การจัดการกับความเครียดด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด

ผู้แต่ง

  • หทัยชนก หมากผิน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรมต่างๆ ในสังคมไทย ซึ่งมีผลกระทบต่อสภาพความเป็นอยู่และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผลกระทบต่อประชาชนในสังคมเมืองใหญ่ ซึ่งนับวันจะมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นในอนาคต สิ่งที่เห็นชัดเจนในสังคมปัจจุบันคือสภาพการดำเนินชีวิตของประชาชนเป็นไปอย่างเร่งรีบ มีการแข่งขันและต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของตนเอง สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดความเครียดและความกดดันทางด้านจิตใจ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อทั้งสุขภาพจิตและสุขภาพกาย โดยผลกระทบที่เกิดขึ้นทางสุขภาพกายส่วนใหญ่นั้นมักจะเป็นการบาดเจ็บทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเช่น อาการปวดกล้ามเนื้อคอ บ่า สะบัก และหลังบางคนอาจมีอาการปวดร้าวขึ้นศีรษะ ขมับ กระบอกตา เวียนศีรษะ หรือปวดร้าวไปที่หัวไหล่ ลงแขน หรือบางรายอาจมีอาการชานิ้วมือร่วมด้วย เนื่องจากในขณะที่เกิดความเครียดขึ้นนั้นร่างกายจะมีการตอบสนองโดยการสั่งให้กล้ามเนื้อเกร็งมากขึ้น การจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นนั้นสามารถทำได้หลายวิธี โดยในทางกายภาพบำบัดมักจะใช้ Relaxation exercise ในการลดหรือบรรเทาอาการต่างๆ ข้างต้นที่เกิดขึ้นจากความเครียด เพราะในกระบวนการของ Relaxation exercise จะไปลดการทำงานของ Sympathetic nervous system และจะไปเพิ่มการทำงานของ Parasympathetic nervous system ทำให้ร่างกายเกิดความผ่อนคลายได้

References

มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมชย์ สุคนนิชย์. (2545) จิตเวชศาสตร์รามาธิบดี. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สวิชาญการพิมพ์.

สนาม บินชัย. (2543). ความเครียดของนักเรียนโรงเรียนสตรีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์. ในกรม สุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, การประชุมวิชาการสุขภาพจิต ปี 2543 สุขภาพจิตดีด้วยอีคิว วันที่ 6-8 กันยายน 2543. กรุงเทพฯ : วงศ์กมล โปรดักส์ชั่น.

สมภพ เรืองตระกูล. (2545). ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวรรณี จรุงจิตอารี. (2530). กายภาพบำบัดในโรคทรวงอก. กรุงเทพฯ : สมานมิตรการพิมพ์.

Darlene, H., and Randolph, M.K. (2006). Management of Common MusculoskeletalDisorders : Physical Therapy Principles and Methods. 4th ed. United States of America : Lippincott Williams and Wilkins.

Frisch, N.C. , and Frisch, L.E. (Eds.) (2002). The Client Experiencing Anxiety in Psychaitric Mental Health Nursing. 2nd ed. United States of America :Delmar Thomson Learning.

Johson BS. (1993). Psychiatric Mental Health Nursing. 3rd ed. Pennsylvania : J.B. Lippincott.

Judith, P.B., Heather, R., Jane, L., and Kate, K. (1998). Rehabilitation of Movement:Theoretical basis of clinical practice. Great Britain : The Bath Press, Avon.

Relaxation and Relaxation Exercises. [Online]. Retrieved 8,2014, From https://www.traumacenter.org.

Relaxation Exercises. [Online]. Retrieved 8,2014, From https://medicalcenter.osu.edu.

Weinstein, M. S. and Conry, R. F. (1985). Stress. Canada: International Self-Counsel Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-03-31