อัตราการติดเชื้อและปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในเด็กนักเรียน ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร การชัยศรี มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          พยาธิเข็มหมุด (Enterobius vermicularis) ทำให้เกิดโรคพยาธิเข็มหมุด (Enterobiasis) โดยมักพบการติดเชื้อในเด็กปฐมวัย ทำให้เด็กมีอาการคันก้นบริเวณทวารหนักและเกิดการอักเสบที่อวัยวะสืบพันธุ์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการติดเชื้อของโรคพยาธิเข็มหมุด จึงได้ทำการตรวจหาไข่พยาธิเข็มหมุดในในเด็กนักเรียนตำบล ดอนยายหอม อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - มีนาคม 2557 โดยใช้วิธี scotch tape technique จำนวน 320 คน แบ่งเป็นเพศชาย 177 คน เพศหญิง 143 คน คิดเป็นร้อยละ 55.31 และร้อยละ 44.69 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบตัวอย่างที่ตรวจพบไข่พยาธิเข็มหมุดจำนวน 41 คน จากตัวอย่างจำนวน 320 คน คิดเป็นร้อยละ 12.81 แบ่งเป็นเพศชาย 25 คน เพศหญิงจำนวน 16 คน และจากการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าเพศและพฤติกรรมการล้างมือก่อนรับประทานอาหาร, การใส่เสื้อผ้าซ้ำโดยไม่ซัก, การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่ม, การดูดหรือกัดนิ้วเล่น และการตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ ไม่มีความสัมพันธ์กับอัตราการติดเชื้อ (P value > 0.05) จากผลการศึกษาในครั้งนี้เป็นข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการรักษาและให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันการแพร่กระจายของโรคพยาธิเข็มหมุดต่อไป

References

คณาจารย์ภาควิชาปาราสิตวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2528). พยาธิเข็มหมุด. ปาราสิตสาธารณสุข. กรุงเทพฯ : บัณฑิตการพิมพ์.

ณรงค์ศักดิ์ ใจเก่งดี และอุษา วัฒนะนุพงษ์. (2543). อุบัติการณ์การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (ภาคนิพนธ์). สมุทรปราการ: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

ณัฏฐวุฒิ แก้วพิทูลย์ และคณะ. (2553). “พยาธิเข็มหมุดในเด็กก่อนปฐมวัย อําเภอวารินชําราบ จังหวัดอุบลราชธานี”. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12(3) : 47-53

ธงชัย ปภัสราทร และคณะ. (2536). ปรสิตสาธารณสุข. หน้า 64-72. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยมหิดล

นันทวดี เนียมนุ้ย. (2552). “อัตราการติดเชื้อของโรคพยาธิเข็มหมุดในเด็กนักเรียนเขตอําเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ และในจังหวัดบุรีรัมย์”. ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 9(1) : 162-168

บังอร ฉางทรัพย์; และคณะ. (2546). “ความชุกของโรคพยาธิเข็มหมุดในเด็ก ในชุมชนคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร”. สงขลานครินทร์เวชสาร. 21(3) : 203-208.

พรพิทักษ์ มีพรหม. (2542). อุบัติการณ์การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในเด็กศูนย์พัฒนาเด็กในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ (ภาคนิพนธ์). สมุทรปราการ : คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

มยุรัตน์ เทพมงคล. (2523). “โรคพยาธิเส้นด้ายในเด็กนักเรียนสลัมคลองเตย”. สารศิริราช 32(10) : 597-600.

วันวิสาข์ บุญเลิศ และสุภาพร สุถารักษ์. (2542). การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในเด็กวัยก่อนเรียนในอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร (ภาคนิพนธ์). กรุงเทพฯ : คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิฑูรย์ ไวยนันท์และสุชาติอุปถัมภ์. (2529). “การตรวจด้วยวิธีพิเศษเพื่อหาไข่พยาธิเข็มหมุด”. ปาราสิตวิทยา การตรวจวินิจฉัยและศึกษาวิจัย. หน้า 25-26. กรุงเทพฯ : ศักดิโสภาการพิมพ์.

วิโรจน์ ไววานิชกิจ, แจ่มใส สุวรรณศักดิ์ศรี และสุวรรณี นิธิอุทัย. (2545). “การติดเชื้อพยาธิเข็มหมุดในชุมชนชนบท”. สงขลานครินทร์เวชสาร. 20(3) : 159-163.

Ariyarathenam AV, Nachimuthu S, Tang TY, Courtney ED, Harris SA, Harris AM.(2010) “Enterobius vermicularis infestation of the appendix and management at the time of laparoscopic appendectomy: case series and literature review”. Int J Surg. 8(6); 466-9.

Beckman EN, Holland JB. (1981). “Ovarian enterobiasis-a proposed pathogenesis”.Am J Trop Med Hyg. 30(1) : 74-76.

Bredesen J, Falensteen LA, Kristiansen VB, Sorensen C, Kjersgaard P. (1988). “Appendicitis and enterobiasis in children”. Acta Chir Scand. 154 : 585-587.

Chandrasome PT, Mendis KN. (1977). “Enterobius vermicularis in ectopic sites”. Am J Trop Med Hyg. 26(4) : 644-649.

Changsap B, Nithikathkul C, Boontan P, Wannapinyosheep S, Vongvanich N and Poister C. (2002). “Enterobiasis in primary school in Bang Khun Thian district, Bangkok”. Southeast Asian J Trop Med Public Health. 33(3) : 72-75.

Daly JJ, Baker GF. (1984). “Pinworm granuloma of liver”. Am J Trop Med Hyg. 33(1) 62-64.

Jongsuksantigul P. (1997) Control of helminth infections of Thailand. The Medical Congress in Commemoration of the 50th Anniversary of the Faculty of Medicine, June 3-6, 1997. Chulalongkorn University. Bankok. Thailand.

Jongsuksantigul P, Chaeychomsri W, Techamontrigul P, Jeradit P, Suratanavanit P. (1992). “Study on prevalence and intensity of intestinal helminthiasis and opisthorchiasis in Thailand”. J Trop Med Parasitology. 15(2) : 80-95.

Kitivatanachai, S., Marujiwat, K., Petabut, n. and Thawornpol,K. (2000). “Enterobius vermicularis infection among children living in orphanages in Bangkok and Pathum thani Province, Thailand”. J Trop Med Parasitol. 23 : 28-31.

Mameechai P, Tasanaswang C, Panyaruggij P. (1992). “Survey of enterobiasis in school children in Bangkok and Nonthaburi provinces”. J Trop Med Parasitol. 15 : 39-49.

Nateeworanart S, Apichat Vitta and Urat Pimolsri Lee. (2007). “Egg positive rate of Enterobius vermicularis in children in a rural area of Phichit province, Thailand.” Southeast Asian J Trop Med Public Health. 38 : 40-42.

Nateeworanart S, Lee UP, Vitta A, Soypetcasem S, Thongthung A, Meepayoong T.(2007) “Prevalence of Enterobius vermicularis infection in students of rural area of Thak province”. Thammasat Med J. 7(2) : 150 -3

Nithikathkul C, Changsap B, Wannapinyosheep S, Poister C, Boontan P.(2001). “The prevalence of enterobiasis in children attending mobile health clinic of Huachiew Chalermprakeit University”. Southeast Asian J Trop Med Public Health ; 32(2) : 138-142.

Nithikathkul C, Changsap B, Wannapinyosheep S, Poister C, Boontan P. (2001). “The prevalence of Enterobius vermicularis among primary school students in Bangplee district, Samutprakarn province, Thailand”. Southeast Asian J Trop Med Public Health ; 32(2) : 133-137.

Piangjai S, Muangyimpong Y, Tipavangkosol P, Arthansri P, Choochote W. (1992). “A survey on the prevalence of Enterobius vermicularis in primary school-children in Chiang Mai province”. J Trop Med Parasitol. 15 : 106-7.

Serpytis M and Seinin D.(2012). “Fatal case of ectopic-enterobiasis : Enterobius vermicularisin the kidneys”. Scand J Urol Nephrol. 46 : 70-2.

Saksirisampant W, Prownebon J, Kanmarnee P,Thaisom S, Yenthakam S, Nuchprayoon S. “Prevalence of parasitism among students of the Karen hill-tribe in Mae Chame district, Chiang Mai province, Thailand”. J Med Assoc Thai 2004; 87(2) : S278-83

Symmer WC. (1957). “Two cases of eosinophilia prostatic due to metazoan infestation (with Oxyuris vermicularis and with a larva of Linguatul serrata”. J Patho Bacteriol. 73 : 549-555.

Wahah T, Ratanaponglakh D. (1992). “Prevalence of enterobiasis in pre-school children in municipality area of Nakornpathom province”. J Trop Med Parasitol; 15 : 96-101.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-30