องค์ประกอบของสมรรถนะภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ ดีเมือง มหาวิทยาลัยคริสเตียน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีเป็นการวิจัยเชิงพรรณาวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 326 คน ในสถาบันมะเร็งแห่งชาติ และโรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ  0.92 โดยมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนตัวประกอบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์

          ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้สมรรถนะภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง สังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) คุณธรรมจริยธรรม (0.827 - 0.468)  2) เทคโนยีสารสนเทศและการบริหารจัดการด้านมะเร็ง (0.786 - 0.468) 3) สัมพันธภาพระหว่างบุคคล (0.654 - 0.430) 4) ภาวะผู้นำ (0.680 - 0) 5) การจัดการทรัพยากรบุคคล และการบริหาร (0.606 - 0.420) 6) ความรู้เฉพาะด้านมะเร็ง (0.605 - 0.476)

          จากผลการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ คือ ผู้บริหารทางการพยาบาล ในโรงพยาบาลในโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง สังกัดกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุขสามารถนำสมรรถนะนี้ไปใช้ในการสร้างแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน และเป็นแนวทางในการพิจารณาสรรหาผู้ที่จะมาเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วย นอกจากนี้หัวหน้าหอผู้ป่วยสามารถใช้ผลการศึกษานี้เป็นแนวทางในการประเมินความสามารถในการทำงานของตนเอง

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

กรองจิตต์ เล็กสมบูรณ์สุข. (2555). องค์ประกอบของสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ พย.ม.สาขาการบริหาร

ดารินทร์ ลิ้มตระกูล.(2556). องค์ประกอบของสมรรถนะของพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ พย.ม., สาขาการจัดการการพยาบาล, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา. (2548). ศักยภาพความสามารถในการบริหารทรัพยากรบุคลากรทางการพยาบาล. กรุงเทพมหานคร : พี. เอ ลิฟวิ่ง.

น้ำฝน โดมกลาง. (2550). บทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลศูนย์ที่พึงประสงค์ในทศวรรหน้า (พ.ศ.2551-2560). วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิสดารก์ เวชยานนท์. (2549). Competency-Based Approach. กรุงเทพมหานคร : กราฟิโกซิสเต็มส์.

นิตยา ศรีญาณลักษณ์. (2552). การบริหารการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : ธนาเพรส.

นิภา อำไพวรรณ. (2554). “ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมผู้นำกับการสร้างแรงจูงใจของหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก”. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. 5(7) : 65-75.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์กรพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์โอ อินเตอร์มีเดีย.

-----. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : ยูแอนด์โอ อินเตอร์มีเดีย.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2556). แผนการป้องกันและควบคุม โรคมะเร็งแห่งชาติ 2556-2560. กรุงเทพมหานคร : สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). คู่มือสมรรถนะราชการพลเรือนไทย. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2557, จาก http://www.ocsc.go.th.

สุภาณี คงชุ่ม. (2550). การศึกษาลักษณะโรงพยาบาลที่ดึงดูดใจพยาบาลวิชาชีพ. วิทยานิพนธ์ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารักษ์ ชัยมงคล. (2549). ทิศทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต. กำแพงเพชร : เอ็น พี ก็อปปี้.

Marquis B.L. and Huston C.J. (2000). Leadership roles and management functions in nursing.Theory and application. 3rd. New York : Lippincott.

Ming Liu. (2007). “Development of competency inventory for registered nurses in the people's republic of china : Scale development”. International Journal of Nursing Studies. (44) : 805-813.

Oncology Nursing Society. (2014). Oncology nursing society leadership competencies. [Online]. Retrieved June 15,2014, from https://www.ons.org/sites/default/files/leadershipcomps.pdf.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-12-31