การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา : การประยุกต์ในการวิจัยทางการพยาบาล
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา เป็นระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้ศึกษาวิถีการดำเนินชีวิตในแต่ละวันของกลุ่มคนที่ต้องการศึกษา เพื่อเป้าหมายให้เกิดความเข้าใจในพฤติกรรมของกลุ่มคนตามการรับรู้ของกลุ่มคนเองและมีความเข้าใจในแบบแผน พฤติกรรมทางสังคมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่ยึดถือจนกลายเป็นวิถีการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มนั้น พยาบาลสามารถนำระเบียบวิธีวิจัยนี้มาใช้ในการศึกษาวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของผู้ใช้บริการที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาพและการดูแล ดังนั้นนักวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographer) จึงทำการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบของวัฒนธรรมและประสบการณ์ของคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่งในวัฒนธรรมอย่างเป็นองค์รวม การทำวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนาประกอบด้วย 13 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเลือกโครงการ 2) การเลือกสถานการณ์ทางสังคม 3) การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม 4) การทำบันทึกเบื้องต้น 5) การบันทึกรายละเอียดสิ่งที่สังเกต 6) การวิเคราะห์ขอบเขตในเบื้องต้น 7) การสังเกตเฉพาะเรื่อง 8) การวิเคราะห์เพื่อจัดกลุ่ม/จัดหมวดหมู่ 9) การเลือกประเด็นที่สนใจเพื่อการสังเกตเฉพาะ 10) การจัดองค์ประกอบของสถานการณ์หรือสิ่งที่สังเกตได้ 11) การกำหนดแก่นของวัฒนธรรม 12) การทำบัญชีรายการของวัฒนธรรมที่ได้มาทั้งหมด และ 13) การเขียนรายงานการวิจัย
References
ประณีต ส่งวัฒนา วิภาวี คงอินทร์ และ เพลินพิศ ฐานิวัฒนานนท์. (2543). ความเหมือนและความแตกต่างในการวิจัยเชิงคุณภาพทางการพยาบาล : ปรากฏการณ์วิทยา, ทฤษฎีพื้นฐาน และชาติพันธุ์วรรณา. วารสารสภาการพยาบาล. 15(2) : 12-24.
สุภางค์ จันทวานิช. (2547). การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภางค์ จันทวานิช. (2550). การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2542). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
Brandriet, L.M. (1994). Gerontological Nursing : Application of Ethnography and Grounded Theory. Journal of Gerontological Nursing. 20:33-40.
Brooks, I. (1999). For Whom the Bell Tolls: An Ethnography of a Night Nurse Sub-Culture. Studies in cultures, organizations, and societies. 5(2) : 347:369.
Burns, N. & Grove, S. (1993). The practical of nursing research : conduct, critique, and utilization. Philadelphia : WB. Saunders Company.
Cameron, C. (1990). The Ethnographic Approach: Characteristics and Uses in Gerontological Nursing. Journal of Gerontological Nursing, 16: 5-7.
Changmai, S. (1999). An ethnography of Ban Bangkae : a home for the aged in Bangkok, Thailand. A thesis submitted for the fulfillment of Ph.D. Southern Cross University, NSW. Australia.
Changmai, S. (2001). An Ethnography of Ban Bangkae : A Home for the Aged in Bangkok, Thailand. Christian University Journal, 7(1): 59-70.
Crowther, J. (1995). Oxford advanced learner's dictionary of current english. Oxford : University Press.
Ensign, J. & Bell, M. (2004). Illness Experiences of Homeless Youth. Qualitative health research, 14(9):1239-1254.
Hardy, M. (1994). Qualitative Research and Nursing. In Hardy and Munhall (Eds.). Nursing research : theory and practice. London : Chapman and Hall.
Hubbert, A.O. (2005). An ethnonursing research study : Adult residing in a midwestern Christian philosophy urban homeless shelter. Journal of Transcultural Nursing, 16(3) : 236-244.
Lazarus, R. & Folkman, S. (1984). Stress, appraisal, and Coping. New York, Spring Publishing Company.
Leininger, M.M. (1985). Qualitative research methods in nursing. Philadelphia" WB.Saunders Company.
Nikkonen, M. & Janhonen, S. (1995). Ethnography and Ethnonursing in Nursing Research. Vard I Norden. 15 : 21-25.
Polit, D.E. and Beck, C.T. (2008). Developing an Approach for a Qualitative Study.Nursing research : generating and assessing evidence for nursing practice. Philadelphia : Wolters Kluwer, Lippincott Williams & Wilkins.
Spradley, J.P. (1979). The ethnographic interview. Fortworth : Harcourt Brace Javanovich College Publishers.
Spradley, J.P. (1980). Participation observation. Fortworth : Harcourt Brace Javanovich College Publishers.
Spradley, J.P. (1980). Participation observation. Fortworth : Harcourt Brace Javanovich College Publishers.
Streubert, H.J.& Carpenter, D.R. (2011). Qualitative research in nursing : advancing the humanistic imperative, 5th ed. Philadelphia : Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins.