รูปแบบการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • ชนิสรา แสนยบุตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในประเด็น ความหมาย กิจกรรม/วิธีการ และเงื่อนไข ของการออกกำลังกาย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์ ระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2555 จากผู้ให้ข้อมูล 2 กลุ่มคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะก่อนไดอะลัยซิส 12 คน และผู้ดูแลผู้ป่วย 12 คน ที่มาติดตามการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาสารคาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  ผลการศึกษาเป็นดังนี้

           1. มีการให้ความหมายของการออกกำลังกายว่า การออกกำลังกายหมายถึงการที่ “ร่างกายมีการเคลื่อนไหว”

           2. กิจกรรม/วิธีการของการออกกำลังกายจำแนกได้ 2 ลักษณะคือ (1) กิจกรรม/วิธีการออกกำลังกายที่เกิดขึ้นอย่างเป็นแบบแผน เช่น การเดินการแกว่งแขน เตะขา การบิดตัว การรำไม้พลอง การใช้ยางยืด การปั่นจักรยาน การย่อยืดตัว เป็นต้น และ (2) กิจกรรม/วิธีการออกกำลังกายที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีแบบแผน เป็นการทำกิจกรรมในการดำเนินชีวิตประจำวัน

           3. เงื่อนไขของการออกกำลังกายพบว่ามี 2 ด้าน คือ 1) เงื่อนไขเชิงบวก ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ และการได้รับคำแนะนำ 2) เงื่อนไขเชิงลบ ได้แก่ อาการเหนื่อย/ไม่เหนื่อย เวลา และอายุ

           จากผลการวิจัยสะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการออกกำลังกายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งพบว่ามีเงื่อนไขในการออกกำลังกายทั้งเชิงบวกและเชิงลบโดยสามารถนำข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้ไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการออกแบบรูปแบบการออกกำลังกายให้แก่ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้อย่างเหมาะสม

References

กล้าเผชิญ โชคบำรุง. (2551). รูปแบบการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เกื้อเกียรติ ประดิษฐ์พรศิลป์. (2548). หลักการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. ชุษณา สวนกระต่าย และธานินทร์ อินทรกำธรชัย (บรรณาธิการ). Update in problem-based medical practices. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียง ตั้งสง่า. (2545). การดูแลรักษาภาวะไตวาย. ในวิทยา ศรีดามา. ตำราอายุรศาตร์ 1. ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยรัตน์ ชูสกุล, ดวงแก้ว ทวีสุข และศุทธินี ปิยะสุวรรณ. (2550). อิทธิพลของปัจจัยลักษณะส่วนบุคคล ความคิดเกี่ยวกับพฤติกรรมและจิตวิทยาที่มีผลต่อความมุ่งมั่นในการออกกำลังกายของประชาชนไทยวัยผู้ใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ณรงค์ศักดิ์ หนูสอน. (2553). การส่งเสริมสุขภาพในชุมชน แนวคิดและการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทวี ศิริวงศ์ และอุดม ไกรฤทธิ์ชัย. (2548). กลเม็ดเคล็ดลับ ทำอย่างไรไตไม่วาย. ม.ป.พ.

ทิพาพร ชื่นจิตร. (2544). บทบาทพยาบาลในการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลและการปฏิบัติตนของผู้ป่วยไต วายเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 19(1) : 5-11.

วัลลา ตันตโยทัย และประคอง อินทรสมบัติ. (2552). การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง. ใน สมจิตร หนุเจริญกุล (บรรณาธิการ). การพยาบาลทางอายุรศาสตร์ เล่ม 3. (หน้า 143-164). ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง.

พิชิต ภูติจันทร์. (2535). เวชศาสตร์การกีฬา. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มนู ยุวศิริกุลชัย. (2550). อยู่กับไตวาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ใกล้หมอ.

ลำพูน ฉวีรักษ์. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน : กรณีศึกษาอำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

วุฒิพงษ์ ปรมัตถากร. (2537). การออกกำลังกาย. กรุงเทพฯ : โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์

ศูนย์ข้อมูล โรงพยาบาลมหาสารคาม. (2554). ข้อมูลสถิติ. [ออนไลน์ฐ]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554, จาก https://dtc.mhkdc.com/index.php?mod=stat.

สิทธา พงศ์พิบูลย์. (2546). ภาวะไตวายเรื้อรังกับการออกกำลังกาย. วารสารมูลนิธิโรคไตแห่งประเทศไทย,17(34) : 41-43.

สืบสาย บุญวีรบุตร. (2541). จิตวิทยาการกีฬา. ชลบุรี : ชลบุรีการพิมพ์.

สุจิตรา ลิ้มอำนวยลาภ. (2544). การพยาบาลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่รักษาด้วย ซี เอ พี ดี. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2554). ข้อมูลสถิติ. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2554, จาก https://dtc.mhkdc.com/index.php?mod=stat.

อภิญญา ธรรมแสง. (2544). สัดส่วนและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อรวมน ศรียุกตศุทธ. (2554). การพยาบาลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. ใน ปราณี ทู้ไพเราะ(บรรณาธิการ). การพยาบาลอายุรศาสตร์ 2. (หน้า 199-212). กรุงเทพฯ : เอ็นพีเพรส.

เอื้อมพร สกุลแก้ว. (2551). 5 โรคร้ายคร่าชีวิตคนไทย : อันดับ 5 โรคไต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ใกล้หมอ.

Black Joyce M., Hawaks Hokanson J. (2001). การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพ เล่ม 2. (แปลโดย ยุวดี ชาติไทย). กรุงเทพฯ : ไอกรุ๊ป เพรส.

Chi-yuen Lo, MRCP et.al. (1998). Benefits of Exercise Training in Patients on Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis. American Journal of Kidney Diseases, 32(6) : 1011-1018.

David J. Leehey et.al. (2009). Aerobic exercise in obese diabetic patients with chronic kidney disease : a randomized and controlled pilot study. Cardiovascular Diabetology, 8(62). Retrieved November 18, 2010 from www.cardiab.com/content/8/1/62.

Sally S. Fitts. (1997). Physical benefits and challenge of exercise for people with chronic kidney disease. Journal of renal nutrition, 7(3) : 123-128.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-31