การมีคุณค่าในตน บรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน กับความพึงพอใจ ในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พรวิภา ปันทะยม พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการมีคุณค่าในตน บรรยากาศจริยธรรมในการทำงานกับความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานการพยาบาล ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก  จังหวัดราชบุรี โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) เฉพาะพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานการพยาบาล จำนวน 183 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามการมีคุณค่าในตน บรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน กับความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการหาคุณภาพโดยการหาความเที่ยง โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach's alpha coefficient) ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.814 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า การมีคุณค่าในตน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.26) บรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก อยู่ในระดับสูง  (x̄ = 3.83) ความพึงพอใจในงานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก อยู่ในระดับปานกลาง (x̄ = 3.12 ) และการมีคุณค่าในตน บรรยากาศจริยธรรมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวกมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพึงพอใจในงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r =  0.38 และ 0.50)

          ควรมีการทำวิจัยเชิงทดลองการนำโปรแกรมการเสริมสร้างการมีคุณค่าในตน และการสร้างบรรยากาศจริยธรรมในการทำงาน ในพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลดำเนินสะดวก เพื่อพัฒนาโปรแกรมให้มีประสิทธิภาพ และศึกษาผลที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อความพึงพอใจในงานและควรศึกษาว่ามีตัวแปรอื่นอีกหรือไม่ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงาน

References

ทองศุกร์ บุญเกิด. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การจัดการความปลอดภัยในการทำงานของหัวหน้างานกับการปรับตัวภายหลังถูกทำร้ายของพยาบาลวิชาชีพ หน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลศูนย์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาพยาบาลศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทัศนา บุญทอง. (2542). ทิศทางการปฏิรูประบบบริการการพยาบาลที่สอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพไทยที่พึงประสงค์ในอนาคต. กรุงเทพมหานคร : ศิริยอดการพิมพ์.

ธนิต ไม้หอม. (2554). ปัจจัยทำนายความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

น้องนุช ภูมิสนธ์. (2540). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติต่อวิชาชีพการพยาบาล ความพึงพอใจในงานความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การกับความตั้งใจที่จะลาออก โอนย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประเวศ วะสี. (2528). สาธารณสุขกับพุทธธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์ดี.

พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. (2536). 50 ปี ชีวิตและงานของอาจารย์พวงรัตน์ บุญญานุรักน์. กรุงเทพมหานคร : ม.ป.พ.

พาศนา บุณยะมาน. (2553). บรรยากาศจริยธรรมในสถานที่ทำงานและการทำหน้าที่แทนของพยาบาลเพื่อปกป้องผู้ป่วยตามการรับรู้และประสบการณ์ของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลทั่วไป ภาคใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ฟาริดา อิบราฮิม. (2542). สาระการบริหารการพยาบาล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สามเจริญพาณิชย์.

ลดาวัลย์ รวมเมฆ. (2544). “ผู้บริหารการพยาบาล บรรยากาศที่เป็นสุขในงานบริการพยาบาล”. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13(1) ; 17-23.

วิภาดา คุณาวิกติกุล. (2542). จากการประกันคุณภาพสู่การรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. พยาบาลสาร, 26(3) ; 9-17.

สงวน นิตยารัมภ์พงศ์. (2543). ปฏิรูประบบบริการสุขภาพไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี : สำนักงานโครงการปฏิรูประบบการสาธารณสุข.

สมยศ นาวีการ. (2536). การบริหาร. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ดอกหญ้า.

สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. (2541). พฤติกรรมองค์การ : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Imai, K. (2001). Occupational factors contributing to low self - esteem in registered nurses and licensed practical nurses : Amultivariate analysis. [online] Retrieved March 25, 2013. From https://www.ncbi.nlm.gov/entrez/query.fcgi?db=pubmed&cmd=retrieved.

Joseph, J., & Deshpande, S. P. (1997). “The impact of ethical climate on job satisfaction of nurses”. Health Care Management Review, 22 (1) ; 76-81.

Judge, T. A., Bono, J. E. (2001). “Relationship of core self - evaluations traits-self - esteem, generalized self efficacy, locus of control, and emotional stability - with job satisfaction and job performance ; a meta - analysis”.Journal of Applies Psychology, 86 (1) ; 80 - 92.

Judge, T. A., Bono, J. E., & Locke, E. A. (2000). “Personality and job satisfaction: The mediating role of job characteristics”. Journal of Applied Psychology, 85 (2) ; 751 - 765.

Locke, E. A. ,McClear, K. and Knight, D. (1996). “Self - esteem and work”. International Review of Industrial/Organizational Psychology, 11 ; 1-32.

Luthans, F. (2002). Organizational behavior. (9th ed.). New York : McGraw - Hill.

Mayer, F.S. and Sutton, K. (1996). Personality an intregrative approach. New Jersey : Prentice - Hall.

Nelson, N. A., & Rouge, C. L. (2001). “Self-esteem: Moderator between role stress fit and satisfaction and commitment”. In M. Serva (Ed). Proceeding of the 2001 ACM SIGCPR Conference. (pp. 74-77). New York : ACM.

Robbins, S.P. (2001). Organizational behavior. (9thed.). New Jersey : Prentice - Hall.

Robbins, S. P. (2003). Organizational behavior. Englewood Cliffs. NJ : Prentice-Hall.

Victor, B., & Cullen, J. B. (1987). “A Theory and measure of ethical climate in organizations”. In W.C. Frederick (ed.) Business ethics : Research issues and empirical studies : Greenwich : JAI Press.

Victor, B., & Cullen, J. B. (1988). “The organizational bases of ethical work climates”. Administrative Science Quarterly, 33; 101-125.

Westaway, M.S.,Wesssie, G.M., Viljeon,E., Boonysen, U., & Wlomarans, L.(1996). Job satisfaction and self - esteem of South African nurses. [online] Retrieved March 25, 2013 from https://www.ncbi.nlm.gov/entrez/query.fcgi?itool=abstractplus&db=pubmed.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-30