ผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของเท้าต่อภาวะหลอดเลือดอุดตัน ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • จันทร์ญา พัววิริยะพันธุ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบสองกลุ่มวัดก่อนทดลองและหลังการทดลอง (Pre test-Post test design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของเท้าต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้าในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยใช้กรอบแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า จำนวน 49 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่ 1 คือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพเท้าของเท้าต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า ส่วนที่ 2 คือ แบบบันทึกและแบบสอบถาม ประกอบด้วยแบบบันทึกและแบบสอบถาม 4 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบ ประเมินสภาวะเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ส่วนที่ 3 แบบวัดความรู้เรื่องการดูแลเท้า และส่วนที่ 4 แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของเท้า กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของเท้าต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เก็บข้อมูลตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2557 ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558 และตรวจสอบความเชื่อมั่นแบบวัดโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค (Cronbach' s Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.72 และ 0.76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้และค่าคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเท้า และค่าดัชนีความดันของหลอดเลือดของข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน (Ankle Brachial Index : ABI) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ Mann-Whitney U Test และเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลเท้า พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพเท้า และค่าดัชนีความดันของหลอดเลือดของข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน (Ankle Brachial Index: ABI) ภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ Wilcoxon's Signed - Ranks Test

           ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องการดูแลเท้า พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเท้า มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) และเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องการดูแลเท้าและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเท้าระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value< .01) ส่วนค่าเฉลี่ยค่าดัชนีความดันของหลอดเลือดของข้อเท้าเมื่อเทียบกับแขน (Ankle Brachial Index : ABI) ภายในกลุ่มทดลองและระหว่ากลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกัน (p-value > .05)

           ผู้วิจัยเสนอแนะว่าโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพของเท้าต่อภาวะหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดแผลที่เท้า สามารถนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ได้อย่างมีประสิทธิผล การศึกษาในกลุ่มตัวอย่างที่มีจำนวนมากขึ้น เพิ่มระยะเวลาในการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่อง และศึกษาตัวแปรอื่นจะทำให้ป้องกันการเกิดแผลที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

References

จารุณี นุ่มพูล. (2554). “บทบาทพยาบาลกับการป้องกันแผลที่เท้าเบาหวาน”. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 4(1-3) : 27-38.

จิตต์สกุล ศกุนะสิงห์ และคณะ. (2555). “ประสิทธิผลของการนวดเท้าในผู้ป่วยเบาหวานที่มี อาการเท้าชา”. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2557, จาก http//www.thailand.digitaljournals.org/index.php/RMK/article/.

เทพ หิมะทองคำ. (2552). ความรู้เรื่องโรคเบาหวานฉบับสมบูรณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพมหานคร : บริษัทวิทยพัฒน์.

นงนุช โอบะ. (2555). การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคเบาหวาน. พิษณุโลก : โรงพิมพ์ดาวเงินการพิมพ์

มัณฑนา สุขศรีอินทร์. (2557). “ผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพของสตรีที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์”. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน. 20(1) : 92-104.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2553). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า). กรุงเทพมหานคร : บริษัท โอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด.

สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. (2555). ภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. แนวทางการตรวจคัดกรองและดูแลรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เท้าในผู้ป่วยเบาหวาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุพิมพ์ อุ่นพรหม และคณะ. (2550). “ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพ ต่อพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานวัยผู้ใหญ่”. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 1(1) : 100-111.

สุมาลี เชื้อพันธ์. (2553). “ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2”. วารสารสภาการพยาบาล. 25(1) : 77-85.

อัจฉรา จินดาวัฒนวงศ์ และคณะ. (2555). “ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพ กับพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2ในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย”.วารสารรามาธิบดีพยาบาลสาร. 18(1) : 58-69.

American Diabetes Association. (2015). “American diabetes association standards of medical care in diabetesd 2015”. Diabetes Care. 38 (Suppl. 1) : 1-98.

Debra Haire-Joshu. (1996). Management of diabetes mellitus : Perspectives of care across the life span. (2nd ed). Mosby-Year Book.Inc.

Miller CA. (2009). Nursing for wellness in older adult. (4thed). Lippincott Williams and Wilkins Publisher.

Nala J. Pender. (2011). Health promotion in nursing practice. (4thed.). Heath Promotion Model Manual. Pearson Education.

Suzanne S. Smeltzer, et al. (2013). Medical-Surgical nursing : Concept & Practice. (11thed.). Philadelphia : A Wolters Kluwer business.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30