ผลของการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการเรียน รายวิชากายวิภาคศาสตร์และรายวิชาสรีรวิทยา ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยชินวัตร

ผู้แต่ง

  • อุมาสมร หังสพฤกษ์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบ Multi methods research มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเขียนแผนผังมโนทัศน์ในการเรียนรายวิชากายวิภาคสาสตร์และรายวิชาสรีรวิทยาของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 จำนวน 19 คนที่ลงทะเบียนเรียน ทั้งสองรายวิชาข้างต้น นักศึกษาได้รับการสอนเรื่อง “การเขียนแผนผังมโนทัศน์” หลังจากการสอบกลางภาคของทั้งสองรายวิชา จากนั้นฝึกเขียนแผนผังมโนทัศน์ร่วมกันเป็นกลุ่มย่อยจำนวน 2 ครั้ง และเขียนแผนผังมโนทัศน์เป็นรายบุคคลก่อนเรียนเนื้อหาวิชา 6 ระบบของร่างกาย คือ1) ระบบทางเดินหายใจ 2) ระบบย่อยอาหาร 3) ระบบทางเดินปัสสาวะ 4) ระบบต่อมไร้ท่อ 5) ระบบสืบพันธุ์ และ 6) ระบบการเจริญเติบโตของตัวอ่อนมนุษย์ และเขียนแผนผังมโนทัศน์เป็นรายบุคคลหลังการเรียนเนื้อหาวิชา 6 ระบบดังกล่าว รวมเป็น 12 ครั้ง ผู้วิจัยตรวจผลงานการเขียนแผนผังมโนทัศน์ของนักศึกษาทั้งก่อนและหลังการเรียนเนื้อหา และให้ข้อมูลย้อนกลับรวม 14 ครั้ง

          ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเองมากขึ้น มีพัฒนาการของการเขียนแผนผังมโนทัศน์ดีขึ้นโดยลำดับ อนึ่งความซับซ้อนของเนื้อหาบทเรียนบางระบบทำให้แผนผังมโนทัศน์ไม่สมบูรณ์ขาดสาระสำคัญเพราะไม่เข้าใจเนื้อหาที่อ่านเองก่อนเรียน ต่อเมื่อเรียนแล้วนักศึกษาได้เข้าใจ และสามารถเชื่อมโยงเนื้อหา และทำให้มีข้อมูลเขียนแผนผังมโนทัศน์ฉบับหลังเรียนได้ดีขึ้น  นักศึกษาที่เขียนแผนผังมโนทัศน์ได้คะแนนสูงเป็นนักศึกษาสอบได้เกรด A จากทั้งสองรายวิชานี้ด้วย นอกจากนี้มีคะแนนความพึงพอใจของนักศึกษาโดยรวมต่อการใช้แผนผังมโนทัศน์ในการเรียนรายวิชากายวิภาคศาสตร์และรายวิชาสรีรวิทยา อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.12, σ 0.53 มีความพึงพอใจต่อการสอนการเขียนแผนผังมโนทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุดค่าคะแนนเฉลี่ย 4.24, σ 0.57 และมีความพึงพอใจต่อการเขียนแผนผังมโนทัศน์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.10, σ 0.56 และนักศึกษามีความคิดเห็นว่าสามารถนำความรู้การเขียนแผนผังมโนทัศน์ไปใช้กับการศึกษากับรายวิชาอื่นได้ด้วย

References

พัชราวดี ทองเนื่อง. (2553). “ผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญต่อความรู้และการพัฒนาผู้เรียนในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาสำหรับนักศึกษาพยาบาล” วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 2(1) : 73-89.

สาวิตรี ธรรมสอน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเกี่ยวกับการใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษการแพทย์ในรายวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ในนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายปีการศึกษา 2554. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุภาวดี ไชยเดชาธร และคณะ. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ต่อการจัดการเรียนการสอน วิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 2 ด้วย e-Learning. สถาบันพระบรมราชชนก, กระทรวงสาธารณสุข.

Bromfield, Lisa Jones. (2012). Concept mapping & Mind mapping in A&P | Anatomy and physiology study guide. [Online]. Refrieved July 17,2014 from https://anatomyphysiologystudyguide.com/study-skills/concept-mapping-mind-mapping-in-ap.

Novak, Jpseph D. and Canas, Alberto J. (2013). The theory underlying concept maps and how to construct and use them. [Online]. Refrieved Deceber 19,2013. from https://cmap.ihmc.us/publications/researchpapers/theorycmaps/theoryunderlyingconceptmaps.htm.

McGaghie WC, McCrimmon DR, Mitchell G, Thompson JA, and Ravitch MM.(2000). Quantitative concept mapping in pulmonary physiology: comparison of student and faculty knowledge structures. AdvPhysiol Educ. 23(1):72-81.

Surapaneni, Krishna M.andTekian, Ara. (2013). Concept mapping enhances learningofbiochemistry Citation : Med Educ Online 2013, 18: 20157. [Online]. Refrieved 31 January 2013. from https://dx.doi.org/10.3402/meo.v18i0.20157.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-31