ปัจจัยของภาระของการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้าย ที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแล จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ภาศินี สุขสถาพรเลิศ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยของภาระของการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะสุดท้ายที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลจังหวัดนครปฐม ด้วยตัวแปรภาระการดูแล ประกอบไปด้วย ความตึงเครียดส่วนบุคคล ความขัดแย้งในตนเอง ความรู้สึกผิด และเจตคติที่ไม่แน่นอน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชนทั้งหมด 50 ครอบครัว เป็นการตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงทุกรายที่เป็นมะเร็งในระยะสุดท้าย ซึ่งคัดเลือก โดยวิธีสอบถามผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายในชุมชนที่มีผู้ดูแล  จากนั้นนำเครื่องมือไปสัมภาษณ์ผู้ดูแลที่บ้าน ซึ่งประกอบไปด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินภาระการดูแลผู้ป่วย และเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต (WHO-BREF-THAI) จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation) และใช้การทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป

          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตโดยรวมลดลง พบว่าผู้ดูแลรู้สึกว่าผู้ป่วยร้องขอความช่วยเหลือมากกว่าความต้องการจริงและเมื่อผู้ดูแลรู้สึกว่าสุขภาพของท่านไม่ค่อยดีเนื่องมาจากการดูแลผู้ป่วย และท่านรู้สึกว่าท่านจะไม่สามารถอดทนดูแลผู้ป่วยได้ในระดับปานกลาง ผู้ดูแลมีความตรึงเครียด มีรายได้ที่ไม่เพียงพอ มีความยากลำบากในการพาผู้ป่วยไปโรงพยาบาล ต้องการให้สมาชิกในครอบครัวมามีส่วนร่วมในครอบครัว จึงต้องมีการพัฒนาการทำวิจัยการมีส่วนร่วมของครอบครัวเพื่อเพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย

References

กองสถิติ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). สถิติสาธารณสุข. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์.

ยุพาพิน ศิริโพธิ์งาม. (2539). “ญาติผู้ดูแลที่บ้าน : แนวคิดและปัญหาในการวิจัย”. รามาธิบดีพยาบาลวารสาร. 2(1), 84-93.

โรงพยาบาลนครปฐม. (2555). เวชระเบียนผู้ป่วยนอก. จังหวัดนครปฐม.

สำนักสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม. (2554). เวชระเบียนและสถิติ. นครปฐม.

สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล. (2545). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. โครงการจัดทำโปรแกรมสำเร็จรูปในการสำรวจสุขภาพจิตในพื้นที่ปี พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ.

Montgomery, R. I. V., Gonyea, J. G., & Hooyman, N. P. (1985). “Ceregiving and the experience of subjective and objective burden”. Family Relation. (34) : 19-26.

Montgomery, R. J. V., Stull, D. E., & Borgatta, E. F. (1985). “Measurement and the analysis of burder.” Research on Agin. 7(1) : 137-152.

Reinhard, S. C. (1994). “Living with mental illness: Effects of professional support and personal control on caregiver burden”. Research in Nursing & Health. (17) : 79-88.

Thompson, E. H., & Doll, W. (1982). “The burden of families coping with the mentally ill : An invisible cries”. Family Relations. (31) : 379-388.

World Health Organization. (2004). Definition in adolescent pregnancy. Department of reproductive health and research world health organization. Geneva : 5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-30