รูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรีย ในพื้นที่แพร่เชื้อบางฤดูกาล อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์
บทคัดย่อ
รูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการควบคุมป้องกันโรคมาลาเรียในพื้นที่แพร่เชื้อบางฤดูกาล อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ ถือว่ามีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพของประชาชน ทุกคนในชุมชนต้องมีส่วนร่วม อย่างจริงจังและยั่งยืน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ การศึกษาเชิงสำรวจ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการประยุกต์ใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปด้วยสถิติเชิงพรรณา คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า ความพร้อมต่อการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคมาลาเรียโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̄=3.26) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านวัสดุครุภัณฑ์ (x̄ =3.83) รองลงมาได้แก่ ด้านการบริหารจัดการ (x̄ = 3.49) ส่วนด้านงบประมาณมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (x̄ = 2.65) และรูปแบบการสร้างการมีส่วนร่วม นั้นมีขั้นตอนทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาบริบทของพื้นที่ 2) ประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการ 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 5) การประสานแผนและบูรณาการด้านงบประมาณ 6) การพัฒนามาตรฐานงานควบคุมโรคมาลาเรีย 7) การมีส่วนร่วมระหว่างการดำเนินกิจกรรม 8) การมีส่วนร่วมหลังการดำเนินกิจกรรม 9) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถอดบทเรียน
โดยสรุป ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ การระดมทรัพยากรทั้ง 4 ด้าน คือ บุคลากร งบประมาณ วัสดุครุภัณฑ์ และการบริหารจัดการ
References
จรูญศักดิ์ หวังล้อมกลาง. (2552). ประสิทธิผลของรูปแบบการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. มหาสารคาม : วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
จเร แสงสายัณห์. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายของโรคมาลาเรีย และความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ระบาดระดับชุมชน. มหาสารคาม : วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (การวางแผนสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาชุมชนและพัฒนาระบบ).
นุชรินทร์ ทองดี. (2555). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการชุมชนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา เทศบาลเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. กรุงเทพมหานคร : วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุษบง เจาฑานนท์ และคณะ. (2550). ประสิทธิผลการนำกระบวนการตลาดเชิงสังคมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมป้องกันไข้มาลาเรียของเกษตรกร. นครราชสีมา : สำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง.
ปัจพจน์ วิมลรัตนชัยศิริ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก : กรณีศึกษาในเขตอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. จันทบุรี : วิทยานิพนธ์ รัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.
ประภัสสร สุวรรณบงกช และคณะ. (2552). “การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ”. วารสารสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 10 เชียงใหม่. 35(1) : 1-10.
ยุทธพงศ์ หมื่นราษฎร์ และคณะ. (2551). “ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมารับการรักษาไข้มาลาเรียช้า ของผู้ป่วยมาลาเรียในจังหวัดสุราษฎร์ธานี”. วารสารโรคติดต่อนำโดยแมลง. 7 (2) : 1-11.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์. (2556). เอกสารสรุปสถานการณ์โรคมาลาเรียจังหวัดบุรีรัมย์.
Boonyisa. (2556). “WHO ให้'โรคมาลาเรีย'เป็น 1 ใน 4 โรคที่ต้องเร่งแก้ไขด่วน” Bangkokbiznews. [online]. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2556], จาก https://news.voicetv.co.th/global/3643.html.