สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • สำอางค์ ตันวิเชียร มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and development) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสมุทรสาคร กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสมุทรสาครที่มีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี จำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถาม 2 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามความเห็นด้านสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิจังหวัดสมุทรสาคร วิเคราะห์หาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอบบาค มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลักของสมรรถนะ หมุนแกนตัวประกอบในแบบออโธกอนอล ด้วยวิธีแวริมิกซ์

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดสมุทรสาคร มี 5 ด้าน คือ 1) ด้านการให้ความรู้กับผู้ป่วยและญาติ และการพัฒนาความรู้ของทีมการพยาบาล 2) ด้านการประเมิน วินิจฉัยและวางแผน การพยาบาลเบื้องต้น 3) ด้านการใช้เทคโนโลยี งานวิจัย นวัตกรรมเพื่อการสื่อสารอย่างมีจริยธรรม 4) ด้านการให้คำแนะนำ ปฏิบัติการพยาบาลและเตรียมอุปกรณ์ช่วยเหลือในภาวะวิกฤต และ 5) ด้านการพยาบาลหลังการเปิดหลอดเลือดหัวใจ โดยองค์ประกอบเหล่านี้สามารถอธิบายความแปรปรวนรวมได้ร้อยละ 70.41 จากผลการศึกษาสามารถนำไปประยุกต์ในการส่งเสริมความสามารถของพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การจัดการด้านการปฏิบัติการพยาบาล ด้านการบริหารการพยาบาล และด้านการวิจัยทางการพยาบาล

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลหลายตัวแปร. กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เกรียงไกร เฮงรัศมี และกนกพร แจ่มสมบูรณ์. (บรรณาธิการ). (2555). มาตรฐานการรักษาผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพมหานคร : สุขขุมวิทการพิมพ์.

บุญใจ ศรีสถิตย์รากูร. (2553). ระเบียบวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ยุแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

แผนกสถิติ. (2555). ข้อมูลโรคหัวใจและหลอดเลือด. สมุทรสาคร : โรงพยาบาลบ้านแพ้ว 1 องค์กรมหาชน.

แผนกสถิติ. (2555). ข้อมูลโรคหัวใจและหลอดเลือด. สมุทรสาคร : โรงพยาบาลมหาชัย 1 (เอกชน).

แผนกสถิติ. (2555). ข้อมูลโรคหัวใจและหลอดเลือด. สมุทรสาคร : โรงพยาบาลสมุทรสาคร.

เพ็ญจันทร์ แสนประสาน, ดวงกมล วัตราดุลย์, และบุปผาวัลย์ ศรีล้ำ. (บรรณาธิการ). (2556). การพยาบาลเพื่อความปลอดภัย : สมรรถนะพยาบาล CVT. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : สุขุมวิทการพิมพ์.

รวมพร นาคะพงศ์ และศิริกัลยาณี มีฤทธิ์. (2549). สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2556, จาก https://www.thaiheartclinic.com/forum8.5/forum_posts.asp?TID=85.

ศูนย์ตติยภูมิเฉพาะทาง ศูนย์โรคหัวใจ. (2548). สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด. นนทบุรี : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2548). มาตรฐานบริการพยาบาลศูนย์ตติยภูมิเฉพาะทาง (Excellent center) ศูนย์หัวใจ. กรุงเทพมหานคร : สามเจริญพาณิชย์.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. (2554). กรอบยุทธศาสตร์งานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคระดับชาติปี 2554-2558. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : สามเจริยพาณิชย์.

อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. (2556). HA Update 2013. สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : ดีวัน.

American Organization of Nurse Executives (2005). AONE nurse executive competencies. Nursing Leadership, 3(1) : 15-20.

Comrey, A.L., & Lee, H. B. (1992). A first course in factor analysis. Hillsdale. NJ: Erlbaum.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika. 16 (3) : 297-334.

Davis, L. L. (1992). Instrument review : Getting the most from your panel of experts. Applied Nursing Research, (5) : 194 -197.

UnityNurse College of Nursing Christian University of Thailand, (2012). สมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วย MI. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2556, จาก Unitynurse. Wordpress. Com/2012/08/.../.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-30