ประสิทธิผลของการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการป้องกันอันตราย จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จุฑามาศ เวชพานิช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดี่ยวสอบก่อนและสอบหลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้และการปฏิบัติตนของเกษตรกรที่เข้ารับการอบรม 2) เปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติตนของเกษตรกรก่อนการอบรมและหลังการอบรม และ 3) ศึกษาการนำความรู้และการปฏิบัติตนของเกษตรกรไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อมหลังการอบรมประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรในจังหวัดนครปฐมที่มีผลการตรวจเลือดในระดับไม่ปลอดภัย จำนวน 252 คน  กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน มีคุณลักษณะคือเป็นเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมที่มีผลการตรวจเลือดในระดับไม่ปลอดภัย และสมัครใจเข้ารับการอบรม รวมทั้งสามารถร่วมกิจกรรมการอบรมและเข้าร่วมการอบรมครบระยะเวลาของการอบรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม  ซึ่งได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ และตรวจสอบค่าความเที่ยง โดยใช้ Kuder and Richardson Formula 21 (KR21) และหาสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพรรณนา สถิติ t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการวิจัยพบว่า

          1. กลุ่มตัวอย่างก่อนการอบรมส่วนใหญ่

ระดับความรู้อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 50.00 และระดับความรู้ของกลุ่มตัวอย่างหลังการอบรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 86.00           

          2. กลุ่มตัวอย่างก่อนการอบรมส่วนใหญ่มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 50.00 คะแนน และระดับการปฏิบัติของกลุ่มตัวอย่างหลังการอบรมส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 68.00

          3. การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนด้านความรู้พบว่าหลังการอบรมคะแนนมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

          4. การเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนด้านการปฏิบัติตนของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าหลังการอบรมคะแนนมีค่าสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

          5. กลุ่มตัวอย่างนำความรู้และการปฏิบัติตนที่ได้รับจากการอบรม ไปใช้ประโยชน์ด้านเศรษฐกิจด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม

                ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าการอบรมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในจังหวัดนครปฐมมีประสิทธิผล เนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมมีระดับความรู้ การปฏิบัติตนเกี่ยวกับการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นหลังผ่านการอบรม รวมทั้งมีการนำความรู้และการปฏิบัติตนไปใช้ประโยชน์

References

กรมวิชาการเกษตร. (2555). ข้อมูลเศรษฐกิจการเกษตร. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557, จาก https://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=146.

คนึงเดช เชื่อมวราศาสตร์. (2552). การพัฒนาหลักสูตรอบรมการจัดการความรู้เพื่อดำเนินการเมืองน่าอยู่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

จงกลนี ชุติมาเทวินทร์. (2542). การฝึกอบรมเชิงพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ พี.เอ.ลิฟวิ่ง.

ชูชีพ สืบทรัพย์. (2551). ผลการให้สุขศึกษาต่อการปรับความรู้ และพฤติกรรมในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรอำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ทวีชัย แป้นสันเที๊ยะ. (2550). การประเมินอันตรายด้วยตนเองร่วมกับการให้ความรู้ในการป้องกันอันตรายจาการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรปลูกแตงร้าน อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ สาธารสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

นฤทัย ไชยแก้วเมร์. (2547). พฤติกรรมการป้องกันตนเองของเกษตรกรจากการใช้สารเคมีทางการเกษตร.วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

นงเยาว์ อุดมวงศ์ และคณะ. (2546). พฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญสืบ ศรีไชยวงค์. (2555). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรบ้านแม่แพะ ตำบลสะเมิงเหนือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตร-มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ และ สวิง สุวรรณ. (2534). ทัศนคติ การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.

พิริพัฒน์ ธรรมแงะ. (2550). พฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ของเกษตรกร ชนเผ่าปกาเกอะญอ บ้านแม่สายนาเลา ตําบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัฒนพงค์ ทิพย์วงค์. (2553). ความรู้และการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาส่งเสริมการเกษตร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พัฒนา พรหมณี. (2554). การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสำหรับเกษตรกร ตำบลสระกรวด อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.

ยุทธนา คำมงคล. (2550). ความรู้และการปฏิบัติ ในการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรพันธะสัญญาบ้านห้วยสิงห์ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๙). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557, จาก https://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=395.

สำนักงานจังหวัดนครปฐม. (2555). บรรยายสรุปจังหวัดนครปฐม ปี 2555. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2557. จาก https://www.nakhonpathom.go.th

อำพร สมสิงห์คำ. (2554). พฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและระดับเอมไซม์โคลีนเอสเตอเรสของเกษตรกร ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

อรวรรณ คำวิไล. (2554). การเปรียบเทียบการให้สุขศึกษาที่เหมาะสมต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้และพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรในเขตเทศบาลตำบลท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์สาธารณศุขศาสตรมหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.

Prochaska, J. & Diclemente, C. (1982). Trans theoretical therapy : Toward a more integrative model of change. Psychotherapy : Theory Research and Practice. 19 (3) : 276-288.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-06-30