เข้าใจและเข้าถึงผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์

ผู้แต่ง

  • ลักษณา อินทร์กลับ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) เป็นภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุที่พบได้บ่อยที่สุดถึงร้อยละ 60-80 ของภาวะสมองเสื่อมทั้งหมด โรคนี้ถูกค้นพบโดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อ อาลอยส์ อัลไซเมอร์ (Alois Alzheimer) ใน พ.ศ. 2499 จึงได้ตั้งชื่อโรคนี้ตามชื่อของท่าน

          อาการสมองเสื่อมในโรคอัลไซเมอร์จะเป็นมากขึ้นและใช้เวลาการดำเนินโรคหลายปี อาการในระยะแรก จะมีการสูญเสียความจำ ซึ่งแพทย์จะสามารถวินิจฉัยแยกความแตกต่างจากภาวะความจำเสื่อมตามธรรมชาติของผู้สูงอายุได้ โดยการประเมินสภาพร่างกาย ตรวจทางระบบประสาทวิทยา  ทำแบบทดสอบด้านจิตใจ ตรวจเลือด ฉายภาพรังสีของสมองและตรวจเนื้อเยื่อสมองทางจุลทรรศน์ เมื่อการดำเนินโรคไประยะหนึ่ง  ผู้ป่วยจะมีอารมณ์และบุคลิกภาพเปลี่ยนไป เช่น สับสัน หงุดหงิด ก้าวร้าว  ซึมเศร้า อารมณ์แปรปรวน สูญเสียความสามารถในการสื่อภาษา สูญเสียการรับความรู้สึก เพิกเฉยต่อสิ่งรอบข้าง อาการในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยจะสูญเสียการทำงานของอวัยวะส่วนต่างๆ ในร่างกายและถึงกับสูญเสียชีวิตในที่สุด ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ หลังจากสังเกตพบอาการแสดงของโรคอัลไซเมอร์ โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีชีวิตอยู่ได้ 4-20 ปี (เฉลี่ย 8 ปี) ขึ้นกับอายุ และสุขภาพของผู้ป่วย

          สาเหตุของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ มี 3 สมมติฐานในการอธิบาย สมมติฐานแรกเชื่อว่าเกิดจากสารสื่อประสาทแอซิทิลโคลีน (Acetylcholine) ลดลง  สมมติฐานที่สองเชื่อว่ามีการสะสมของ  แอมีลอยด์ บีตา (Amyloid beta) ที่จับตัวกันเป็น แอมีลอย์ดพลาก (Amyloid plaques)  ระหว่างเซลล์ประสาทขัดขวางการส่งสัญญาณประสาทระหว่างเซลล์ประสาท  สมมติฐานที่สาม เชื่อว่า  มีความผิดปกติของโปรทีนเทา (Tau protein) ทำให้เกิดนิวโรไฟบริลาลีแทงเกิล (Neurofibrillary tangles)สะสมในตัวเซลล์ประสาท ทำลาย ระบบการขนส่งภายในเซลล์ ทำให้เซลล์ประสาทตาย               

          ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์  มีแต่การให้ยาเพื่อชะลออาการเท่านั้น ความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นตามอายุ ส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นโรคอัลไซเมอร์เมื่ออายุมากว่า 65 ปีและจะพบอัตราการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปี จะพบอัตราการเป็นโรคอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 50  สมาคมโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer Association) ได้กำหนดเกณฑ์การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ โดยต้องได้รับการประเมินด้านร่างกายและการประเมินทางจิตประสาท และสิ่งหนึ่งที่จะยืนยันการตรวจวินิจฉัยได้แม่นยำ คือการตัดชิ้นเนื้อจากสมองมาตรวจทางจุลพยาธิวิทยาหรือการตรวจจากการผ่าศพเท่านั้น ผู้ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ต้องเข้าใจและยอมรับการเปลี่ยนแปลงในแต่ละระยะของการดำเนินโรค ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยในการทำกิจวัตรประจำวัน ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ดูแลด้านร่างกายและจิตใจ ดูแลการพบแพทย์ตามนัด รวมทั้งผู้ดูแลผู้ป่วยต้องใส่ใจดูแลร่างกายและจิตใจของตนเองด้วย

References

นันทิกา ทวีชาชาติ. (2557). ต้นแบบการป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์. (พิมพ์ครั้ง ที่ 2). กรุงเทพ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). สถิติผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 21 กรกฏาคม 25557, จาก https://www.nso.go.th.

Berchtold NC,Cotman CW. (1998). “Evolution in the conceptualization of dementia and Alzheimer disease : Greco-Roman period to the 1960 s”. Neurobiol Aging. 19(3) : 173-189.

De Kosky ST, Williamson JD, Fitzpatrick AL, et.al. (2008). “Gingko biloba for Prevention of Dementia”. Journal of the American Medical Association. 300(19) : 2253 - 2262.

Frostl H , Kurz A. (1999). “Clinical features of Alzheimer's disease”. European Archives of Psychiatry and Clinical Neuroscience. 249(6) : 288 - 290.

Galasko D, Schmitt F, Thomas R, Jin S, Bennett D. (2005). “Detailed assessment of activitives of daily living in moderate to severe Alzheimer's disease”. Journal of the International Neuropsychology Society. 11(4) : 446 - 453.

Hashimoto M, Rockenstein E, Crew L, Masliah E. (2003). “Role of protein aggregation in mitochondrial dysfunction and neurodegeneration in Alzheimaer's and Parkinson's disease”. Neuromolecular Med. 4(1-2) : 21 - 36.

Hebert LE , Scherr PA, Bienias JL, Bennett DA, Evans DA. (2003). “Alzheimer disease in the US population : prevalence estimates using the 2000 census”. Arch Neurol. 60(8) : 1119 - 1122.

Hoenicka J. (2006). “Genes in Alzheimer's disease”. Rev Neurol. 42(5) : 302 - 305.

Molsa PK, Marttila RJ, Rinne UK. (1995). “Long term surrival and predictors of mortality in Alzheimer's disease and multi-infarct dementia”. Acta Neurol Scand. 91(3) : 159 - 164.

Morris MC, Schneider JA, Tangney CC. (2006). “Thoughts on B-vitamins and dementia”. J. Alzheimer Dis. 9(4) : 429 - 433.

Scarmeas N, Stern Y, Mayeux R, Luchsinger JA. (2006). “Mediterranean diet, Alzheimer disease and Vascularmediation”. Arch Neurol. 63(12) : 1700 - 1717.

Small BJ, Gagnon E, Robinson B. (2007). “Early identification of cognitive deficits : preclinical Alzheimer's disease and mild cognitive impairment”. Geriatrics. 62(4) : 19 - 23.

Wada H, Nakajoh K, Satoh-Nakagawa T. (2001). “Risk factors of aspiration pneumonia in Alzheimer's disease patients”. Gerontology. 47(5) : 271 - 276.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-09-30