โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเหตุผลของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พิมพร เจริญสุข นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • สุรีย์ จันทรโมลี รองศาสตราจารย์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

โมเดลสมการเชิงโครงสร้าง, โรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โมเดลเส้นทางเชิงเหตุผลของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยและศึกษาปัจจัยของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยกลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไปจำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เส้นทางปัจจัยของการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

          ผลการวิจัยนี้ พบว่า โรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยได้รับอิทธิพลรวมสูงสุดจากตัวแปรด้านเพศโดยมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .65 แรงจูงใจในการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ในด้านการรับรู้โอกาสเสี่ยงการรับรู้ความรุนแรงและการรับรู้ความคาดหวังของการดูแลสุขภาพมีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ .47และการสูบบุหรี่มีค่าอิทธิพลรวมเท่ากับ -.24 ตามลำดับ โดยโมเดลเส้นทางความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ คือค่า P-valueเท่ากับ 1.000, gif.latex?\chi&space;2/df เท่ากับ .511, ค่า GFI เท่ากับ 0.989, ค่า RMSEA เท่ากับ 0.000 ผลการวิจัยครั้งนี้เป็นแนวทางในการจัดให้มีการให้การศึกษาแก่ประชาชนในด้านการให้ความรู้เพื่อลดภาวะเสี่ยงของการเกิดโรค การรักษาและการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แบบวัดความเครียดสวนปรุง. สืบค้นจาก http://www.dmh.go.th/test/stress/

กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2553). คู่มือการส่งเสริมการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2555). แนวทางการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพระดับจังหวัด. นนทบุรี: โรงพิมพ์กองสุขศึกษา.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดสามลดา.

จีรภา เล่าทรัพย์. (2556). ความรู้เรื่องโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองในผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

จุฑารัตน์ ดวงจันทร์ตุ้ย. (2554). การสำรวจระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของพนักงานขับรถโดยสารรับจ้างของสหกรณ์ นครล้านนาเดินรถ จำกัด จังหวัดเชียงใหม่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

เจียมจิต แสงสุวรรณ. (2552). โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ. ขอนแก่น : คลังนานาวิทยา.

นันทวรรณ ทิพยเนตร และวชิร ชนะบุตร. (2559). ความรู้เรื่องความเสี่ยงและอาการเตือนโรคหลอดเลือดสมอง: กรณีศึกษา โรงงานทอผ้าแห่งหนึ่งในจังหวัดมหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

นิพนธ์ พวงวรินทร์. (2559). ศิริราชรณรงค์โรคหลอดเลือดสมองพบ 45 ปีป่วยเพิ่ม. สืบค้นจาก http://www.matichon.co.th

ไพศาล หวังพานิช. (2551). การวัดและประเมินผลการเรียน. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล.

ศรีเมือง พลังฤทธิ์ และสมบัติ มุ่งทวีพงษา. (2558). ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย .จดหมายเหตุทางแพทย์, 98(7), 649-655.

สุกัญญา มาลา. (2556). ความชุกและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในประชาชนเขตเทศบาลตำบลเมืองจี้ อำเภอเมืองลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุจิตรา คุ้มสะอาด. (2560). ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 31(ฉบับพิเศษ), 13-26.

สุทัสสา ทิจะยัง. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.

สุรีย์ จันทรโมลี. (2559). พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพที่ดีชีวิตสดใส. วารสารสวนสุนันทาวิชาการและวิจัย, 9(1), 19-24.

Boehme, A. K., Esenwa, C., & Elkind, M. S. (2017). Stroke risk factors, genetics, and prevention. Circulation research, 120(3), 472-495.

Carandang, R., Seshadri, S., Beiser, A., Kelly-Hayes, M., Kase, C. S., Kannel, W. B., & Wolf, P. A. (2006). Trends in incidence, lifetime risk, severity, and 30-day mortality of stroke over the past 50 years. JAMA, 296(24), 2939-2946.

De la Santé, O. M. (1993). Depot-medroxyprogesterone acetate (DMPA) and cancer: Memorandum from a WHO meeting. Bulletin of the World Health Organization (WHO), 71(6), 669-76.

Fagerström, K., Schneider, N., & Lunell, E. (1993). Effectiveness of nicotine patch and nicotine gum as individual versus combined treatments for tobacco withdrawal symptoms. Psychopharmacology, 111(3), 271-277.

Johns Hopkins Medicine. (2018). 3 Ways to Avoid a Second Stroke. Retrieved from https://www.hopkinsmedicine.org/health/articles-andanswers/prevention/three-ways-toavoid-a-second-stroke

Lu, X.-T., Zhao, Y.-X., Zhang, Y., & Jiang, F. (2013). Psychological stress, vascular inflammation, and atherogenesis: potential roles of circulating cytokines. Journal of Cardiovascular Pharmacology, 62(1), 6-12.

National Institute of Neurological Disorders and Stroke. (2012). What is Stroke ?. Retrieved from http://www.ninds.nih.gov

Rogers, R. W. (1975). A protection motivation theory of fear appeals and attitude change1. The Journal of Psychology, 91(1), 93-114.

Rosamond, W. (2008). 2008 update: A report from the American Heart Association Statistics Committee and Stroke Statistics Subcommittee. Circulation, 117, e25-e146.

Selye, H. (1976). The stress of life. New York: McGraw Hill Book Co.

Seshadri, S., Beiser, A., Kelly-Hayes, M., Kase, C. S., Au, R., Kannel, W. B., & Wolf, P. A. (2006). The lifetime risk of stroke. Stroke, 37(2), 345-350.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-17