การสร้างและวิเคราะห์งบการเงิน

ผู้แต่ง

  • ธัญลักษณ์ อรุณรัศมีเรือง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ 4 กิจกรรม คือ 1) กิจกรรมการผลิต 2) การบริโภค 3) การกระจาย และ 4) การแลกเปลี่ยน เมื่อประกอบธุรกิจก็จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเงิน 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการจัดหาเงิน การลงทุน และการดำเนินงาน ทุกกิจกรรมล้วนแต่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งสิ้น และกิจกรรมเหล่านี้สามารถนำมาสรุปเป็นงบการเงินในระบบบัญชีได้ การสร้างงบการเงินด้วยตนเองเป็นจุดเริ่มต้นของการตรวจสุขภาพทางการเงินทั้งส่วนบุคคลและส่วนของธุรกิจ แต่งบการเงินยังไม่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงฐานะที่แท้จริงและทิศทางที่ควรดำเนินไป การวิเคราะห์อัตราส่วนเป็นเครื่องมือทางการเงินที่จะช่วยในการตรวจสุขภาพทางการเงินที่แท้จริงของทั้งส่วนบุคคลและของธุรกิจ ทั้งในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ประสิทธิภาพการบริหารสินทรัพย์ การบริหารจัดการหนี้ และความสามารถในการทำกำไร เพื่อที่จะป้องกันความเสี่ยงทางการเงินและทำให้อยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

References

กมลวรรณ พิมพ์แพทย์. (2554). การเงินธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาย กิตติคุณากรณ์. (2541). ย่อยงบการเงิน : ภาคปฏิบัติและซอฟท์แวร์. นนทบุรี : บริษัทเอฟ พี เอ็ม คอนซัลแท้นท์.

ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2555). ความสามารถในการทำกำไร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556, จาก https://www.tsi- thailand.org/content/swf_account_tracking/presentation.html/.

ธวัช ภูษิตโภยไคย. (2545). “หัวใจของการดำเนินธุรกิจ : สินค้าหรืองบการเงิน”. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 15 (3) : 16-22.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2548). วิเคราะห์งบการเงิน. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพชรี ขุมทรัพย์. (2544). หลักการบริหารการเงิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย. (มปป). แม่บทการบัญชี. กรุงเทพฯ : สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย.

อรวรรณ กิจปราชญ์. (2549). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2014-12-31