ผลการใช้โปรแกรมประยุกต์การวางแผนพฤติกรรมต่อความตั้งใจ ไม่เสพยาบ้าซ้ำในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • กฤชญา ตั้งสุวรรณศรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบเปรียบเทียบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการประยุกต์การวางแผนพฤติกรรมต่อความตั้งใจไม่เสพยาบ้าซ้ำ ในจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพติดยาบ้า ที่ผ่านการบำบัดจากค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาเสพติด ในพื้นที่อำเภอท่าม่วง และอำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี โปรแกรมที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่  การสร้างสัมพันธภาพ การพัฒนาตนเอง และการตั้งเป้าหมายชีวิต เก็บข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวัดความตั้งใจในการเลิกเสพยาเสพติด  ซึ่งผู้วิจัยดัดแปลงจาก รุ่งทิวา  ใจจา (2550)  ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ  4  ท่าน  มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิตินันพาราเมตริก และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา           

          ผลการวิจัยพบว่าภายหลังได้รับโปรแกรมฯ   กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความตั้งใจในการเลิกเสพยาบ้าซ้ำ สูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) นอกจากนี้  ผลการติดตามตรวจปัสสาวะหาสารเมทแอมเฟตามีน พบว่า กลุ่มทดลองมีจำนวนผู้ที่ตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะลดลง ในขณะที่กลุ่มเปรียบเทียบพบจำนวนผู้ที่ตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะเพิ่มขึ้น  

          ผู้วิจัยเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและบุคลากรสาธารณสุขควรตระหนักถึงความสำคัญของโปรแกรมการติดตามของผู้เสพยาบ้าที่เข้าบำบัดจากค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะการสนับสนุนให้ครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในระยะกำกับติดตาม เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการป้องกันการกลับไปเสพยาบ้าซ้ำ                

References

คณะกรรมการบริหารเครือข่ายองค์กรวิชาการยาเสพติด. (2555). โครงการการสำรวจคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน : ประมาณการจำนวนประชากรใช้ยาเสพติดในประเทศไทย 2554. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2554). การศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการศึกษาวิจัยสารเสพติดและการศึกษาดูงานด้านการลดอันตรายจากการใช้สารเสพติด. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญช่วย เทพยศ และวราภรณ์ กุประดิษฐ์. (2549). ปัจจัยด้านบุคคล ด้านจิตลักษณะ และคุณภาพชีวิตของผู้ที่ผ่านการบำบัดยาเสพติดในจังหวัดอุดรธานี. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 5 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพฯ, วันที่ 3-5 กรกฎาคม 2549.

ปริศนารถสีดา. (2552). ความสัมพันธ์ในครอบครัวส่งผลต่อการเสพซ้ำของผู้เสพเมทแอมเฟตามีนในระบบบังคับบำบัดในจังหวัดขอนแก่นและยโสธร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเวชศาสตร์ชุมชน (นานาชาติ), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พรรนอ กลิ่นกุหลาบ. (2548). ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ติดสารเสพติดที่เข้ารับการบำบัดรักษาในสถาบันธัญญารักษ์. รายงานการวิจัยการศึกษาแบบค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (จิตวิทยาชุมชน) สาขาจิตวิทยาชุมชน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

พรรณี วาทิสุนทร และกฤติกา เฉิดโฉม. (2552). การศึกษาเปรียบเทียบผลสำเร็จของการบำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดระบบบังคับบำบัดและระบบสมัครใจ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

พิชัย แสงชาญชัย. (2552). การทบทวนองค์ความรู้ เรื่อง จิตสังคมบำบัดสำหรับผู้ติดสุรา. เชียงใหม่ : วนิดาการพิมพ์.

มานพ คณะโต และพูนรัตน์ ลียติกุล. (2557). “มาตรวัดมลทินทางสังคมเกี่ยวกับยาเสพติดของคนไทย”.วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน. 2(2) : 1-18.

----- และคณะ. (2557). การศึกษาประสิทธิผลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพยาเสพติดในระบบแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม. ขอนแก่น : เครือข่ายพัฒนาวิชาการและข้อมูลสารเสพติด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมหาวิทยาลัยขอนแก่น.

รุ่งทิวา ใจจา. (2550). ผลของการบำบัดตามโปรแกรมการผสานหลักทางพระพุทธศาสนากับเทคนิคการเรียนรู้ทางจิตวิทยาต่อความตั้งใจในการเลิกสุราของผู้ป่วยเสพติดสุรา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาจิตวิทยาการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยใหม่.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ. (2557). คู่มือค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้เสพยาเสพติดระบบสมัครใจระยะเวลา 9 วัน. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี. (2558). ข้อมูลจากระบบรายงานระบบติดตามและระบบเฝ้าระวังยาเสพติด. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2558, จาก https://antedrug.moph.go.th/beta2/

สุชิน ตู้นิ่ม. (2547). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมป้องกันการเสพยาบ้า ในพลทหารกองประจำการ สังกัดมณฑลทหารบกที่ 11. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสุขศึกษา, คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุวิมล สนั่นชาติวณิช และคณะ. (2551). ผลของโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการเห็นคุณค่าในตนเองและความเข้มแข็งในการมองโลก ของผู้เสพแอมเฟตามีน. รายงานการเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการยาเสพติดแห่งชาติเพื่อนําเสนอผลงานวิจัยโรงพยาบาลห้วยยอด จังหวัดตรัง.

Ajzen,I.&Fishbein,M. (1980). Understandingattitudesandpredictingsocialbehavior. EnglewoodCliffs, NJ : Prentice-Hall.

------ .(2005). Attitudes,personalityandbehavior. (2nd Ed). Milton-Keynes, England : Open University Press/McGraw-Hill.

&Manstead, A. S. R . (2007). Changing health-related behaviors : An approach based on the theory of planned behavior. In K. van den Bos, M.Hewstone, J. de Wit, H. Schut& M. Stroebe (Eds.), The scope of social psychology : Theory and applications (pp. 43-63). New York : Psychology Press.

Fishbein, M.&Ajzen, I. (2010). Predicting and changing behavior : The reasoned action approach. New York : Psychology Press (Taylor & Francis).

Marram, G.K. (1978). The group approach in nursing practice. (2nd ed). Saint Louis: The C.V.

Maslow, A.H. (1970). Motivation and personality. (2nd ed.). New York : Harper and Row.

Thoits,P.A. (1982). Conceptual methodological and theoretical problem in studying social support as a buffer against lift stress. Journal of Health and Social Behavior. 23(2) : 145-159.

United Nations [UN] and World Health Organization [WHO]. (2008). Principles of drug dependence treatment discussion, Geneva : UN.

United Nations Office On Drugs And Crime [UNODC]. (2014). World DrugReport 2014. New York : United Nations publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-17