ปัจจัยทำนายความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • รภัทภร เพชรสุข มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุุสิต

บทคัดย่อ

          การรวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอำนาจการทำนายระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล เจตคติที่มีต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 513 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ โดยใช้กรอบทฤษฏีพฤติกรรมตามแผนของ Ajzen (2002) เครื่องมือวิจัยในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยเคยสร้างขึ้นในงานวิจัยเรื่อง“รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักเรียนผู้ใช้บริการหน่วยงานอนามัยโรงเรียน ในเขตกรุงเทพมหานคร” นำมาปรับปรุงด้านภาษาให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง และนำไป try out กับนักศึกษา จำนวน 30 คน หลังจากนั้นนำไปหาความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยง .902 - .903 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร และอำนาจการทำนาย โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 19.87 ปี ส่วนใหญ่บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มานานกว่า 1 ปี คิดเป็นร้อยละ 31.2 รองลงมาคือบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มานานกว่า 3 - 6 เดือน คิดเป็นร้อยละ 27.8 และยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างเริ่มบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ครั้งแรกอายุน้อยที่สุด คือ อายุ 3 ปี และอายุมากที่สุดคืออายุ 20 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงเป็นอย่างยิ่ง ส่วนใหญ่เพื่อนสนิทของนักศึกษาบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์คิดเป็นร้อยละ 89.2 การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าปัจจัยด้านเจตคติที่มีต่อการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ .592, .618, .145 ตามลำดับ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการวิเคราะห์อำนาจการทำนาย พบว่าปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ เจตคติที่มีผลต่อการบริโภคเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม สามารถร่วมกันทำนายความตั้งใจที่จะบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในอีก 1 เดือนข้างหน้า ได้ร้อยละ 47.5 (R2 = 0.475, p< 0.05) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จักรพันธ์ กิตตินรรัตน์ และคณะ. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร. รายงานวิจัย. ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

ญาณินี น้อยพันธ์ พิชญา ขจรเวหาสน์ และมณฑน์รส จิตรังษี. (2545). พฤติกรรมการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ของนิสิตหญิงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2547). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นไทยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (การพยาบาล) มหาวิทยาลัยมหิดล.

ผกาวดี พรหมนุช. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจที่จะสูบบุหรี่ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต,บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

พินทุอร วิรุฬห์ตั้งตระกูล. (2550). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตัดสินใจบริโภคเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์เศรษฐศาสตร์การจัดการ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทรพร พลพนาธรรม. (2552). การกระจายตัวของจุดจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยรอบมหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

รุจา ภู่ไพบูลย์ และคณะ. (2549). การพัฒนาโปรแกรมการวางแผนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและลดพฤติกรรมเสี่ยงในวัยรุ่นระยะที่1 การพัฒนาเครื่องมือและสำรวจพฤติกรรม. แผนงานพัฒนาสถาบันการศึกษาพยาบาลเป็นผู้นำการสร้างเสริมสุขภาพ.

ลักษณา อินทร์กลับ และคณะ. (2551). พฤติกรรมการดื่มสุราและการรับรู้ผลกระทบจากการดื่มสุราของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพตะวันตกและปริมณฑล. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

สายใจ ชื่นคำ. (2542). พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของวัยรุ่นในสังคมไทย.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2551). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2539, 2544, 2549, และการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากร พ.ศ.2547, 2550. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานสถิติแห่งชาติ

สุทธิลักษณ์ หนูรอด. (2549). เยาวชนกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ : ประเมินการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในระดับอันตรายต่อสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาสารคาม. 25(3) : 77-85.

สุรีย์ สถาพรนานนท์. (2529). ปัจจัยทางสังคมและจิตวิทยาที่ทำนายความตั้งใจในการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เจือปนของนักเรียนชายระดับมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร. มหาวทยาลัยมหิดล.

หนึ่งฤทัย มีสะอาด. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อการดื่มเบียร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์), มหาวิทยาลัยมหิดล.

องค์การอนามัยโลก และกลุ่มอนามัยเด็กวัยเรียน และเยาวชน สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2551). การประเมินผลโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ พ.ศ 2550. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์นิวธรรมดาการพิมพ์ ประเทศไทย จำกัด.

Ajzen, I. (1985). From intentions to actions : A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J.Berkowitz (Eds.). Action-control : From cognition to behavior. Heidelberg : Springer.

Ajzen, I. (1988). Attitude, Personality and Behavior. Chicago : Dorsey Press.

Ajzen, I. (1991). The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Process.

Ajzen, I. (2002). Perceived behavioral control, self-efficacy, locus of control, and the theory of planned behavior. Journal of Applied Social Psychology, (32) : 665-683.

Ajzen, I. (2006). Constructiong a TpB Questionnaire: Conceptual and MethodologicalConsiderations. Retrieved September 1, 2009, from https://people.umass.edu/ajzen/pdf/tpb.Measurement.pdf.

Ajzen, I. (2008). Consumer attitudes and behavior. In C. P. Haugtvedt, P. M. Herr & F. R. Cardes (Eds.), Handbook of Consumer Psychology. New York : Lawrence Erlbaum Associates.

Ajzen, I., Czasch, C., & Flood, M. G. (2009). From intentions to behavior : Implementation intention, commitment, and conscientiousness. Journal of Applied Social Psychology, (39) : 1356-1372.

Ajzen, I.& Fishbein, M. (1980). Understanding Attitude and Predicting Social. Englewood Cliffs. NJ : Prentice-Hall. Inc.

Ajzen, I.& Fishbein, M. (1969). The prediction of behavioral intentions in a choice situation. Journal of Experimental Social Psychology. (5) : 400-416.

Ajzen, I., & Gilbert Cote, N. (2008). Attitudes and the prediction of behavior. In W. D. Crano & R. Prislin (Eds.), Attitudes and attitude change. New York : Psychology Press.

Marcoux B. and Slope J.T. (1997). Application of the theory of planned behavior to adolescent use and misuse of alcohol. Health Education Research. (12) : 323-351.

World Health Organization. (1988). Toward Health Public Policies on Alcohol and Other Drugs. Convenes Statement proposed by WHO Expert Working Group. Sudney/Cambera,24-31 March. WHO. Geneva. [Online]. Retrieved February 1, 2010, from https://www.thailand.or.th.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-30