การพัฒนาแบบแผนการจัดการคุณภาพโดยรวมทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบแผนการจัดการคุณภาพโดยรวม และประเมินความเป็นไปได้ในการนำแบบแผนการจัดการคุณภาพโดยรวมทางการพยาบาลของแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานครไปใช้ ประชากร ได้แก่ หัวหน้าแผนกผู้ป่วย จำนวน 7 คน และบุคลากรทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำแบบแผนคุณภาพโดยรวมทางการพยาบาลไปใช้ ได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา เท่ากับ 0.76 และหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.98 สถิติที่ใช้ในการววิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. แบบแผนการจัดการคุณภาพโดยรวมทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกในโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร ในกรุงเทพมหานครที่พัฒนาขึ้นมี 7 ด้าน ได้แก่ 1) การนำองค์กร 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ 3) การให้ความสำคัญผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 4) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ และ 7) ผลลัพธ์
2. ความเป็นไปได้ของการนำแบบแผนการจัดการคุณภาพโดยรวมทางการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร ในกรุงเทพมหานครไปใช้ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.56, S.D. = 0.37)
ผู้วิจัยเสนอแนะว่า ผู้บริหารทางการพยาบาล ควรพิจารณาถึงความต้องการของบุคลากรทางการพยาบาลและความเหมาะสมกับบริบทของโรงพยาบาลก่อนที่จะนำแบบแผนการจัดการคุณภาพโดยรวมไปใช้ และควรมีการนำไปใช้ในการบริหารงานในองค์กร เพื่อพัฒนาคุณภาพการบริหารการพยาบาลและการปฏิบัติการพยาบาลให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์ และพาณี สีตกะลิน. (2548). ประสิทธิภาพของ TQM ในโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 14(2) : 325-335.
จิรภา แก้วใหญ่. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารคุณภาพโดยรวมในการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดต่อมลูกหมากทางท่อปัสสาวะโรงพยาบาลระดับทุติยภูม ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
จารี ศรีพารัตน์. (2550). ความพึงพอใจต่อการบริการของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลบ้านแพ้ว. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
ฐิติมา บุญชื่น. (2555). การพัฒนารูปแบบบริหารความเสี่ยงในการดูแลผู้ป่วยศัลยกรรมที่มารับการผ่าตัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการพยาบาล.สาขาวิชาการจัดการการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยคริสเตียน.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2543). การบริหารคุณภาพสุขภาพทั่วทั้งองค์กร. วารสารการพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 12(5) : 33-38.
----- (2544). คุณภาพการพยาบาลในยุคแข่งขัน. วารสารการพยาบาลศาสตร์, 13(2) : 1-7
----- (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เปรมฤดี ศรีวิชัย. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม วัฒนธรรมองค์กรเชิงสร้างสรรค์ กับความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของอาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีภาคเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสครมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2553). การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3 นนทบุรี : โครงการสวัสดิการวิชาการสถาบันพระบรมราชชนนี.
โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร. (2554). สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2554. เอกสารอัดสำเนา.
----- (2555). สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2555. เอกสารอัดสำเนา.
----- (2556). สรุปรายงานประจำปีงบประมาณ 2555. เอกสารอัดสำเนา.
โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยากร. (2555). บัญชีรายละเอียดแสดงอัตรากำลัง และอัตราเงินเดือนผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานแพทย์. เอกสารอัดสำเนา.
พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2539). การประกันคุณภาพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : วังใหม่บลูพรินต์.
พร้อมพล แทนศิริ. (2550). การศึกษาสถานภาพการบริหารงานคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั่วไป.เอกสารอัดสำเนา.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน. (2548). การจัดการทางการพยาบาลสู่การเรียนรู้. กรุงเทพมหานคร : สุขุมวิทการพิมพ์.
ภัทรา เทพไทย. (2549). การรับรู้หลักการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ ของระดับบริหารของบริษัทในกลุ่มธุรกิจซิเมนต์ เครือซิเมนต์ไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2550). TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพมหานคร: เนชั่นบุ๊คส์ อินเตอร์เนชั่นเนล.
วิไลรัตน์ ชัชชวลิตสกุล. (2548). การพัฒนาแบบการประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะการบริหารงานคุณภาพทั่วทั้งองค์การของหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สภาการพยาบาล.(2552). แผนพัฒนาการพยาบาลและการผดุงครรภ์แห่งชาติฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550-2559. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2557, จาก htt://www.tnc.or.th/files/2010/09/page-239/19333.pdf.
------ (2555). มาตรฐานการพยาบาลและผดุงครรภ์ พ.ศ.2548. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2556, จาก https://www.hkm.nu.ac.th Document /ha303/Standard HA.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2550). เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติเพื่อองค์กรที่เป็นเลิศ ปี 2550. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2550). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล,จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์ และองอาจ วิพุธสิริ. (2541). ก้าวแรกของ TQM/CQI ในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : ดีไซน์.
อุดมรัตน์ สงวนศิริธรรม. (2553). การพัฒนาวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Arikian,V.L. (1991). Total quality management : Application to nursing service. The Journal of Nursing Administration, 21(6) : 46-50.
Besterfield, D. H., &Besterfield-M.C., Besterfield G. H., Besterfield. S. M. (1999). Total quality management. 2nd ed. New Jersey : Prentice Hall.
Counte, M. A., Glandon, G. L., Oleske, D. M., &Hill, J. P. (1992). Total quality management in a health care organization: How are employees affected?. Hospital & Health Services Administration, 37(11) : 503-516.
Dale, B, G. (1994). Management quality. 2nd ed. London : Prentice Hall
Lewis, R. G., & Smith, D. H. (1994). Total quality in higher education. Delray Beach, FL:St.Lucie Press.