รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะในการสร้างความรู้ ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลของรัฐเขตภาคเหนือของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรรถไกร พันธุ์ภักดี มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของสมรรถนะในการสร้างความรู้ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ของรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะในการสร้างความรู้ ในเครือข่ายการจัดการความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลของรัฐเขตภาคเหนือของประเทศไทย

          กลุ่มตัวอย่างของการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพ ด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน ที่สังกัดโรงพยาบาลของรัฐ ในเขตภาคเหนือ 11 จังหวัดของประเทศไทย จำนวน 87 โรงพยาบาลโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple random sampling) และเลือกตัวอย่างตามลำดับรายชื่อของแต่ละจังหวัด (Sampling frame) โดยได้แบบสอบถามตอบกลับที่สมบูรณ์จำนวน 212 คนคิดเป็นร้อยละ 78.5 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด

          ข้อค้นพบงานวิจัยพบว่า ปัจจัยทุกตัวในโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะในการสร้างความรู้อยู่ในระดับสูง (3.89) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของปัจจัยที่ศึกษาในงานวิจัยครั้งนี้ และโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลประจักษ์ตามเกณฑ์ดัชนีชี้วัดความสอดคล้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value= 0.444; CMIN/DF= 1.010; GFI= 0.91; AGFI= 0.88; RMSEA= 0.004; TLI= 0.979; CFI= 0.982 ซึ่งสามารถสรุปได้ว่ารูปแบบองค์ประกอบปัจจัยสมรรถนะในการสร้างความรู้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์

          จึงมีข้อเสนอแนะว่า ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายหลักของโรงพยาบาล ควรสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพนำความรู้ที่เรียนรู้หรือได้รับการถ่ายทอดมา ไปปรับใช้และพัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพขึ้นและเห็นเป็นรูปธรรม และสนับสนุนให้พยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลให้ติดต่อประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างกันทั้งในโรงพยาบาลและระหว่างโรงพยาบาล

References

คงขวัญ บุณยรักษ์, และ อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2553). ประสบการณ์การมีส่วนร่วมในชุมชนนักปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารสภาการพยาบาล. 2(25) : 64-77.

วีระพจน์ กิมาคม. (2552). ชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice-CoP). สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2555, จาก https://www.itmc.tsu.ac.th/paper/ppit20060205.pdf.

อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2556). ศักยภาพการเรียนรู้: ความสามารถการเรียนรู้ภายใต้มุมมองนวัตกรรมแบบเปิด Absorptive capacity: Learning Ability Based on Open Innovation Perspective. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน 19(2) : 257-267.

อรรถไกร พันธุ์ภักดี. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความสามารถทางนวัตกรรมการจัดการความรู้ของสมาชิกเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลของรัฐ เขตภาคเหนือ ของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร 8(2) : หน้า......

Annual Epidemiological Surveillance Report. (2012). Diabetes. search 1 January 2015. from https://www.boe.moph.go.th/Annual/AESR2012/main/AESR55_Part1/file11/5955_Diabetes.pdf.

Carrion, C.G., Navarro, J.G.C & Jimenez, D.J . (2012). The effect of absorptive capacity on innovativeness: Context and information systems capability as catalysts. British Journal of Management, 23(1) : 110-129.

Chaminade, C., & Roberts, H. (2002). Social Capital as a Mechanism: connecting knowledge within and across firms. Paper presented at the Third Euro pean Conference on Organizational Knowledge, Learning and Capabilities, Athens, Greece.

Chesbrough, H.W. (2003). Open innovation: The new imperative for creating and profiting from technology. Harvard Business Press.

Cohen, W.M. &Levinthal, D.A. (1989). Innovation and learning: the two faces of R & D. The economic journal, 99(397) : 569-596.

Chaminade, C., & Roberts, H. (2002). Social capital as a mechanism: connecting knowledge within and across firms. In Third European Conference on Organizational Knowledge, Learning and Capabilities (OKLC).

Drucker, P. F., & Drucker, P. F. (1993). Post-capitalist society. Routledge.

Drucker, P. F. (1999). Knowledge-worker productivity : The biggest challenge. The knowledge management yearbook 2000-2001.

Durande-Moreau, A. &Usunier, J. (1999). Time styles and the waiting experience : An exploratory study. Journal of Service Research. 2(2) : 173-186.

Harrison-Walker, L.J. (2001). The measurement of word-of-mouth communication and an investigation of service quality and customer commitment as potential antecedents. Journal of Service Research. 4(1) 60-75.

Huang, Y. C., &Wu, Y. C. J. (2010). Intellectual capital and knowledge productivity: the Taiwan biotech industry. Management Decision, 48(4) : 580-599.

Lave, J. & Wenger, E. (1991). Situated learning : Legitimate peripheral participation. Cambridge University press.

Lesser, E. & Prusak, L. (2000). Communities of practice, social capital, and organizational knowledge. The knowledge management yearbook, 2001, 251-259.

Li, L.C. et al. (2009a). Evolution of Wenger's concept of community of practice.Implementation Science. 4(1) : 11.

Li, L.C. et al. (2009b). Use of communities of practice in business and health care sectors : A systematic review. Implement Science. 4(27) : 1-9.

Lund Vinding, A. (2006). Absorptive capacity and innovative performance : A human capital approach. Economics of Innovation and New Technology. 15(4-5) : 507-517.

Nahapiet, J. &Ghoshal, S. (1998). Social capital, intellectual capital, and the organizational advantage. Academy of Management Review.

Prihadyanti, D., Surjandari, I. &Dianawati, F. (2012). Harnessing the potential of social capital for increasing innovation capability. International Journal of Engineering Science. (4) : 1750-1759.

Salis, S., & Williams, A. M. (2009). Knowledge Sharing through Face-To-Face Communication and Labour Productivity: Evidence from British Workplaces. British Journal of Industrial Relations. 48(2) : 436-459.

Todorova, G., &Durisin, B. (2007). Absorptive capacity: valuing a reconceptualization. The Academy of Management Review ARCHIVE. 32(3) : 774-786.

Van Den Hooff, B. & Huysman, M. (2009). Managing knowledge sharing : Emergent and engineering approaches. Information & Management. 46(1) : 1-8.

Wenger, E. (1998). Communities of practice : Learning, Meaning and identity. Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31