ผลของการใช้ดนตรีบำบัดในการพัฒนาความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ภารดี พิริยะพงษ์รัตน์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดในการพัฒนาความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม ในระยะก่อนและหลังฟังดนตรีบำบัด

          ในการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียว กลุ่มตัวอย่างการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน จำแนกเป็น เพศชาย 20 คน เพศหญิง 10 คน อายุเฉลี่ย 12.67±1.91 ปี เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของตัวแปรต้นด้านความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ได้แก่ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านความสุข ประกอบไปด้วยคุณสมบัติ 9 ประการ คือ การควบคุมตนเอง การเห็นใจผู้อื่น ความรับผิดชอบ มีแรงจูงใจ การตัดสินใจและแก้ปัญหา สัมพันธภาพ ความภูมิใจตนเอง การพอใจชีวิต และความสุขสงบทางใจ ภายหลังจากได้รับดนตรีบำบัดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม ในระยะก่อนและหลังการใช้ดนตรีบำบัด วันละ 1 ครั้ง ระยะเวลาเฉลี่ยครั้งละ 5 นาที 21 วินาที เป็นเวลา 5 วัน วิธีบำบัดโดยการฟังดนตรีผ่านระบบปิด โดยควบคุมบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมภายในห้อง ได้แก่ แสงไฟ เครื่องเสียง อุณหภูมิภายในห้อง และความดังของเสียงที่ 85-104 เดซิเบล ซึ่งเป็นตามลักษณะความ ดัง-เบาของเพลง รวมทั้งจัดกิจกรรมก่อนเพื่อรวบรวมสมาธิของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างก่อนทำการทดลอง  มีการบันทึกข้อมูลก่อนและหลังฟังดนตรี 5 ครั้ง วิเคราะห์ข้อมูลของนักศึกษาด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเปรียบเทียบความแตกต่าง แล้ววิเคราะห์ปฏิกิริยาตอบสนองด้านความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการฟังดนตรีบำบัดโดยใช้สถิติ Paired sample t-test

          ผลการวิจัย พบว่า ค่าระดับความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของกลุ่มตัวอย่างเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงสรุปได้ว่า การใช้ดนตรีบำบัดมีผลโดยตรงต่อความสามารถในการเพิ่มระดับความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนเอกชนแห่งหนึ่ง จังหวัดนครปฐม

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550). ระบาดวิทยาปัญหาด้านอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กและวัยรุ่น ปี 2548. กรุงเทพฯ : บียอนด์พับลิสซิ่ง.

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2550ก). อีคิว : ความฉลาดทางอารมณ์ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ : กระทรวงสาธารณสุข

กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. (2550ข). ความรุนแรงในวัยรุ่นไทย: พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ. กรุงเทพฯ : บียอนด์พับลิสชิ่ง

บังอร ศรีเนตรพัฒน์, มุกดาพร ใจดี, และสิริพร พุทธิพรโอภาส. (2549). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขตตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขที่ 10 และ 12. ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2550). การบำบัดทางเลือก ในเด็กพิเศษ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

เยาวนาฏ ผลิตนนท์เกียรติ. (2550). นวัตกรรมการเสริมสร้างความหยุ่นตัว เพื่อรองรับภาวะวิกฤตสุขภาพจิตใน กรมสุขภาพจิต, รายงานการประชุมวิชาการการพัฒนาสติปัญญาเด็กไทย ครั้งที่ 4 : ไอคิว อีคิว ดีขึ้นแน่..ถ้าพ่อแม่พัฒนา. สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต.

วีระ ชูรุจิพร, และชฎาพร ชูรุจิพร. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์และพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในเขตภาคใต้ตอนบน (เขตตรวจราชการสาธารณสุขที่ 15 และ 17). ศูนย์สุขภาพจิตที่11สุราษฎร์ธานี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ศิลปศาสตรมหาบัณพิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักพัฒนาสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (มปป.). คู่มือความฉลาดทางอารมณ์. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2557 จาก https://www.dmh.moph.go.th/ebook/view.asp?nrb=10.

สุกรี เจริญสุข. (2550). ดนตรีเพื่อพัฒนาศักยภาพสมอง. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์.

Cook, N. (2010). Music (A Brief Insight). New York: Stering.

Chlan, L (2009). “A review of the evidence for music intervention to manage anxiety in critically Ill patients receiving mechanical ventilatory support”. Archives of Psychiatric Nursing. 23(2) : 177-179.

Gerdner LA. (2005). “Use of individualized music by trained staff and family:translating research into practice”. Journal of Gerontological Nursing.(31) : 22-30.

Goleman, D. (2005). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ for character, health and lifelong achievement. Bantam Books, New York.

Hall, G. (2012). Adolescence : Its psychology and its relations to physiology, anthropology, sociology, sex, crime, religion, and education vol. 2 (classic reprint). London, Forgotten Books.

Lin, C. H. (2005). The effect of individual differences on adolescents' impulsive buying behavior. Adolescence, 40(159), 551-8. Retrieved December 19, 2003, from Medline database.

Standley, J.M. (2011). 20 Years of music therapy research in the NICU : An updated meta-analysis. presentation at annual conference, American music therapy association, Atlanta, GA. (National).

Steinberg, L. (2013). Adolescence. 10nd ed. Boston, MA: McGraw-Hill.

Trinidad,D. R,Unger,J. B, Chou, C,Azen,S.P.,&Johnson, C. A. (2004). “Emotional intelligence and smoking risk factorsinadolescents:Interactionsonsmokingintentions”. Journal of Adolescent Health, 34(1), 46-55. Retrieved April 6, 2009 from Medlinedatabase.

WHO. (2014). Addescent delvelopment. [online]. Retrived July 1,2014, from https://www.who.int/maternal_child_addescent/topics/addescent/dev/en/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-09-30