การศึกษาการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อการจัดการคุณภาพน้ำ กรณีศึกษา : สามชุมชนในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ธนันรดา ชอบสำราญ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการคุณภาพน้ำและเปรียบเทียบผลจากกิจกรรมของชุมชนที่มีต่อคุณภาพน้ำทางด้านกายภาพ เคมีและชีวภาพ 3 ชุมชนในพื้นที่จังหวัดนครปฐม โดยเก็บตัวอย่างน้ำจำนวน 6 จุด ก่อนการดำเนินกิจกรรมและหลังการดำเนินกิจกรรมของชุมชน ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนสัมปทวนมีผลคะแนนคุณภาพน้ำที่เปลี่ยนแปลงดีที่สุด รองลงมาคือ ชุมชนหมู่บ้านพฤกษา 4 และชุมชนบ้านสหกรณ์ มีค่าเท่ากับ 8.0, 6.8 และ 2.8 ผลการศึกษายังพบว่าทั้ง 3 ชุมชนมีค่าคุณภาพน้ำในหลายๆ ด้านดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นที่ตั้งของชุมชน และมีกิจกรรมทางการเกษตร

          การมีส่วนร่วมการดำเนินกิจกรรมภายในชุมชนเพื่อการจัดการคุณภาพน้ำ พบว่าสามารถทำให้ผลคุณภาพน้ำนั้นดีขึ้นได้ทั้ง 3 ชุมชน แม้ว่าคุณภาพน้ำนั้นจะดีขึ้นเพียงเล็กน้อย อย่างไรก็ตามส่งผลให้เกิดผลสำเร็จในเชิงความยั่งยืนและการต่อยอดภายในชุมชนอีกด้วย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2554). ค่าคะแนนรวมของคุณภาพน้ำ 5 พารามิเตอร์ (การคำนวณค่า WQI แบบใหม่). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2556, จาก https://wqm.pcd.go.th/water/index.php.

วรัตน์ ญาณทัศนกิจ. (2546). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์แม่น้ำ : กรณีศึกษา แม่น้ำท่าจีน ในเขตอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันราชภัฏธนบุรี.

มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์ และ มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศม์. (2551). คู่มือวิเคราะห์คุณภาพน้ำ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-30