การกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยคริสเตียน ในการจัดการอุดมศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยเรื่อง การกำหนดทิศทางของมหาวิทยาลัยคริสเตียนในการจัดการอุดมศึกษาในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 2 ประการ คือ 1) การศึกษาและวิเคราะห์บริบททางสังคมและเศรษฐกิจของประเทศไทยในการเตรียมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะผลกระทบด้านการจัดการอุดมศึกษา และ 2) ศึกษาทิศทางในการพัฒนามหาวิทยาลัยคริสเตียนเพื่อเตรียมความพร้อมกับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การศึกษาในครั้งนี้อาศัยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยทำการศึกษาข้อมูลบริบทภายนอกและภายในของมหาวิทยาลัยคริสเตียนจากสถิติ ข้อมูล เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เพื่อระดมความคิดเห็นของผู้บริหาร คณาจารย์ ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันของมหาวิทยาลัยฯ ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้ ชี้ให้เห็นว่าการก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี พ.ศ. 2558 เป็นทั้งโอกาสและภาวะคุกคามต่อมหาวิทยาลัยคริสเตียน ดังนั้น มหาวิทยาลัยฯจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในการจัดการศึกษาทั้งด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การพัฒนาอาจารย์ การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การให้บริการวิชาการแก่สังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการบริหารจัดการองค์กรตามที่ผลการวิจัยได้เสนอแนวทางไว้ เพื่อที่จะทำให้มหาวิทยาลัยฯก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และมีศักยภาพที่สามารถจะแข่งขันในเวทีอุดมศึกษาไทยและนานาชาติได้

References

ไข่มุก รักขุมแก้ว. (2545). บทบาทของศิษย์เก่าต่อการจัดการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (อุดมศึกษา) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง และคณะ. (2552). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยคริสเตียน ปีการศึกษา 2552-2554.นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

_____. (2554). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียนภายนอกรอบสามอย่างเป็นทางการ ปีการศึกษา 2551-2553. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

_____. (2555). รายงานการประเมินคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยคริสเตียนภายในอย่างเป็นทางการ ปีการศึกษา 2554. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

______. (2556). รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยคริสเตียนสมัยสามัญ ครั้งที่ 1/2556 วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2556. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เทื้อน ทองแก้ว. (2556). ความสำคัญหน้าที่อาจารย์ที่ปรึกษา. ออนไลน์ : เข้าถึงได้จากwww.gotoknoe.org (วันที่ค้นข้อมูล 13 กุมภาพันธ์ 2556).

นงลักษณ์ ใจฉลาด. (2552). รูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนิสิตนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาไทย. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา) มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรรณา นพรัตน์. (2553). ความรู้และความเข้าใจของนักศึกษาไทยในการเตรียมพร้อมเพื่อก้าวสู่ประชาคมอาเซียน : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยภาครัฐและภาคเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด.

วรพล โสคติยานุรักษ์. (2555). รายงานสรุปการประชุมทางวิชาการ เรื่อง ทิศทางการพัฒนามหาวิทยาลัยคริสเตียนสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. นครปฐม : มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

วันชัย ศิริชนะ. (2553). สรุปการบรรยายพิเศษ เรื่อง บทบาทของสมาคมนิสิต-นักศึกษาเก่าในการส่งเสริมและพัฒนามหาวิทยาลัย. เชียงราย : มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง วันที่ 3 ธันวาคม 2553.

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2555). การศึกษาไทย โอกาสและความท้าทายภายหลังการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. ออนไลน์ : เข้าถึงได้จาก www.ksmecare (วันที่ค้นข้อมูล 22 มกราคม 2556)

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2554). ความพร้อมของกำลังคนรองรับกับการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า 9 สาขา ตามกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. กรุงเทพฯ : สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.

________. (2555). ประเทศไทยในกระแส AEC : มายาคติ ความเป็นจริงโอกาสและความท้าทาย. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาวิชาการประจำปี 2555. วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2555.

สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล. (2552). แผนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อพัฒนาประเทศไทยก่อนการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี ค.ศ.2015. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). ความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่องการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ด้วยปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ : สกสค.ลาดพร้าว.

สุบิน ยุระรัช และคณะ. (2554). ความพร้อมในการพัฒนาบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย 28 พฤษภาคม 2555.

สุรินทร์ พิศสุวรรณ. (2555). อาเซียนรู้ไว้ ได้เปรียบแน่. กรุงเทพฯ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.

สุธีร์ รัตนานาคินทร์. (2555). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ในการสร้างภาพลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษาและคนอุดมศึกษาไทย. ออนไลน์ : เข้าถึงได้จาก cuast.net/wp-content/uploads/2011/01. (วันที่ค้นข้อมูล 10 ตุลาคม 2555).

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2553). ยุทธศาสตร์อุดมศึกษาไทยในการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ.

_____. (2555). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559).กรุงเทพฯ : สำนักนโยบายและแผนการศึกษา.

สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2555). นโยบาย 5 ประการของกระทรวงศึกษาธิการตามปฏิญญาอาเซียน. ออนไลน์ : เข้าถึงได้จาก www.bcca.go.th. (วันที่ค้นข้อมูล 5 มิถุนายน 2555)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2555). เอกสารประกอบการประชุมสัมมนาระดับชาติ เรื่อง การกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาข้ามชาติ/ข้ามพรมแดน (Transnational Education) เพื่อเตรียมการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน. เอกสารอัดสำเนา.

สำนักงานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ. (2554). เอกสารวิชาการลำดับที่ 1 การเตรียมความพร้อมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ปี พ.ศ.2558. มปท.

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรแถลงต่อรัฐสภา.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

อาภรณ์ แก่นวงศ์. (2554). การวิเคราะห์การจัดการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาบนแนวพื้นที่เศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก เพื่อรองรับการรวมตัวเป็นประชาชนอาเซียนในปี 2558. กรุงเทพฯ : สำนักยุทธศาสตร์อุดมศึกษาต่างประเทศ.

Association of Southeast Asian Nations. (2010). ASEAN Economic Community Scorecard. Jakarta : Public Outreach and Civil society Division, The ASEAN Secretariat.

Armstrong. M. (1996). Management Processes and Functions. London CIPD

Gordon, Rick. (1998). A Curriculum for authentic learning. The education digest.

Kolb, David. (1984). Experiential Learning. Englewood Cliffs : Prentice-Hall.

Porter, M.E. (1998) On Competition. Boston : Harvard Business School.

The ASEAN Secretariat. (2012). ASEAN 5-YEAR WORK PLAN ON EDUCATION (2011-2015). Jakarta : ASEAN Secretariat.

Richard Yelland. (2013). สรุปการบรรยาย เรื่อง ความร่วมมือจาก OECD ในการจัดทำยุทธศาสตร์การศึกษาของประเทศไทย. ในการประชุมเชิงปฏิบัติการ “ยุทธศาสตร์การศึกษา พ.ศ.2556-2558”สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2556

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-08-31