การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในยุคโลกาภิวัตน์ : แนวทางใหม่สำหรับการพัฒนาทุนมนุษย์

ผู้แต่ง

  • วันชัย สุขตาม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

บทคัดย่อ

          แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพุทธธรรม เป็นแนวคิดที่สามารถผลักดันให้ทุนมนุษย์ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล หลักพุทธธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ภาวนา 4 ไตรสิกขา การใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 จริต 6 รวมทั้งการพิจารณากลุ่มผู้รับเข้าการพัฒนาทุนมนุษย์ด้วยการมองหลักการต่างๆ จากบัว 4 เหล่า อันเป็นการพิจารณาคุณสมบัติในการเรียนรู้ของบุคคลทางพุทธศาสนา สำหรับหลักการพัฒนาทุนมนุษย์และผลกระทบของโลกาภิวัตน์ที่มีต่อการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น พระพุทธศาสนาได้ให้หลักการพัฒนาที่มีปฏิสัมพันธ์กับบริบทของการพัฒนาทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ซึ่งกระแสโลกาภิวัตน์รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ มีอิทธิพลต่อทั้งภาคเอกชน ภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคการศาสนา อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในทางบริหารทั่วไปก็จะเป็นไปตามกลไกของทฤษฎีระบบ นักพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์จะต้องนำการวางแผนพัฒนาทุนมนุษย์ตามวิถีพุทธการพิจารณาจะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การพัฒนาระดับองค์การ (Organizational development) และการพัฒนาในระดับบุคคล (Individual development) ทั้งนี้ วิธีการการพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในยุคโลกาภิวัตน์ สามารถแบ่งได้ 2 แนวทางคือ 1) แนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาให้อยู่ในระดับโลกิยธรรม ได้แก่ การพัฒนาด้วย ITUK ดังนี้ I คือ Intelligence awareness การตระหนักรู้และคิดแบบทั่วถึงอย่างชาญฉลาด T คือ Think การคิดแบบถูกต้องอันเป็นสัมมนาทิฏฐิ U คือ Understand การเข้าใจปัญหาอย่างถ่องแท้ และ K คือ Knowledge เป็นการค้นหาความจริงด้วยปัญญา และ 2) แนวทางการจัดการเพื่อพัฒนาให้อยู่ในระดับโลกุตรธรรม พุทธวิธีในการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนามีจุดมุ่งหมายที่จะจัดการคนให้เป็นทั้งคนเก่งและคนดี (วิชชาจรณสัมปันโน) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เชิงพุทธจะเป็นไปตามหลักพุทธธรรม คือ การมีชีวิตอันประเสริฐ มีปัญญารู้ความจริงตามความเป็นจริง พัฒนาตนเองให้มีภพภูมิที่ดีกว่าเดิม โดยใช้แนวคิดแบบ LETS เป็นผลจากการสังเคราะห์ครั้งนี้ : L คือ Learning เป็นการให้การเรียนรู้แก่บุคคล E คือ Experience เป็นการให้บุคคลสั่งสมทักษะจนก่อให้เกิดประสบการณ์ T คือ Training เป็นการฝึกอบรมบุคคลเพื่อก่อให้เกิดความรู้ทั้งในงานและนอกงาน และ S คือ Seminar เป็นการเติมเต็มความรู้ให้บุคคลที่จะก่อให้เกิดความรู้เพิ่มขึ้น โดยมีจุดประสงค์ในการพัฒนาเพื่อพัฒนาตนเองจากสภาพของปุถุชนซึ่งมีอวิชชาครอบงำอยู่สู่อริยบุคคล สำหรับผลลัพธ์การพัฒนาสูงสุดที่จะได้คือการสู่ภาวะนิพพาน พุทธธรรมมีหลักการที่ครอบคลุมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในสังคม (การพัฒนาศีล) การพัฒนาจิตใจให้มีสุขภาพจิตที่ดี มีสมรรถภาพจิตสูงขึ้น จิตมีคุณภาพมากขึ้น (การพัฒนาสมาธิ) และพัฒนาไปสู่ระดับการเข้าถึงสัจธรรม (การพัฒนาปัญญา)    

References

เกรียงศักดิ์ เขียวยิ่ง. (2539). การบริหารทรัพยากรมนุษย์และบุคคล. ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทวีวัฒน์ ปุณฑริกวิวัฒน์. (2545). ศาสนาและปรัชญาในจีน ทิเบต และญี่ปุ่น. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

บุญเลิศ ไพรินทร์. (2538). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 36(4) : 1-15.

ประเวศ วะสี. (2546). “วิถีมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 สู่ภพภูมิใหม่แห่งการพัฒนา”. วารสารหมออนามัย. 12(4) : 7-21.

ฝน หว่านไฟ. (2549). บทสัมภาษณ์พระดุษฎี เมธังกุโร. ในนิพนธ์ แจ่มดวง (บรรณาธิการ). ร้อยคน ร้อยธรรม 100 ปีพุทธทาส (หน้า 59-64). กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พุทธทาสภิกขุ. (2544). คู่มือมนุษย์ฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ธรรมสภา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับ มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาเตปิฎกํ 2500. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัยเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมพงษ์ เกษมสิน. (2526). การบริหารงานบุคคลแผนใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนพานิช.

สำนักงานพัฒนาและวิจัยระบบงานบุคคล สำนักงานข้าราชการพลเรือน. (2547). ทุนมนุษย์กับการพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล. กรุงเทพมหานคร : บริษัท พี.เอ. ลีฟวิ่ง จำกัด.

อภิชัย พันธเสน. (2544). พุทธเศรษฐศาสตร์ : วิวัฒนาการทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่างๆ. กรุงเทพมหานคร : อมรินทร์.

อุทัย หิรัญโต. (2537). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : ไทยวัฒนาพานิช.

Rasmussen, T. (1997). VisionLink : A participative process to clarify and act on a vision and values. In E. F. Holton, III (Ed.), Leading organizational change (pp.125-143). Alexandria, VA: American Society for Training and Development.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-31