แนวคิดใหม่ : ส่วนประสมการตลาดในมุมมองของลูกค้า

ผู้แต่ง

  • ลักษมี พันธุ์ธนโสภณ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          ส่วนประสมการตลาด (Marketing mix) เป็นเครื่องมือทางการตลาดที่องค์กรธุรกิจนำมาใช้ เพื่อกระตุ้นให้บริโภคเกิดความต้องการในสิ่งที่องค์กรธุรกิจนำเสนอ ประกอบด้วยสินค้า (Product) ราคา (Price) ช่องทางจัดจำหน่าย (Place) และการส่งเสริมการตลาด (Promotion) ส่วนประสมการตลาด หรือที่เราเรียก ว่า 4P's เป็นแนวคิดทางการตลาดแบบดั้งเดิมที่เริ่มขึ้นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการตลาดที่เป็นยุคทองของโรงงานและผู้ผลิตสินค้าหรือบริการต่างๆ เนื่องจากการตลาดในยุคนั้นมีหลักการคิดพื้นฐานว่า “การผลิตสินค้าหรือบริการเข้าสู่ตลาดอยู่ภายใต้ทรัพยากร เทคโนโลยี วัตถุดิบ และความชำนาญของผู้ผลิต”  แนวคิดการตลาดแบบ 4P's มุ่งเน้นการผลิตที่ให้ความสำคัญกับสินค้าที่ผลิตออกมา โดยอาจลืมไปว่าสินค้านั้นลูกค้าต้องการหรือไม่ ฉะนั้นสินค้าที่ผลิตออกมาจำหน่ายอาจไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการและความพึงพอใจได้อย่างเพียงพอ การกำหนดราคาใช้เกณฑ์การกำหนดราคาโดยมุ่งที่กำไรของผู้ผลิตมากกว่าคำนึงถึงต้นทุนของผู้บริโภค  โดยมีการใช้ช่องทางการจัดจำหน่ายแบบช่องทางดั้งเดิมที่มุ่งจำหน่ายสินค้าในร้านค้าปลีกแบบทั่วไป และการส่งเสริมการตลาดเน้นการแจ้งข้อมูลข่าวสารให้ผู้บริโภคได้รับรู้ว่าสินค้าขององค์การเป็นอย่างไร จำหน่ายที่ไหน และมักมีการใช้เครื่องมือการโฆษณา และการส่งเสริมการขาย เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจซื้อ สิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นการทำการตลาดในมุมมองที่ผู้บริโภคไม่มีอำนาจในการต่อรอง

          หากแต่ปัจจุบันแนวคิดการตลาดเปลี่ยนไป  ผู้ผลิตมีจำนวนมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในสินค้าและบริการประเภทเดียวกันหรือสินค้าทดแทนกันได้มากขึ้น ทำให้การแข่งขันทางด้านการตลาดรุนแรงขึ้น องค์การธุรกิจต่างพยายามหากลยุทธ์เพื่อเอาชนะคู่แข่งขัน และพบว่าการตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสิ่งสำคัญ จึงทำให้เกิดแนวคิดส่วนประสมการตลาดแบบ 4C's ซึ่งเป็นการทำตลาดในมุมมองของลูกค้า/ผู้บริโภค โดยมีองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ คือ ความต้องการของผู้บริโภค (Consumer wants and needs) ต้นทุนของบริโภค (Consumer cost to satisfy) ความสะดวกในการซื้อของลูกค้า (Convenience of consumer) และการสื่อสาร (Communication) เป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นในความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

References

ดนัย เทียนพุฒ. (2549). “4 Cs ส่วนผสมใหม่ของการตลาดสมัยใหม่”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555, จาก https://www. Blogang.commainblog.php?id=dnt&month=11-11-2006&group=16&gblog=2.

บุริม โอทกานนท์. (2555). “4 C's การตลาดปฏิวัติ”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2555, จาก https://inside.cm.mahidol.ac.th/mkt/index.php?option=com_content&view=article&gblog=2.

วิวัฒน์ จันทร์ทองกิ่ง. ต้นทุนที่ถูกลืม. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2555, จากhttps://www.hu.ac.th/academic/article/Mk/Cost.htm.

ศูนย์พัฒนาความเป็นเลิศทางธุรกิจ. Below the Line วิธีพิชิตใจลูกค้า. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555, จาก https://www.bizexcenter.com.

อภิสิทธิ์ ฉัตรทนานนท์ และจิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. (2549). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : เสริมมิตร.

ดีมานด์ ความต้องการไม่รู้จบของผู้บริโภค. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555, จาก https://th.jobsdb.com/TH/EN / V6HTML/Home/marketing_editor5.htm.

P VS 4C วิวัฒนาการจากอดีตสู่ปัจจุบัน. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2555, จาก https://marketingthai.blogspot.com/2010/08/4p-vs-4c.html.

Borden H. (1964). The concept of marketing mix. Journal of Advertising Research. 4(2) : 7-12.

Lauterborn, B. (1990). New Marketing Litanyi Four Ps pass ; C-words take over. Advertising Age. 61(41) : 26.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2008). Principles of Marketing. 12th ed. New Jersey : Pearson.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-31