การศึกษาศักยภาพในการแข่งขันของข้าวไทยและเวียดนาม และแนวทางการพัฒนาตลาดข้าวไทย

ผู้แต่ง

  • สมชาย วิรุฬหะผล มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ข้าวเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญของประเทศไทย และมีความเกี่ยวพันกับครัวเรือนไทยจำนวนมาก รวมทั้งสร้างรายได้จากการส่งออกปีละแสนกว่าล้านบาท อย่างไรก็ตาม แนวโน้มนี้กลับลดลงเรื่อยๆ เพราะความสามารถในการแข่งขันเชิงเปรียบเทียบของไทย โดยต้นทุนการผลิตเมื่อเทียบกับคู่แข่งที่สำคัญคือเวียดนามนั้นสูงกว่า ขณะที่ผลผลิตต่อไร่กลับต่ำกว่า และจากการศึกษาพบว่า สัดส่วนตลาดของไทยในตลาดโลกลดลง เมื่อเทียบกับเวียดนามที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะข้าวขาว

          งานวิจัยนี้จึงศึกษาและวิเคราะห์ขีดความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยเปรียบเทียบกับประเทศเวียดนาม โดยใช้ดัชนี Revealed Comparative Advantage (RCA) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ศักยภาพการส่งออก ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ ทั้งในด้านการผลิตและการตลาด และข้อมูลเชิงนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาข้าวของทั้งสองประเทศ ซึ่งพบว่าข้าวไทยยังมีโอกาสเพิ่มมูลค่าในการส่งออกได้ โดยการทำตลาดข้าวที่มีความได้เปรียบและมีโอกาสสูงในตลาดข้าวที่มีคุณภาพและราคาสูง ได้แก่ ตลาดข้าวนึ่ง ตลาดข้าวพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ใหม่ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว ซึ่งรัฐบาลควรปรับเปลี่ยนนโยบายรับจำนำข้าว เพราะเป็นการสนับสนุนให้ชาวนายังคงผลิตข้าวที่ไม่มีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดข้าวของไทยลดลง

References

กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). เส้นทางสู่อนาคตข้าวไทย. กรุงเทพฯ.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2555ก). โครงการศึกษาผลกระทบจากการเปิดตลาดการค้าเสรีภายใต้กรอบอาเซียน+3 และอาเซียน+6 และแนวทางการเจรจาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย. มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย, กรุงเทพฯ.

__________. (2555ข). โครงการจัดทำยุทธศาสตร์รายสินค้าเพื่อเชื่อมโยงตลาดจากภูมิภาคสู่สากล (ระยะที่ 1) ปีงบประมาณ 2554, เสนอต่อสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์.

สมพร อิศวิลานนท์. (2556). ตลาดส่งออกข้าวไทย : การก้าวเข้าสู่ภาวะวิกฤต? ในงานสัมมนาพิเศษเรื่อง ทิศทางข้าวไทยในปี 2556. วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2556 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). การเตรียมความพร้อมภาคเกษตรไทยสู่การเป็น AEC. ในการสัมมนาเรื่อง เตรียมความพร้อมภาคเกษตรไทยสู่การเป็น AEC, วันที่ 5 มีนาคม 2556.

อัทธ์ พิศาลวานิช. (2554). การเปรียบเทียบศักยภาพการผลิตและการค้าข้าวไทยและเวียดนามในตลาดอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 เดือนเมษายน - มิถุนายน 2554.

พบการณ์ อาวัชนาการ และ ปิติ ศรีแสงนาม. (2553). ความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบของสินค้าไทยและสินค้าอินโดนีเซียที่ส่งออกไปยังตลาดอาเซียน. ในการประชุมวิชาการระดับชาติของนักเศรษฐศาสตร์ ครั้งที่ 6 (The sixth National Conference of Economic) วันที่ 29 ตุลาคม 2553 ณ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง กรุงเทพฯ.

Batra, A. and Zeba, K. (2005). Revealed Comparative Advantage : An Analysis for India and China. Indian Council for Research on International Economic Relations Working Paper No. 168.

Brunner, H.P. and Massimiliano, C. (2006). The Dynamics of Manufacturing Competitiveness in South Asia: An Analysis through Export Data. Journal of Asian Economics, 17(4) : 557-82.

Ferto, I. and Hubbard, I.J. (2003). Revealed Comparative Advantage and Competitiveness in Hungarian Agri-Food Sectors. World Economy, 26(2) : 247-59.

Jeburi, C.D. et al. (1988). Market Structure and LDC's Manufactured Export Performance. World Development, 12 : 1511-20.

Krugman, P. et al. (2012). International Economics : Theory and Policy (Ninth Edition). Prentice Hall, USA.

Samuelson, P.A. and Norhaus, W. (1998). Economics : An Introductory Analysis (International Edition). McGraw-Hill Education, USA.

Yeat, A.J. (1997). Does Mercosur's Trade Performance Raise Concerns about the Effects of Regional Trade Arrangements. International Economics Department, The World Bank.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31