การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ และค่าดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สนอง เพชรคง หัวหน้ากลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี

บทคัดย่อ

          ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต การปฏิบัติตนเพื่อลดความรุนแรงของโรคจึงมีความสำคัญ

          วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและดัชนีมวลกายเกินมาตรฐาน โดยทำการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) ศึกษาบุคลากรในโรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรีที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปและได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ผู้ที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูงและดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานจะได้รับการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องภาวะไขมันในเลือด ดัชนีมวลกาย อาหาร การออกกำลังกายและการจัดการความเครียดเป็นเวลา 3 วัน และเข้ากิจกรรมกลุ่มสัปดาห์ละครั้งเป็นเวลา 3 เดือนสอบถามพฤติกรรมการลดไขมันในเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือดและดัชนีมวลกายก่อนและหลังเข้า กิจกรรม ใช้ paired t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูล

          ผลการวิจัยพบว่า ระหว่างเดือนมกราคมถึงกันยายน 2555 มีบุคลากรที่มีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานจำนวน 164 คน คัดเลือกกลุ่มที่สมัครใจเข้าร่วมศึกษาจำนวน 40 คน พบว่าพฤติกรรมการลดไขมันในเลือดระดับดีมากเป็นร้อยละ 5.0 และ 25.0 (p-value<0.01) ระดับดี ร้อยละ 67.5 และ 72.5 (p-value<0.01) ระดับโคเลสเตอรอล 221 และ 206 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (p-value<0.01) ดัชนีมวลกาย 26.9 และ 25.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร (p-value<0.01) ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมตามลำดับ

          การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทำให้ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติและดัชนีมวลกายเกินมาตรฐานดีขึ้นได้

References

ธนพร บึงมุม. (2552). การพัฒนารูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อควบคุมระดับไขมันในเลือดในบุคลากรที่มีระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เบญจมาศ สุขศรีเพ็ง. (2550). ทฤษฎีทางการพยาบาล/ทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์. ระนอง : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง.

ประภัสสร ควาญช้าง. (2549). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในบุคลากรที่มี ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการพยาบาลผูใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรพรรณ ทัศนศร, สุมัทนา กลางคาร และพีรศักดิ์. (2554) รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในบุคลากรทีมีภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ โรงพยาบาลค่ายวีระวัฒนโยธิน จังหวัดสุรินทร์.

รุจิรา ดวงสงค์. (2548). ทฤษฎีการกำกับตนเอง. วารสารสุขศึกษา. 28(101) : 69-84

สุปรียา ตันสกุล. (2546). กระบวนการเรียนรู้กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2552). สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด ปี 2552. กรุงเทพฯ.

สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทยสถาบันวิจัยสาธารณสุขไทย. (2553). การสำรวจตรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งที่ 4 (พ.ศ.2551-2552). กรุงเทพฯ : เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด.

Bandura Albert. 1986. Social learning theory. New York : General Learning Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-30