ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีชีวการแพทย์ในการวินิจฉัยโรควัณโรค

ผู้แต่ง

  • ทวิวรรณ สารีบท มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          วัณโรคยังคงเป็นปัญหาสำคัญด้านสาธารณสุขของโลก โดยทั่วโลกมีผู้ป่วยรายใหม่ด้วยโรคนี้เป็นล้านคนในแต่ละปี รายงานล่าสุดขององค์การอนามัยโลกคาดว่ามีอุบัติการณ์ของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ประมาณ 8.6 ล้านคนใน พ.ศ. 2555 และอัตราการเสียชีวิตจากวัณโรคประมาณ 1.3 ล้านคน (โดยแบ่งเป็นผู้ที่ไม่ได้ติดเชื้อ HIV ประมาณ 1 ล้านคนและผู้ติดเชื้อ HIV อีกประมาณ 3 แสนคน) วัณโรคเป็นโรคติดเชื้อที่มีสาเหตุส่วนใหญ่มาจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium tuberculosis ส่วนมากมักก่อโรคที่ปอด (วัณโรคปอด) แต่ก็สามารถก่อโรคที่อวัยวะอื่นๆในร่างกายได้ (วัณโรคนอกปอด) โรคนี้เป็นโรคที่ติดต่อทางเดินหายใจ ผู้ป่วยวัณโรคสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้โดยผ่านการไอหรือจาม โดยทั่วไปแล้วในคนปกติที่ได้รับเชื้อ M. tuberculosis จะมีสัดส่วนน้อยมากที่จะป่วยเป็นโรควัณโรค แต่สัดส่วนการป่วยเป็นโรควัณโรคนี้จะเพิ่มมากขึ้นในผู้ติดเชื้อ HIV การวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคมีความสำคัญมาก เพราะไม่เพียงแต่จะช่วยรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้หายจากโรค แต่ยังมีส่วนช่วยในการควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อวัณโรคไปสู่บุคคลอื่นได้อีกทางหนึ่ง การวินิจฉัยโรควัณโรคในปัจจุบัน ยกตัวอย่างเช่น การถ่ายภาพรังสีทรวงอก, การตรวจหาเชื้อวัณโรคจากเสมหะ, การเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะและการทดสอบความไวของเชื้อวัณโรคต่อยา การทดสอบเหล่านี้ต่างก็มีข้อจำกัดในการทดสอบ ภาพถ่ายรังสีทรวงอกเพียงอย่างเดียวยังไม่มีความแม่นยำมากพอที่จะใช้ในการวินิจฉัยการติดเชื้อวัณโรคได้ การตรวจหาเชื้อวัณโรคจากเสมหะยังมีความไวต่ำในจากตรวจพบแบคทีเรียในเสมหะ การเพาะเชื้อวัณโรคจากเสมหะและการทดสอบความไวของเชื้อวัณโรคต่อยาใช้เวลานานกว่าจะได้ผลการทดสอบ จึงยังคงมีการคิดค้นพัฒนาวิทยาการด้านเทคโนยีชีวการแพทย์ใหม่ๆ เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรควัณโรคออกมาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างเช่น Interferon-gamma release assay (IGRA), Polymerase chain reaction (PCR), Loop-mediated isothermal amplification (LAMP) และเทคนิคอื่นๆ อีกมากมาย โดยมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาการตรวจวินิจฉัยที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ซึ่งถือเป็นประตูสู่ความสำเร็จในการควบคุมโรควัณโรค

References

กำพล สุวรรณพิมลกุล. (2557). “วัณโรค” สำคัญกว่าที่คุณคิด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2557 จาก https://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9570000035337.

จิรายุทธ์ วังตา ธานินทร์ ภู่พัฒน์ และ เลิศลักขณา ภู่พัฒน์. (2555). ประสิทธิภาพและความไวของวิธี Loop Mediated Isothermal Amplification (LAMP) สำหรับการตรวจระบุเพศจากตัวอย่างเลือดมนุษย์. วารสารนิติเวชศาสตร์ (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 234-243.

วีระเดช สุวรรณลักษณ์. (2557). วัณโรค (Tuberculosis). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2557 จาก https://haamor.com/th/วัณโรค/.

สํานักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2551). แนวทางการดําเนินงานควบคุมวัณโรคแห่งชาติ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อมรรัตน์ ร่มพฤกษ์. (2554). เทคนิค Loop-mediated Isothermal Amplification (LAMP).วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต (กรกฎาคม-กันยายน) : 201-206.

Global tuberculosis report. (2013). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2557 จากhttps://www.who.int/tb/publications/global_report/en/.

ShuQi Wang, Fatih Inci, Gennaro De Libero, Amit Singhal, Utkan Demirci. (2013).Point-of-care assays for tuberculosis: Role of nanotechnology/microfluics.Biotechnology Advances, 31: 438-449.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-06-30