การมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชีของบุคลากร สังกัดมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • ลำไพ จุ่นเจิม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาระดับการมีส่วนร่วมและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงของงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง รวมทั้งแสวงหาแนวทางในการควบคุมและจัดการความเสี่ยงของงานด้านการเงินและบัญชีของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ปีการศึกษา 2555 ซึ่งเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ซึ่งเป็นผู้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานด้านงบประมาณ การเงิน และบัญชีของแต่ละส่วนงาน จำนวน 98 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์สถิติที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิติ T-test และสถิติ F-test (One-way ANOVA) และใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลที่ได้มาจากการสัมภาษณ์

          จากการศึกษาพบว่า ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติกิจกรรมบริหารความเสี่ยง ด้านการเงินและบัญชี อยู่ในระดับมาก โดยเรื่องที่กลุ่มตัวอย่างมีส่วนร่วมอยู่ใน 3 ลำดับแรก ได้แก่ คือ การกำหนดวัตถุประสงค์   รองลงมาคือ การบริหารความเสี่ยง และการระบุความเสี่ยง ตามลำดับส่วนเรื่องที่มีส่วนร่วมอยู่ระดับปานกลาง ได้แก่ การประเมินผล และการติดตามผล  และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สังกัดคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการมีระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยงด้านการเงินและบัญชี แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่สังกัดคณะวิชาแตกต่างกันมีระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารความเสี่ยง เกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05

References

คณะกรรมการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา, คณะกรรมการการพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. (2553). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

เทิดธิดา ทิพย์รัตน์ และคณะ. (2555). การประเมินการควบคุมภายใน กรณีศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

นฤมล สะอาดโฉม. (2548). การบริหารความเสี่ยง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ก.พลพิมพ์ (1996) จำกัด.

ไพรวัลย์ คุณาสถิตชัย. (2553). การบริหารความเสี่ยงด้านการเงินของมหาวิยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิฑูรย์ สมโต. (2551). การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการของธนาคารกรุงไทยในจังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Root S. Beyond. (1998). COSO Internal Control to enhance corporate governance. USA : John Willey & Sons Inc 1998

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31