batista, M.V.A. (2017). Swedish Massage: A Systematic Review of its Physical and Psychological Benefits. Advances in mind-body medicine, 31(2), 16-20.
Cagnie, B., Barbe, T., Ridder, E.D., Oosterwijck, J.V., Cools, A., Danneels, L. (2012). The influence of dry needling of the trapezius muscle on muscle blood flow and oxygenation. Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics, 35(9), 685–691.
Can, F., Tandogan, R., Yilmaz, I., Dolunay, E., & Erden, Z., (2003). Rehabilitation of patellofemoral pain syndrome : TENS versus diadynamic current therapy for pain relief. Pain Clinics.,15(1), 61-68.
Capó-Juan, M.A. (2015). Cervical myofascial pain syndrome: Narrative review of physiotherapeu-tic treatment. Anales del sistema sanitario de Navarra., 38(1), 105-115.
Chen, A., Ashburn, M.A. (2015). Cardiac Effects of Opioid Therapy. Pain Medicine. 16(1), S27–S31.
Dibai-Filho, A.V., Guirro, R.R.J., Ferreira, V.T.K., Oliveira, A.K., Almeida, A.M., Guirro, E.C.O. (2017). Analysis of chronic myofascial pain in the upper trapezius muscle of breast cancer survivors and women with neck pain. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 22(2), 237-241.
Dibai-Filho, A.V., Oliveira, A.K., Girasol, C., Dias, F.R., Guirro, R.R. (2017). Additional Effect of Static Ultrasound and Diadynamic Currents on Myofascial Trigger Points in a Manual Therapy Program for Patients With Chronic Neck Pain: A Randomized Clinical Trial. American Journal of Physical Medicine & Rehabilitation, 96(4), 243–252.
Ebadi, S., Ansari, N.N., Ahadi, T., EFallah, E., & Forogh, B. (2017). No immediate analgesic effects of diadynamic current in patients with nonspecific low back pain in comparison to TENS. Journal of Bodywork and Movement Therapies, 22(3), 693-699.
Hernandez-Reif, M., Field, T., Krasnegor, J., Theakston, H. (2001). Lower back pain is reduced and range of motion increased after massage therapy. International Journal of Neuroscience,106(3-4), 131-145.
Melzack, R., Wall, P.D. (1965). Pain mechanisms a new theory. Journal of the theory Science, 19(150), 971–979.
Miyaji, A., Sugimori, K., Hayashi, N. (2018). Short- and long-term effects of using a facial massage roller on facial skin blood flow and vascular reactivity. Complementary Therapies in Medicine, 41, 271-276.
Page, P. (2007). Current concepts in muscle stretcthing for exercise and rehabilitation. International Journal of Sports Physical Therapy, 7(1), 109–119.
Ratajczak, B., Hawrylak, A., Demida, A., Kuciel-Lewandowska, J., & Boerner, E. (2011). Effectiveness of diadynamic currents and transcutaneous electrical nerve stimulation in disc disease lumbar part of spine. The journal of Back Musculoskelet Rehabilitation, 24(3), 155-159.
Vernon, H., & Mior, S. (1991). The neck disability index a study of reliability and validity. Journal of Manipulative and Physiological Therapeutics, 14(1), 409-415.
Viravud, Y., Apichartvorakit, A., Mutirangura, P., Plakornkul, V., Roongruangchai, J., Vannabhum, M., Laohapand, T., Akarasereenont, P. (2017). The Anatomical Study of the Major Signal Points of the Court-Type Thai Traditional Massage on Legs and Their Effects on Blood Flow and Skin Temperature. Journal of Integrative Medicine, 15(2), 142-150.
Yoo, J. (2015). The Importance of recognizing cognitive impairment. Journal of the American Medical Directors Association, 16(9), 731–739.