แนวทางการคิดเนื้อเรื่องในการเขียนบทภาพยนตร์

ผู้แต่ง

  • ฐิติกร จันทพลาบูรณ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การเริ่มต้นการคิดเนื้อเรื่องหลังจากได้แรงบันดาลใจ และมีศึกษาหาข้อมูลพร้อมแล้ว ก็เริ่มคิดจากการถามตัวเอง วิธีการคิดแบบนี้เรียกว่า “What if”  ถ้า.....อะไร...... วิธีคิดแบบนี้มักถูกใช้เป็นการคิดเบื้องต้นและนำไปขยายเป็นโครงเรื่องต่อไปการตั้งคำถามกับตัวเองลักษณะนี้ ทำให้เกิดเนื้อเรื่องขึ้นมากมายขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้คิดเนื้อเรื่องเอง เป็นการคิดที่สามารถนำตั้งแต่เรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน หรือเรื่องที่อยู่นาจินตนาการมาคิดได้ทั้งหมด เรื่องราวต่างๆ เหล่านี้สามารถนำไปคิดต่อเป็นเนื้อเรื่องได้ทั้งสิ้น การคิดเนื้อเรื่องต่างๆ ที่ได้มาจากประสบการณ์จากการสืบค้นแหล่งข้อมูล และจากแรงบันดาลใจทั้ง 3 สิ่งนี้  เป็นส่วนผสมที่ทำให้ได้เนื้อเรื่องที่คิดออกมานั้นมีความน่าสนใจ อีกทั้งยังสามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนได้อีกมากมาย เมื่อได้เนื้อเรื่องมาแล้วซึ่งเป็นเรื่องที่คิดขึ้นมาใหม่แต่อาจจะเคยมีคนเคยคิดมาก่อนแล้ว  ซึ่งอาจจะคล้ายคลึงหรือเหมือนกันได้ เพราะแต่ละคนไม่ได้เกิดมาบนโลกเป็นคนแรก สิ่งที่จะทำต่อไปคือการถ่ายทอดเรื่องที่คิดขึ้นมาได้ในมุมมองของแต่ละคน ใส่ความเป็นตัวตนเข้าไป เล่าเรื่องออกมาในรูปแบบที่เป็นของตนเองเพื่อให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ก็จะได้เนื้อเรื่องที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัวที่ไม่ซ้ำกับใคร น่าสนใจ และน่าติดตามขึ้นมาอีกหนึ่งเรื่อง

References

กีรติบุญเจือ. (2522). ปรัชญาทั่วไป. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

ชัยณรงค์ วงศ์ธีรทรัพย์. (2547). ถอดรหัสแนวคิด เพื่อชีวิตที่มีคุณค่า. กรุงเทพฯ : บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

ภูเบศร์ สมุทรจักร. (2552). Inspiration...พลังแห่งลมหายใจ ไฟในการทำงาน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2557, จาก https://www.dpu.ac.th/laic/upload/content/file/article_instrctor/ta57/14_79_2552.pdf.

บัณฑิต อึ้งรังสี. (2551). ต้องเป็นที่หนึ่งให้ได้. กรุงเทพฯ : อมรินทร์บุ๊คเซ็นเตอร์.

ประจักษ์ ประภาพิทยากร. (2513). เบื้องหลังการแต่งพระอภัยมณี. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

นิวัฒน์ ศรีสัมมาชีพ. (2551). คิดและเขียนให้เป็นบทภาพยนตร์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ตะวันออก.

วูล์ฟ, เจอร์เกน. (2557). เคล็ดลับใช้สมองผลิตความคิดแบบไม่มีหมด. กรุงเทพฯ : บิสคิต.

สุพัตราสุภาพ. (2547). สังคมและวัฒนธรรม. โดยคณาจารย์ภาควิชาสังคมวิทยาและมนุษยวิทยาคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมชาติ กิจยรรยง. (2557). หัวใจนักปราชญ์ ฟัง คิด ถาม เขียน เป็นเซียนได้ไม่ยาก. กรุงเทพฯ : เพชรประกาย.

สุรีย์ พงศ์อารักษ์. (2546). พระอภัยมณี ตอน พระอภัยมณีกับศรีสุวรรณเรียนวิชา. กรุงเทพฯ : เอเชียแปซิฟิค พริ้นติ้ง.

อารีสุทธิพันธ์. (2543). ประสบการณ์สุนทรียะ. กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-31