ผลการรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์ร่วมกับเจลเย็น ต่ออาการปวดระบมกล้ามเนื้องอศอกหลังออกกำลังกาย ที่กล้ามเนื้อมีการหดตัวแบบยืดยาวออก

ผู้แต่ง

  • กิตติพันธุ์ อรุณพลังสันติ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอัลตร้าซาวด์ร่วมกับเจลเย็น ที่มีผลต่ออาการปวดระบมกล้ามเนื้องอศอกหลังออกกำลังกายที่กล้ามเนื้อมีการหดตัวแบบยืดยาวออก กลุ่มตัวอย่างจำนวน 32 คน อายุ 18-22 ปี แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 8คน เท่ากันโดยกลุ่มที่1ใช้การรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์ร่วมกับเจลเย็น (USC), กลุ่มที่ 2 ใช้การรักษาด้วยอัลตร้าซาวด์ร่วมกับเจลปกติ (USG), กลุ่มที่ 3 เป็นการรักษาแบบใช้เจลปกติ (G-sham) และกลุ่มที่ 4 เป็นการรักษาแบบใช้เจลเย็น (C- sham) ให้อาสาสมัครออกกำลังกายแบบกล้ามเนื้อหดตัวแบบยืดยาวออก (Eccentric exercise) ของกล้ามเนื้อ Biceps brachii ด้วยจังหวะและความเร็วที่สม่ำเสมอ จนรู้สึกว่าเริ่มมีอาการปวดระบมกล้ามเนื้อก่อนรักษา ทุกกลุ่มจะถูกประเมินความเจ็บปวดโดยใช้ Visual analog scale วัดช่วงการเคลื่อนไหวของข้อศอก และวัดเส้นรอบวงแขนด้วยเทปสายวัด เพื่อสังเกตอาการบวมทั้งก่อนรักษา และหลังการรักษาใน 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ตามลำดับ

          ผลการศึกษาพบว่าระดับอาการปวด ในกลุ่มรักษาแบบ อัลตร้าซาวด์ ร่วมกับเจลเย็นมีค่าลดลง ที่ชั่วโมงที่ 48 และ 72 (p<0.05) และพบว่าองศาการเคลื่อนไหวในกลุ่มรักษาแบบ อัลตร้าซาวด์ ร่วมกับเจลเย็นมีค่าเพิ่มขึ้นที่ชั่วโมงที่ 48 และ 72 (p<0.05) เมื่อเทียบกับการรักษาด้วย อัลตร้าซาวด์ ร่วมกับเจลธรรมดา และพบว่าการรักษาแบบ อัลตร้าซาวด์ร่วมกับเจลเย็น สามารถลดอาการบวมในชั่วโมงที่ 72 แต่ไม่มีผลแตกต่างเมื่อเทียบกับการรักษาด้วย อัลตร้าซาวด์ร่วมกับเจลธรรมดา ในการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า การรักษาแบบ อัลตร้าซาวด์ด้วยเจลเย็นสามารถลดอาการ Delayed Onset Muscle Soreness (DOMS) ที่ช่วยลดปวด และเพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว ได้ดีกว่าการรักษาด้วยวิธี อัลตร้าซาวด์กับเจลธรรมดา

References

กันยา ปาละวิวัธน์. (2543). การรักษาด้วยเครื่องไฟฟ้าทางกายภาพบำบัด. กรุงเทพฯ : เดอะบุคส์.

ชูศักดิ์ เวชแพศย์ และ กันยา ปาละวิวัธน์. (2536). สรีรวิทยาการออกกำลังกาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ธรรกมลการพิมพ์.

อภิลักษณ์ เทียนทอง. (2549). การฝึกด้วยน้ำหนักเบื้องต้น. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Armstrong, R.B. (1984). “Mechanisms of exercise-induced delayed onset muscle soreness : a brief review”. Med. Sci. Sports Exerc. 16(6) : 529-538.

Ascensao, A., Leite, M., Rebelo, A. N., Magalh es, S., & Magalh es, J. (2011). “Effects of cold water immersion on the recovery of physical performance and muscle damage following a one-off soccer match”. J Sports Sci. 29(3) : 217-225.

Bailey, D. M., Erith, S. J., Griffin, P. J., Dowson, A., Brewer, D. S., Gant, N., et al. (2007). “Influence of cold-water immersion on indices of muscle damage following prolonged intermittent shuttle running”. J Sports Sci. 25(11) : 1163-1170.

Eston, R., & Peters, D. (1999). “Effects of cold water immersion on the symptoms of exercise-induced muscle damage”. J Sports Sci. 17(3) : 231-238.

Morgan, D. and D. Allen. (1999). “Early events in stretch-induced muscle damage”. J. Appl. Physiol. (87) : 2007-2015.

Nosaka, K., K. Sakamoto and M. Newton. (2004). “Influence of pre-exercise muscle temperature on response to eccentric exercise”. J. Athl. train. 39(2) : 132-137.

Smith, L.L. (1991). “Acute inflammation : the underlying mechanism in delayed onset muscle soreness?”. Med. Sci. Sports Exerc. (23) : 542-551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30