ปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อรถบรรทุกในกลุ่ม จังหวัดภาคใต้ชายแดน

ผู้แต่ง

  • อมร ชคทิศ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

           งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อรถบรรทุกในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 2. ศึกษาองค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อรถบรรทุกในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน 3. ศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการตลาดที่ส่งผลต่อความจงรักภักดีของผู้ซื้อรถบรรทุกในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดน โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นลูกค้าผู้ซื้อรถบรรทุก จากจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี  ยะลา สตูล และสงขลา รวมจำนวน 147 คน และทำการสุ่มตัวอย่างในแต่ละจังหวัดโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้การเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ด้านปัจจัยการตลาด และความจงรักภักดีโดยมีระดับความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ  0.958  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการตลาดกับความจงรักภักดีของผู้ซื้อรถบรรทุกในกลุ่มจังหวัดภาคใต้ชายแดนและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลสมการโครงสร้างตามสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ

           ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการบริการ  ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ส่วนความจงรักภักดี โดยภาพรวมอยู่ในระดับสำคัญมากที่สุด คือ ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านทัศนคติ ด้านความพึงพอใจ และด้านความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันปัจจัยการตลาด พบว่าองค์ประกอบสำคัญ ทั้ง 5 องค์ประกอบ ที่อธิบายปัจจัยการตลาด คือ การส่งเสริมการตลาด การบริการ ช่องทางการจัดจำหน่าย ราคา และผลิตภัณฑ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.85, 0.79, 0.74, 0.56 และ 0.40 และผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความจงรักภักดี คือ ทัศนคติ ความพึงพอใจ ความสัมพันธ์กับลูกค้า และความรู้ความเข้าใจ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์เส้นทางเท่ากับ 0.75, 0.75, 0.64, และ 0.51 ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการตลาด ได้ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอย (Regress weight) เท่ากับ 0.67 และค่า R-Square เท่ากับ 0.45 โดยมีสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการตลาดและความจงรักภักดี ได้ค่าสมการความสัมพันธ์ คือ Z (ความจงรักภักดี) = .67 Z (ปัจจัยการตลาด)

References

ชาญชัย สุขสำรวม. (2551). ปัจจัยด้านบริหารจัดการที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการธุรกิจจัดจำหน่ายรถมือสอง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏอยุธยา.

ณัฐพัชร์ ล้อประดิษฐ์พงษ์. (2549). คู่มือสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า.กรุงเทพฯ. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

พิมพ์ชนก ศันสนีย์. (2540). “ความพึงพอใจเป็นสิ่งที่มีต่อการบริการ มีความสัมพันธ์โดยตรงกันการทำให้เป็นไปตามความคาดหวัง หรือการไม่เป็นไปตามความคาดหวังของผู้บริโภค”.กรุงเทพฯ.

ทิวทัศน์ ผากอง. (2553). มิติองค์ประกอบที่มีผลกระทบต่อความภักดีต่อร้านค้าส่งแบบดั้งเดิมในจังหวัดขอนแก่น. ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธงชัย สันติวงษ์. (2552). แนวโน้มการซื้อรถยนต์ฮอนด้า ระบบเติมแก๊สโซฮอล์ E 20 ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ.

ปณิธิ เนตินันทน์. (2547). บทความ “ความจงรักภักดี”. กรุงเทพฯ : เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

มีนา อ่องบางน้อย. (2553). คุณค่าตราสินค้า ความไว้วางใจและความพึงพอใจ ที่มีผลต่อความภักดีต่อตราสินค้า CAT CDMA (แคทซีดีเอ็มเอ). ปริญญานิพนธ์ บธ.ม (การตลาด). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.

ยุพาวรรณ วรรณวาณิชย์. (2548). การสร้างคุณภาพเพื่อให้เกิดความแตกต่างและได้เปรียบเหนือคู่แข่ง. กรุงเทพฯ.

วรวรรณ แสงทอง. (2545). กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อรถกระบะของผู้ใช้รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวารสารศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาบริหารสื่อสารมวลชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิภาดา วีระสัมฤทธ์. (2553). ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) ที่มีผลต่อความจงรักภักดีของ ลูกค้าของบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จากัด (มหาชน). สารนิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมพร ภู่พวง. (2545). การตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าศูนย์บริการรถยนต์ฟอร์ดสาขาแจ้งวัฒนะ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประสาศนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมสันต์ กางการ. (2547). การตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าศูนย์บริการรถยนต์โตโยต้า ในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประสาศนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาการบริหารทั่วไป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

สาวิตร โกมาสถิต. (2549). การตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยแบบอาคารชุดในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาเศรษฐศาสตรการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร-วิโรฒ.

อภิญญา เสมเสริมบุญ. (2549). ปัจจัยการเลือกซื้อคอนโดมิเนียมในย่านถนนทองหล่อกรุงเทพมหานคร. ภาคนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

อรรณพ อ่วมแสงศรี. (2550). การตลาดบริการที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการของลูกค้าศูนย์บริการรถยนต์ฟอร์ด สาขาแจ้งวัฒนะ. สารนิพนธ์ปริญญาธุรกิจมหาบัณฑิต. สาขาการตลาด บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Blackwell, Roger D. ; Miniard, Paul W. ; & Engel, James F. (2006). Consumer behavior. 10th ed. Canada : Thomson South-Western.

Kotler. (1999). Marketing management; 1000 ed. New Delhi : Prentice Hall.

Kotter, Philip. (2003). Marketing management. 11th ed. New Jersey : Prentice - Hall.

Kotter , Philip and Keller, Kevin lane. (2006). Marketing management. 12th ed. New Jersey : Prentice - Hall.

______(2009). Marketing management. 13th ed. New Jersey : Prentice - Hall.

Keining Ham & Wafra T.G. (2001). Principle of satisfaction of customer serve customer with beyond their expectation to the success. Chicago Macrohill Publishing.

Leonardo Inghillery & Mecusso Lomo. (2010. Factor of marking satisfaction f customer. Association of American administration at New York.

Parasuraman zeithaml and berry (1985). “The concept of quality of service and its important that affect future research”. Marketing magazine 49 (3), 41-50.

Parasuraman zeithaml and berry (1988). SERVQUAL several measurement to rate customer's satisfaction to quality of service. Retail magazine 64, 26-43.

Schiffman, Leon G. ; & Kanuk, Leslie Lazar. (2007). Consumer behavior. 9th ed. New Jersey : Prentice-Hall.

Suresander Rachaintran & Anathareman. (2002). “The relation between the quality of services and customer's satisfaction : study specific factors”. Service business magazine 16 (4), 79-363.

Zeithaml, V. and Bitner, M. (2003). Service marketing : Integrating customer focus across the firm. McGraw-Hill New York.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-31