แนวทางการพัฒนาระบบบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • นภา นาคแย้ม มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 2) คุณสมบัติของผู้ทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 3) ระดับการดำเนินการด้านการจัดทำบัญชี ด้านการเงิน และด้านการควบคุมภายในทางการเงินและการบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 4) ระดับความคิดเห็นของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนต่อหน่วยงานราชการที่ส่งเสริมให้ความรู้ด้านการจัดทำบัญชีของวิสาหกิจชุมชน 5) ปัญหาด้านการจัดทำบัญชี ด้านการเงิน และแนวทางพัฒนาระบบจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 40 กลุ่ม (คิดเป็นร้อยละ 91) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ข้อค้นพบจากการวิจัยพบว่า 1) วิสาหกิจชุมชน กลุ่มแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหาร ส่วนใหญ่มีจำนวนสมาชิก 1-10 คน มีมูลค่าหุ้นน้อยกว่า 50,000 บาท ลักษณะการซื้อขายสินค้าและวัตถุดิบเป็นเงินสด มีรูปแบบการจัดทำบัญชีด้วยมือ และมีจดบันทึกบัญชีเงินสดรับ-เงินสดจ่ายแบบง่าย 2) ผู้ทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 40 ปีขึ้นไป มีประสบการณ์ทำบัญชี 1-5 ปี ซึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน 3) จากการประเมินระดับการดำเนินการของการจัดทำบัญชี การเงิน และการควบคุมภายในด้านบัญชีและการเงินของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พบว่า (1) ด้านการจัดบัญชี อยู่ในระดับดำเนินการส่วนใหญ่ แต่ไม่ครบถ้วน (2) ด้านการเงิน อยู่ในระดับดำเนินการส่วนใหญ่ แต่ไม่ครบถ้วน (3) ด้านการควบคุมภายในด้านบัญชีและการเงิน อยู่ในระดับดำเนินการบ้าง ไม่ดำเนินการบ้าง 4) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมของหน่วยงานราชการต่อการให้ความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อยู่ในระดับมาก 5) ปัญหาด้านการจัดทำบัญชีและด้านการเงิน พบว่า ผู้ทำบัญชีของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนบางกลุ่ม ยังขาดความเข้าใจ และแรงจูงใจในการทำบัญชี และต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนเงินทุนเพื่อใช้ปรับปรุงพื้นที่การผลิต เพื่อเตรียมความพร้อมขอเครื่องหมายอนุญาตผลิตภัณฑ์อาหาร (อ.ย.) เป็นต้น

References

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์. มาตรฐานการบัญชีวิสาหกิจชุมชน. (2553). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2556, จาก www.cad.go.th.

นิตยา งามแดน (2551). ระบบบัญชีอย่างง่ายสำหรับวิสาหกิจชุมชนกรณีศึกษา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.

พุทธมน สุวรรณอาสน์ (2554). การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพทางการบัญชีและการเงินอย่างมีส่วนร่วม เพื่อการพัฒนาธุรกิจชุมชน กลุ่มตัดเย็บบ้านดอกแดง ตำบลสง่าบ้าน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ ทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

มานิตย์ มานุษยานนท์. (2552). การพัฒนาระบบบัญชีและการเงินของกลุ่มผลิต ตำบลท่าศาลา อำเภอเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วราพร กลิ่นประสาท (2554). การพัฒนาระบบบัญชีของวิสาหกิจชุมชน กลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้ บ้านวังเลียบ - ทุ่งหนอง ตำบล บุญนาคพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. คณะบัญชี วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

วัชรี ฮั่นวิวัฒน์ (2554). ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. แนวทางยุทธศาสตร์สำหรับแผนพัฒนาจังหวัดนครปฐม พ.ศ. 2557 - 2560. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2556, จาก ftp://123.242.156.83/AppServ/www/Inpt/datadownload/pack%20direction.pdf.

อนุกูล โชครุ่งเจริญถาวร (2553). ประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตเทศบาลตำบลสามง่าม อำภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม. ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

อรกัญญา โฆษิตานนท์ (2553). การพัฒนาระบบบัญชีกลุ่มชุมชนทอผ้าเพื่อการบริหารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม. มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

อาจรี วิเศษศรี (2555). การจัดการความรู้ (KM) เรื่อง การจัดทำบัญชีวิสาหกิจชุมชน โครงการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน. สำนักงานเกษตรอำเภอแก้งสนามนาง จังหวัดนครราชสีมา กรมส่งเสริมการเกษตร.

อุไรวรรณ ทองบัวศิริไล (2554). รายงานข้อมูลวิสาหกิจชุมชนนครปฐม. กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกร. สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-30